1 of 25

การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร

ภาณุวัฒน์ เกื้อภักดิ์

2 of 25

เครื่องมือที่ใช้สำหรับติดตั้งไฟฟ้าภายนอกอาคาร

งานติดตั้งไฟฟ้าภายนอกอาคารได้แก่การปักเสา พาดสายไฟฟ้า ยึดโยง การ

ติดตั้งอุปกรณ์ตัดตอนและอุปกรณ์ป้องกันระบบจำหน่ายแรงสูง ระบบจำหน่าย

แรงต่ำ หม้อแปลงไฟฟ้า ฟิวส์และอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือ ที่เหมาะสม

เท่านั้นจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

3 of 25

เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ขณะปฏิบัติงานติดตั้งไฟฟ้าภายนอกอาคาร มีดังนี้

1.เครื่องมือป้องกันอันตรายส่วนบุคคล

2. เครื่องมือสำหรับงานปักเสาไฟฟ้า

3. เครื่องมือสำหรับงานพาดสายไฟฟ้า

4 of 25

1.เครื่องมือป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ประกอบด้วย

- หมวกแข็งป้องกันอันตราย

- ถุงมือยาง

- เข็มขัดนิรภัย

- รองเท้านิรภัย

- เหล็กปีนเสา

ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือเพื่อปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้าซึ่งจะต้องแต่งกายให้

ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย

5 of 25

1.หมวกแข็งป้องกันอันตราย(safety hardhat)

ใช้สวมบนศีรษะเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่บริเวณศีรษะในขณะ

ปฏิบัติงาน อันเนื่องมาจากเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆหล่นลงมาถูก

ศีรษะเป็นการลดอุบัติเหตุหรือผ่อนหนักเป็นเบาได้หมวกแข็งที่ใช้มี

ด้วยกันหลายสี เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว ซึ่งแต่ละสีจะบอก ถึงหน้าที่หรือ

ตำแหน่งที่ปฏิบัติงานดังนี้

• หมวกสีแดงสำหรับวิศวกร

• หมวกสีเหลือง สำหรับผู้ควบคุมคนงาน

• หมวกสีขาว สำหรับคนงาน

6 of 25

7 of 25

2.ถุงมือยาง ( Rubber qloves )

มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือถุงมือยางแรงต่ำ

และมีถุงมือยางแรงสูงถุงมือยางแรงต่ำส่วนมากจะ มีสีเดียว สำหรับถุงมือยาง

แรงสูงด้านนอกและด้านในจะออกแบบเป็นอย่างดีอย่าให้มีรอยขีดข่วนหรือเป็น

รูทะลุทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานครั้งต่อ ๆ ไปนั้นเอง โดยปกติจะ

ใช้คู่กับถุงมือหนัง

8 of 25

9 of 25

3.เข็มขัดนิรภัย หรือเรียกว่า เซฟตี้เบล้ว(Saftybelt)

ใช้สำหรับยืดตัวช่างไฟฟ้ากับเสาเพื่อให้สามารถ ยืนปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้า

ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเข็มนิรภัย ประกอบด้วยตัวเข็มขัดและสายกันตก

10 of 25

5.รองเท้านิรภัยหรือเรียกว่าเซฟตี้ซูต(Safetyshoes)

เป็นรองเท้าหนังที่มีความแข็งแรง ปลอดภัยและต้องมีความเป็น

ฉนวนไฟฟ้า เพื่อใช้ป้องกันการถูกกระแสไฟฟ้าดูด บริเวณของรองเท้าจะเป็น

โลหะใช้ป้องกันเท้าไม่ให้บาดเจ็บเนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่หล่นทับ

11 of 25

6.เหล็กปีนเสา

ใช้สำหรับสอดเข้าในรูของเสาไฟฟ้า เพื่อใช้ในการเหยียบปีนเสาไฟฟ้าทำมา

จากเหล็กกลมเชื่อมติดกับเหล็กแผ่น ใช้เชือกผูกมัดระหว่างปีนเสากับเท้าทำให้

กระชับกับเท้า ขณะปฏิบัติงานบนเสาไฟฟ้า

12 of 25

2. เครื่องมือสำหรับงานปักเสาไฟฟ้า

การปักเสาไฟฟ้าในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ

- การปักเสาไฟฟ้าจากการใช้แรงงานคน

- การปักเสาไฟฟ้าจากการใช้เครื่องผ่อนแรง

เครื่องมือที่ใช้ในการปักเสาไฟฟ้ามีการแบ่งตามชิดการใช้งานได้ 4 ชนิดคือ

1. เครื่องมือขุดหลุม

2. เครื่องมือย้ายเสาและยกเสา

3. เครื่องมือกระทุ้งดิน

13 of 25

2.1 เครื่องมือขุดหลุม

แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

1. เครื่องมือขุดหลุมโดยใช้แรงคน

เครื่องมือขุดหลุมโดยใช้แรงคนเป็นการขุดหลุมโดยอาศัยแรงงานจากคนโดยตรงมีเครื่องมือที่ใช้ในการขุดหลุมดังนี้

