1 of 30

บทที่ 1

วิวัฒนาการและเทคโนโลยีของระบบสื่อสาร

2 of 30

1.1 การติดต่อสื่อสาร

การพูดคุยสนทนา การติดต่อสื่อสารถึงกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน การส่งข้อมูลข่าวสารนี้ถูกเรียกว่าการสื่อสาร (Communication) เมื่อกลุ่มคนเริ่มสร้างที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายออกไปในพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น จึงมีการปรับปรุงระบบการสื่อสารให้สามารถสื่อสารได้ระยะทางไกลเพิ่มขึ้น เรียกการสื่อสารระยะทางไกลว่าโทรคมนาคม (Telecommunication)

3 of 30

1.1 การติดต่อสื่อสาร (ต่อ)

รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารสมัยโบราณ

4 of 30

1.1 การติดต่อสื่อสาร (ต่อ)

การกำหนดรูปแบบของสัญญาณแทนข้อมูลต่างๆ เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าสิ่งนั้นก็คือ รหัสข้อมูล (Data Code) ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการสื่อสาร นอกจากนี้การใช้รหัสในการส่งข้อมูลข่าวสารยังช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลข่าวสารได้ การแปลงรหัสออกมาเป็นข้อมูลข่าวสารจะต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจในรหัสเหล่านั้นเท่านั้น ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์และรหัสบอกข้อมูลข่าวสารสมัยโบราณ ดังรูป

5 of 30

1.1 การติดต่อสื่อสาร (ต่อ)

(ก) การใช้สัญลักษณ์ (ข) การใช้รหัสและการแสดงท่าทาง

6 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า

นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้บุกเบิกการสื่อสารด้วยสาย ไฟฟ้าคนแรก คือ แซมมวล เอฟ บี มอร์ส (Samuel F.B. Morse) ในปี พ.ศ. 2375 ได้ประดิษฐ์โทรเลขขึ้นมา โดยใช้รหัสสัญญาณเป็นจุด (Dots) และขีด (Dashes) ผสมเป็นรหัสข้อมูลข่าวสาร ส่งออกไปในรูปสัญญาณไฟฟ้าไปตามสาย ไฟฟ้า รู้จักกันในชื่อว่า รหัสมอร์ส (Morse Code) จนกระทั่งในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2386 ได้รับอนุญาตจากรัฐสภาของสหรัฐอเมริกัน ให้ติดตั้งเสาโทรเลขขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างกรุงวอชิงตัน ดี ซี ไปยังเมืองบัลติมอร์ มีระยะทางถึง 64 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสาร และในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2387 ได้ทำการส่งโทรเลขเป็นรหัสมอร์ส เป็นครั้งแรก ในข้อความประวัติศาสตร์ว่า “What hath God wrought” (พระเจ้าจะทรงทำอะไร)

7 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า(ต่อ)

(ก) เครื่องส่งโทรเลข (ข) เครื่องรับโทรเลข

8 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า(ต่อ)

ต่อมาได้พัฒนาโดยเพิ่มการส่งข้อความเข้าไปกับสายโทรเลข โดยในกลางปี พ.ศ. 2413 โจเซฟ สเติรนส์ (Joseph Stearns) และโทมัส เอดิสัน (Thomas Edison) ได้พัฒนาระบบที่เชื่อถือได้ สามารถส่งสัญญาณโทรเลขตั้งแต่สองหรือสี่ชุดพร้อมกันไปในสายโทรเลขเส้นเดี่ยว และเริ่มมาพัฒนาระบบโทรเลขหลายโทนเสียง (Harmonic) ซึ่งเป็นการใช้โทนเสียงชุดหนึ่ง เพื่อส่งสัญญาณโทรเลขแบบต่อเนื่องจำนวนมากไปพร้อมๆ กันบนสายโทรเลขเส้นเดียวกัน จากแนวความคิดนี้ทำให้อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell) และเอลิชา เกรย์(Elisha Gray) จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีแนวความคิดว่าหากสายโทรเลขสามารถส่งผ่านโทนเสียงดนตรีหลายเสียงได้ ระบบนี้ก็ควรที่จะส่งเสียงสนทนาของมนุษย์ไปได้ด้วยเช่นเดียวกันซึ่งแนวคิดนี้ก็เป็นจริงขึ้น

9 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า(ต่อ)

