1 of 20

บทที่ 2

สถาบันและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร

2 of 20

2.1 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union ; ITU) เป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการกำหนดกฎ ระเบียบ และพัฒนามาตรฐาน สำหรับการสื่อสารวิทยุ และโทรคมนาคมระหว่างประเทศ การกำหนดแถบคลื่นความถี่วิทยุ (Allocation of the Radio Spectrum) จัดสรรความถี่เพื่อประสานประโยชน์ในการใช้งานความถี่ของประเทศต่างๆ ในโลก และบริหารจัดการกรณีที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ

3 of 20

2.1 สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ต่อ)

1. ภาคการสื่อสารวิทยุ (Radiocommunication Sector) หรือ ITU – R มีหน้าที่บริหารแถบคลื่นความถี่วิทยุระหว่างประเทศ ทั้งบนโลกและในอวกาศ และทรัพยากรต่างๆ สำหรับการโคจรของดาวเทียม

2. ภาคการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization Sector) หรือ ITU – T มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม ให้คำปรึกษา คำแนะนำ และกำหนดมาตรฐานในการใช้งานเกี่ยวกับการสื่อสารทางสายสัญญาณ

3. ภาคการพัฒนาโทรคมนาคม (Telecommunication Development Sector) หรือ ITU – D มีหน้าที่ในการส่งเสริมและช่วยกระจายการเข้าถึงสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ในประเทศต่างๆ สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม พอเพียง เท่าเทียมกัน และมีค่าใช้จ่ายที่ยอมรับได้

4. ภาคการจัดงาน ไอทียู เทเลคอม (ITU TELECOM) มีหน้าที่ในการจัดงานแสดงสินค้า การประชุม และนิทรรศการระหว่างประเทศ โดยนำเทคโนโลยีชั้นนำ จากด้านอุตสาหกรรมไอซีทีมาจัดแสดง

4 of 20

วัตถุประสงค์หลักของ ITU

1. เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมในการช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอย่างสันติวิธี

2. เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ของเทคโนโลยีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย

3. เพื่อส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค กับประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม

4. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาในส่วนของคุณลักษณะต่างๆ ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคม

5. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในหมู่มวลสมาชิก

5 of 20

การแบ่งพื้นที่ย่านความถี่ ITU

6 of 20

การแบ่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของ ITU

1

งานส่งกระจายสัญญาณทั่วไป

2

งานวิทยุสมัครเล่น

3

งานบอกทาง

นำล่อง

4

งานติดต่อสื่อสารใช้งานด้านพาณิชย์

7 of 20

2.2 องค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

องค์การโทรคมนาคมดาวเทียมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Satellite Organization ; ITSO) หรืออินเทลแซต (INTELSAT) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่บริหารงานด้านดาวเทียมสื่อสารเพื่อการพาณิชย์ โดยให้ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกเข้าถือหุ้นร่วมกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2507 จากหน่วยงานโทรคมนาคมของ 11 ประเทศร่วมกัน

วัตถุประสงค์ที่สำคัญขององค์กร คือ ทำให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมกันวางแผน พัฒนา สร้าง และดำเนินงานของดาวเทียมสื่อสาร ตลอดจนร่วมกันใช้ประโยชน์และรักษาผลประโยชน์ของระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียม เพื่อทำให้งานด้านบริการสื่อสารโทรคมนาคมทั่วโลกทำได้มีความเท่าเทียมกัน

8 of 20

2.2 องค์การโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอินเทลแซตเป็นลำดับที่ 49 เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2509 เริ่มใช้บริการดาวเทียมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2510 มีสถานีภาคพื้นดินติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมอิเทลแซตตั้งอยู่ที่ อำเภอ ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี สามารถสื่อสารข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย โดยใช้จานสายอากาศรับส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมอินเทลแซต มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 21 เมตร

9 of 20

องค์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างประเทศ

1. องค์การสื่อสารอวกาศระหว่างประเทศอินเตอร์สปุตนิค หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า อินเตอร์สปุตนิค (Intersputnik) เป็นองค์กรที่ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศในเชิงพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ในมอสโก โดยสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันคือประเทศรัสเซีย)

2. องค์การดาวเทียมทางทะเลระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า อินมาแซต (INMARSAT) เป็นองค์กรที่ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเดินเรือ ทางด้านการจัดการ ความปลอดภัยในการเดินเรือ อำนวยความสะดวกในการสื่อสารทางเรือ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สิน

10 of 20

องค์การสื่อสารดาวเทียมระหว่างประเทศ

3. องค์การสื่อสารผ่านดาวเทียมอาหรับ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า อาหรับแซต (Arabsat) เป็นองค์กรชั้นนำในการให้บริการดาวเทียมสื่อสารในโลกอาหรับ อาหรับแซตถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งดาวเทียมเพื่อให้บริการโทรคมนาคมทั้งภาครัฐและเอกชนไปยังประเทศอาหรับ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล สร้างขึ้นภายใต้อำนาจของสันนิบาตอาหรับ มีเป้าหมายในการให้บริการข้อมูลตามความต้องการของวัฒนธรรมและการศึกษาของประเทศสมาชิก องค์กรก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2519

11 of 20

2.3 องค์การที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร�ระหว่างประเทศ

1. คณะกรรมาธิการทางเทคนิคด้านไฟฟ้าระหว่างประเทศ (International Electotechnical Commission ; IEC)

2. สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineer ; IEEE)

3. องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization ; ISO)

4. สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมแห่งยุโรป (European Telecommunication Standard Institute ; ETSI)

5. สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute ; ANSI)

12 of 20

2.3 ตราองค์การที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร�ระหว่างประเทศ

13 of 20

2.4 หน่วยงานสื่อสารโทรคมนาคมภายในประเทศ

การสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2423 ในสมัยรัชการที่ 5 ได้มีการริเริ่มจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2424 ได้จัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นตามแบบอย่างต่างประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2426 ได้จัดตั้งกรมโทรเลขขึ้น มีการเชื่อมโยงสายโทรเลขในประเทศหลายเส้นทางและเชื่อมโยงไปต่างประเทศพร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนใช้บริการได้ หน่วยงานต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่

1. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

2. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)

3. บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (TOT)

4. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE)

5. บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC)

6. บริษัท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS)

7. บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) (ไทยคม)

14 of 20

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Office of The National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC) เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 อันเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นให้เป็นไปตามมาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่บัญญัติไว้ว่า " คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่ง ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

15 of 20

บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า CAT Telecom Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ CAT ได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546 โดยการแปลงสภาพจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 สถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร บริษัท CAT มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคม ทั้งภาย ในและระหว่างประเทศ โดยปรับโครงสร้างและกระบวนการทำงานให้มีความกระชับ คล่องตัว ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มบริการ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ กลุ่มธุรกิจบริการสื่อสารข้อมูลและอินเตอร์เน็ต กลุ่มธุรกิจบริการในรูปแบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ (e – Business) และกลุ่มธุรกิจบริการระบบ CDMA

16 of 20

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า TOT Corporation Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ TOT บริษัท TOT ได้ดำเนินการในฐานะองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ก่อนแปลงสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2545 ทั้งนี้บริษัท TOT ยังคงสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% บริษัท TOT เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสื่อสารโทรคมนาคม และถือว่าเป็นกิจการโทรศัพท์แห่งชาติของไทย ดำเนินกิจการเกี่ยวกับโทรศัพท์และการสื่อสารต่างๆ ทำหน้าที่ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภททั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ผ่านบริการต่างๆ ทั้งทางสายและด้วยคลื่นวิทยุ

17 of 20

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า True Corporation Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ True เริ่มเปิดกิจการในรูปบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2533 เดิมมีชื่อว่าบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น (Telecom Asia Corporation Company Limited ; TA) บริษัท True เป็นบริษัทเอกชน ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยและได้ขยายกิจการด้านการโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านโทรศัพท์พื้นฐาน(โทรศัพท์บ้าน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เป็นอันดับ 1 ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โทรศัพท์บ้านแบบพกพา VPCT ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเตอร์เน็ต เคเบิลทีวี ทรูวิชั่นส์ รวมไปถึงความบันเทิงทั้งด้าน โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต และเกมออนไลน์

18 of 20

บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Total Access Communication Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ DTAC เริ่มเปิดกิจการเมื่อปี พ.ศ. 2532 ได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบความถี่ 800 MHz และ 1800 MHz ประเภท "สร้าง – โอน – ดำเนินการ (Build – Transfer – Operate) จากการสื่อสาร

แห่งประเทศไทย

บริษัท DTAC เป็นบริษัทเอกชนดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบความถี่ 1800 MHz และให้บริการระบบ 3G ในคลื่นความถี่ 850 MHz และให้บริการ 3G ในคลื่นความถี่ 2100 MHz (2.1 GHz) ภายใต้ชื่อ ดีแทค ไตรเน็ต (DTAC TriNet) ของบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ที่ได้รับใบอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz จาก กสทช. และได้เปิดตัวระบบ 4G ในประเทศไทยเป็นรายที่สองบนโครงข่าย ไตรเน็ต เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557

19 of 20

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Advanced Info Service Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ AIS ทำสัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (คือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)ในปัจจุบัน) เป็นบริษัทเอกชนดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบความถี่ 900 MHz เป็นประเภทชำระค่าบริการเป็นรายเดือน ความถี่ 1800 MHz เป็นประเภทชำระค่าบริการด้วยการเติมเงิน และให้บริการ 3G ในคลื่นความถี่ 2100 MHz (2.1 GHz) ชำระค่าบริการได้ 2 ประเภท คือ ชำระค่า บริการเป็นรายเดือน และชำระค่าบริการด้วยการเติมเงิน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคมด้านอื่นๆ อีกด้วย

20 of 20

บริษัท ไทยคม จำกัด จำกัด (มหาชน)

มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thaicom Public Company Limited หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไทยคม (Thaicom) เดิมชื่อ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (Shin Satellite Public Company Limited) คือหนึ่งในธุรกิจของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไทยคม เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวของประเทศไทย ที่เป็นผู้ให้บริการธุรกิจดาวเทียมเชิงพาณิชย์ “ไทยคม” (Thaicom) เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้เป็นชื่อของดาวเทียมไทย มาจากคำว่าไทยคมนาคม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thai Communications โดยบริษัทไทยคม ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจากอดีตถึงปัจจุบันรวม 6 ดวง ได้แก่ ไทยคม 1A เมื่อปี พ.ศ. 2536 ไทยคม 2 เมื่อปี พ.ศ. 2537 ไทยคม 3 เมื่อปี พ.ศ. 2540 ไทยคม 4 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ไทยคม 5 เมื่อปี พ.ศ. 2549 และไทยคม 6 เมื่อปี พ.ศ. 2557 ตามลำดับ