- จอบ ใช้สำหรับขุดดิน

- ชะแลง ใช้สำหรับกระทุ้งดิน

- พลั่ว ใช้สำหรับตักดิน

- พลั่วหนีบดิน ใช้สำหรับหนีบดินจากก้นหลุมให้ลึก

14 of 25

2.2 เครื่องมือขุดหลุมโดยใช้เครื่องผ่อนแรง

เป็นการนำเครื่องมือเข้ามาช่วย เพื่อทำให้การขุกหลุมนั้นรวดเร็วขึ้น

เครื่องมือที่ใช้คือ

- สว่านมือขุดหลุม มีลักษณะคล้ายสว่านมือเจาะไม้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าใช้คนหมุน ด้ามเจาะสว่านให้ลึกลงไปในดิน แล้วใช้รถดึงสว่านขึ้นเป็นการขุดหลุมที่สะดวกนวดเร็ว

15 of 25

- รถขุดหลุม เป็นรถบรรทุก สว่านขนาดใหญ่ ใช้ในการขุดหลุมด้วยเครื่อง

จักรที่ใช้ ระบบไฮดรอลิกส์ แต่มีข้อจำกัดในการขุดหลุม คือ ไม่สามารถขุดหลุม

ในที่แคบได้

16 of 25

เครื่องมือย้ายเสาและยกเสา

เนื่องจากส่วนใหญ่เสาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงซึ้งมีน้ำหนักมาก การเคลื่อนย้ายจึงต้องใช้รถยก หรือรถลากด้วยลวดสลิง

17 of 25

2.3 เครื่องมือกระทุ้งดิน

เครื่องกระทุ้งดิน ได้แก่ จอบ เสียม ชะแลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โคนเสาไฟฟ้าติดแน่นกับพื้นดินไม่สั้นคลอน

18 of 25

3. เครื่องมือสำหรับงานพาดสาย

มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงสายไฟฟ้าให้ตึงและพอดี ไม่ให้ตกท้องช้างหรือ

หย่อนเกินไป ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้สายแกว่งไปมาเมื่อถูกลมพัดและไม่เป็น

ผลดีต่อระบบไฟฟ้าโดยรวม เครื่องมือที่ใช้กับงานพากสายไฟฟ้า ประกอบด้วย

คัมอะลอง(Comalong) คอฟฟิ่งฮอยล์ (Coffing Hoist) รอก เชือก

และ รถไฮดรอลิกส์

19 of 25

1. คัมอะลอง (Comalong)

ใช้สำหรับจับยึดสายให้แน่น ประกอบด้วยสองส่วน คือ ปากหนีบและห่วง

ส่วนที่ใช้จับและหนีบสายไฟฟ้าให้แน่น คือ ปากหนีบ ส่วนห่วงใช้ในการคล้อง

เข้ากับ คอฟฟิ่งฮอยล์

20 of 25

2. คอฟฟิ่งฮอยล์ (Coffing Hoist)

หรือเรียกสั้นๆว่า ฮอยล์ เป็นแม่แรงดึง สายไฟฟ้าให้ตึง ประกอบด้วยตะขอ

เกี่ยวทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งใช้คล้องกับเสาไฟฟ้าอีกด้านหนึ่งใช้คล้องเข้ากับ

คัมอะลอง

21 of 25

3. รอก

ใช้สำหรับยกวัสดุ-อุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นไปบนที่สูงและจากที่สูงลงสู่ด้านล่าง

ในการใช้งานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้นใช้รอกในการนำวัสดุ-อุปกรณ์ไฟฟ้า และ

เครื่องมือขึ้นไปบนเสาไฟฟ้าในแนวดิ่ง

22 of 25

4. เชือก

ใช้สำหรับดึงวัสดุ-อุปกรณ์ เครื่องมือขึ้นและลงในแนวดิ่งโดยใช้งาน

ร่วมกับรอก

23 of 25

5. รถยนต์ไฮดรอลิกส์

ใช้สำหรับยกของที่มีน้ำหนักมากและใช้ดึงสายไฟฟ้า

จำนวนหลายๆเส้นทำให้สะดวกรวดเร็วและใช้เวลาในการปฏิบัติงานน้อยลง

24 of 25

25 of 25