(ก)โทรศัพท์ระบบเชื่อมต่อคู่สาย (ข)โทรศัพท์ระบบหมุน

ด้วยคน เชื่อมต่อคู่สายโดยอัตโนมัติ

10 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า(ต่อ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้พัฒนาชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติมาเป็นระบบ ครอสบาร์ (Crossbar System) มีขีดความสามารถในการทำงานดีกว่า ผิดพลาดน้อยลง สามารถต่อเลขหมายปลายทางได้รวดเร็วขึ้น ในปี พ.ศ. 2503 ได้พัฒนาชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ โดยใช้อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำแทนสวิตช์แบบเครื่องกลไฟฟ้า เรียกว่า ระบบสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Switch System) ในปี พ.ศ. 2513 เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุมสาย โทรศัพท์ระบบอัตโนมัติถูกพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น ระบบสตอร์โปรแกรมคอนโทรล (Stored Program Control ; SPC) และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา เทคโนโลยีระบบ SPC เข้ามามีบทบาททางอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และใช้งานถึงปัจจุบัน ลักษณะชุมสายโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ และระบบ SPC

11 of 30

1.2 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยสายไฟฟ้า(ต่อ)

(ก)ระบบครอสบาร์ (ข) ระบบ SPC

12 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ

ระบบการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุเริ่มต้นกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2407 เมื่อเจมส์ คลาร์ก แมกซ์เวลล์ (James Clerk Maxwell) นักฟิสิกส์ชาวสหราชอาณาจักร ได้นำเอาทฤษฎีและสมมุติฐานของไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) โจเซฟ เฮนรี (Joseph Henry) และฮาน คริสเตียน เออสเตด (Hans Christian Oersted) มารวมกันเข้าเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของหลักการวิทยุ โดยใช้วิธีการทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายทฤษฎีของไมเคิล ฟาราเดย์ในเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าและเส้นแรงแม่เหล็ก

13 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2439 กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ซึ่งได้นำเสนอเครื่องมือสำหรับการสร้างสัญญาณแบบไร้สาย ได้ประดิษฐ์ระบบสื่อสารแบบโทรเลขไร้สายชุดแรกขึ้นมา สามารถส่งข่าวสารได้ไกลถึง 3.2 กม. ในปี พ.ศ. 2442 ได้มีการส่งวิทยุโทรเลขข้ามช่องแคบอังกฤษเป็นครั้งแรกไปยังอาณานิคม และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2444 กูกลิเอลโม มาร์โคนี ได้ส่งรหัสมอร์สโดยใช้คลื่นวิทยุเป็นตัวพาสัญญาณข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากคอร์นเวลล์ประเทศอังกฤษไปยังเซนต์จอห์นประเทศสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จครั้งแรก

14 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2450 ลี เดอ ฟอเรส (Lee De Forest) ได้ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) ชนิดหลอดไทรโอด (Triode) ขึ้นมา สามารถใช้ในการขยายสัญญาณคลื่นวิทยุและคลื่นเสียงได้ ใช้ในการส่งสัญญาณคลื่นวิทยุและโทรเลข มีการพัฒนาการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายในกิจการด้านการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ สัญญาณคลื่นวิทยุดังกล่าวได้ถูกนำมาประยุกต์สำหรับงานด้านโทรเลขไร้สายเป็นหลัก ซึ่งโทรเลขแบบไร้สายนี้ได้กลายเป็นระบบสื่อสารที่มีความสำคัญมากขึ้น เมื่อถูกนำไปใช้งานร่วมกับการสื่อสารในเรือเดินสมุทร รวมทั้งใช้ในงานการกู้ภัยทางทะเล

15 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ต่อ)

การทดลองวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 พร้อมทั้งด้านการรับส่งโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2484 FCC ได้ให้อนุญาตการส่งโทรทัศน์แบบการค้ามีสถานี NBC ในกรุงนิวยอร์กส่งออกอากาศเป็นสถานีแรก จนถึงปี พ.ศ. 2489 บริษัท AT&T ได้เปิดให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นรายแรกการรับส่งข่าวสารข้อมูลใช้การผสมคลื่นแบบ AM โครงข่ายของการสื่อสารถูกจำกัดในวงแคบ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการผสมคลื่นแบบ FM ช่วยให้คุณภาพและประสิทธิภาพในการสื่อสารดีขึ้น

ในปี พ.ศ. 2490 ห้องทดลองเบลล์ได้จดลิขสิทธิ์ของวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบนี้ และได้พัฒนาระบบวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ กลายมาเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรวงผึ้ง (Cellular Mobile Telephone System) เรียกสั้นๆ ว่าโทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Telephone)

16 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ต่อ)

(ก) วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่

ยุคแรก

(ข) โทรทัศน์ในอดีต

17 of 30

1.3 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ (ต่อ)

1G

    • ยุค 1G (First Generation) เริ่มมีใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2523 เป็นยุคที่ใช้ระบบสื่อสารสัญญาณแบบแอนะลอก

2G

    • ยุค 2G (Second Generation) เริ่มมีใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2533 ระบบสื่อสารสัญญาณเริ่มเปลี่ยนจากการส่งคลื่นวิทยุแบบแอนะลอกมาเป็นการส่งแบบเข้ารหัสดิจิตอล

3G

    • ยุค 3G (Third Generation) เริ่มมีใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2544 เป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง เน้นความสำคัญด้านเสียงเป็นหลัก การรับส่งข้อมูลเป็นอันดับรอง

4G

    • ยุค 4G (Fourth Generation) เริ่มมีใช้งานประมาณปี พ.ศ. 2549 ในประเทศเกาหลีใต้ และในปี พ.ศ. 2552 เริ่มใช้งานในประเทศย่านสแกนดิเนเวีย (นอร์เวย์ และสวีเดน) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูงมาก เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายมากขึ้น และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

18 of 30

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม

แนวความคิดนี้เกิดขึ้นเนื่องจากนายอาเธอร์ ซี คลาร์ก (Mr. Arther C. Clarke) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้เขียนข้อเขียนอันเป็นการสนับสนุนแนวความคิดของเฮอร์แมนน์ นอร์ดัง (Herman Noordung) ในปี พ.ศ. 2488 ที่ว่าสถานีอวกาศนั้นแทนที่จะเป็นเพียงเพื่อใช้เป็นสถานีสำหรับเติมเชื้อเพลิงให้กับยานอวกาศเท่านั้น แนะนำให้เพิ่มเติมอุปกรณ์สถานีทวนสัญญาณเข้าไปด้วย ทำให้ได้ประโยชน์อย่างมากในกิจกรรมของการสื่อสารโทรคมนาคม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 สหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมชื่อ สปุตนิก 1 (Sputnik 1) ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ ในเดือนถัดมาได้ส่งดาวเทียมสปุตนิก 2 (Sputnik 2) ขึ้นสู่อวกาศ โดยมีสุนัขชื่อ ไลก้า (Laika) ขึ้นไปด้วย

ต่อมาปี พ.ศ. 2501 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา (National Aeronautics and Space Administration ; NASA) ได้ส่งดาวเทียมชื่อสกอร์ (Score) ขึ้นสู่อวกาศเป็นดาวเทียมใช้เพื่อการสื่อสารวิทยุกระจายเสียงจากดาวเทียมลงสู่พื้นโลกเป็นดวงแรก

19 of 30

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม (ต่อ)

(ก) สปุตนิก 1

(ข) เอ็กซ์พลอเรอร์ 1

20 of 30

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2508 ดาวเทียมอินเทลแซต 1 แต่ใช้ชื่อว่า เอียร์ลีเบิร์ต (Early Bird) ถูกส่งขึ้นเหนือมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นดาวเทียมสื่อสารเพื่อการพาณิชย์ดวงแรกของโลก และในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2508 สหภาพโซเวียตทำการปล่อยดาวเทียมโมนิย่า 1 (Molniya – 1) ขึ้นสู่วงโคจรได้เป็นผลสำเร็จ โดยระบบไม่เคลื่อนที่ตามการหมุนของโลก (Non – Geostationary) มีวงโคจรแบบรูปไข่ โคจรครบหนึ่งรอบใช้เวลา 12 ชั่วโมง ซึ่งสามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์ลงมา ยังสถานีรับขนาดเล็กที่อยู่บนพื้นโลกเป็นครั้งแรกในสหภาพโซเวียต ภายใต้โครงการดาวเทียมโมนิย่า (Molniya) นี้มีการปล่อยดาวเทียมทั้งหมด 37 ดวง

21 of 30

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม (ต่อ)

(ก) อินเทลแซท 1

(ข) โมนิย่า 1

22 of 30

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2536 ประเทศไทยโดยบริษัทไทยคม จำกัด และบริษัท ฮิวจ์ สเปซ แอร์คราฟท์ จำกัด (Hughes Space Aircrafts) ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดสร้างดาวเทียมให้ประเทศไทย ชื่อว่า ไทยคม (Thai Telecommunication ; Thaicom) ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 1 ขึ้นสู่วงโคจร ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 2 ขึ้นสู่วงโคจร ในปี พ.ศ. 2540 ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 3 ขึ้นสู่วงโคจร ในปี พ.ศ. 2548 ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 4 ขึ้นสู่วงโคจร ในปี พ.ศ. 2549 ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 5 ขึ้นสู่วงโคจร และในปี พ.ศ. 2557 ได้ส่งดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจร

23 of 30

(กไทยคม 1

(ข)ไทยคม 6

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม ในประเทศไทย (ต่อ)

24 of 30

ในปี พ.ศ. 2539 ประเทศไทยได้มีการก่อตั้งโครงการดาวเทียมแทมแซต (Thai Micro – Satellite ; TMSAT) โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนของประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ (Surrey University) ประเทศอังกฤษ โดยภาคเอกชนไทยประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และบริษัทยูไนเต็ด คอมมิวนิเคชัน จำกัด (United Communication Company Limited ; UCOM) ใช้สำหรับการตรวจสอบสภาพภูมิอากาศและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ โดยดาวเทียม แทมแซตถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชมหาราช พระราชทานชื่อดาวเทียมว่า “ไทยพัฒ” และในปี พ.ศ. 2547 ได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลฝรั่งเศสในการสร้างดาวเทียมสำรวจระยะไกลเพื่อสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย มีชื่อเรียกว่า ดาวเทียมธีออส (Thailand Earth Observation Satellite ; THEOS)

1.4 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยดาวเทียม ในประเทศไทย (ต่อ)

25 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง

การสื่อสารด้วยแสงเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2164 โดยที่วิลเลบอร์ด สเนลล์ (Willebroed Snell) ได้คิดค้นสูตรการคำนวณการหักเหของแสง รู้จักกันดีในชื่อกฎของสเนลล์ (Snell’s Law) ซึ่งใช้ในการอธิบายการหักเหของแสงที่เกิดขึ้นตรงรอยต่อของตัวกลาง 2 ชนิด

ในปี พ.ศ. 2333 คลูดี แชปปี (Claude Chappe) ได้สร้างระบบการสื่อสารด้วยแสงขึ้นมา ได้แก่ ระบบโทรเลขแสง (Optical Telegraph) ซึ่งสามารถส่งสัญญาณโทรเลขได้ระยะทางถึง 200 กิโลเมตร ใช้เวลา 15 นาที

26 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2413 จอห์น ไทน์ดอลล์ (John Tyndall) พบว่าแสงสามารถเดินทางไปตามน้ำ ที่พุ่งเป็นลำโค้งภาย ในท่อน้ำพลาสติก ไหลจากภาชนะที่วางอยู่บนที่สูงไปยังภาชนะที่ต่ำกว่าได้ แสงวิ่งเคลื่อนที่ภายในท่อน้ำพลาสติกเป็นแนวซิกแซ็ก จากต้นทางถึงปลายทางที่อยู่ห่างกันได้ลักษณะเช่นเดียวกับการเดินทางของแสงเป็นเส้นตรง การค้นพบนี้เป็นพื้นฐานที่มาของการสื่อสารในเส้นใยแก้วนำแสงที่ใช้งานในปัจจุบัน

27 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2473 วิลลิส อี แลมบ์ (Willis E. Lamb) ค้นพบว่าเส้นใยแก้วนำแสงสามารถนำแสงไปได้ระยะทาง ไกล โดยที่แสงจะเคลื่อนที่อยู่เฉพาะภายในเส้นใยแก้วนำแสง ไม่กระจายเคลื่อนที่ออกมาภายนอก และยังสามารถเคลื่อนที่เป็นแนวโค้งตามการโค้งงอของเส้นใยแก้วนำแสงได้ด้วย

28 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2496 นารินเดอร์ ซิง คาปานี (Narinder Singh Kapany) ได้พัฒนาเส้นใยแก้วนำแสง ชนิดใหม่ให้ประสิทธิภาพในการนำแสงดีกว่าเดิมมาก เป็นเส้นใยแก้วนำแสงชนิดที่มี 2 ชั้น คือ ชั้นในเรียกว่า คอร์ (Core) หรือแกน ใช้ทำหน้าที่นำแสง ชั้นนอกเรียกว่า แคลดดิง (Cladding) หรือเปลือกหุ้ม เป็นชั้นห่อหุ้มคอร์อยู่โดยรอบ ช่วยควบคุมการสะท้อนของแสงให้อยู่ภายในส่วนคอร์ ทำให้แสงสามารถเดินทางภายในเส้นใยแก้วนำแสงไปได้ไกล

29 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง (ต่อ)

ในปี พ.ศ. 2503 ทีโอดอร์ เอช เมแมน (Theodore H. Maiman) สามารถประดิษฐ์แสงเลเซอร์ที่ทำมาจากวัสดุของแข็ง (Solid State) ประเภทสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ให้กำเนิดแสงเลเซอร์จากทับทิมสีชมพูขึ้นมาได้ เป็นแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ที่เหมาะสมกับการส่งผ่านเข้าไปในเส้นใยแก้วนำแสง

30 of 30

1.5 วิวัฒนาการการสื่อสารด้วยแสง (ต่อ)

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การส่งข้อมูลข่าวสารและสัญญาณเสียงทางไกลของโลก มากกว่า 80 % ส่งผ่านด้วยเส้นใยแก้วนำแสง