1 of 11

นางสาวเสาวลักษณ์ รักบ้าน

2 of 11

หนี้สิน (Liability)

หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่ต้องจ่ายชำระคืนแก่บุคคลภายนอกในอนาคต ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้จำนอง เป็นต้น หนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนภายในระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้าเงินเบิก เกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมจากธนาคารระยะสั้น ตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น

2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนิน งานตามปกติของกิจการ เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ พันธบัตรเงินกู้ เป็นต้น

3 of 11

ความหมายของหนี้สิน

หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันตามกฎหมายของกิจการที่มีต่อบุคคลอื่นอาจเกิดจากการประกอบธุรกิจทางการค้า การกู้ยืมเงินหรือการใช้บริการเป็นเงินเชื่อ ตั้งแต่ในอดีตหรือในปัจจุบัน และกิจการนั้นๆ จะต้องชำระหนี้คืนให้หมดไปในอนาคตด้วยเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือการให้บริการภายในเวลาที่ตกลงกัน

ลักษณะของหนี้สิน

ลักษณะที่สำคัญของหนี้สินมีดังนี้

1. เป็นภาระผูกพันในปัจจุบันที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีตของกิจการเนื่องจากการประกอบธุรกิจทางการค้า เช่น การซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ การใช้บริการเป็นเงินเชื่อ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน

2. เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่เจ้าของกิจการต้องชดใช้ด้วยเงินสด สินทรัพย์อื่น หรือบริการตามที่ได้ตกลงกันไว้

3. สามารถกำหนดมูลค่าของหนี้สินและวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ได้

4. สามารถระบุผู้รับเงินได้

4 of 11

ประเภทของหนี้สิน

หนี้สินมีระยะเวลาในการชำระหนี้ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อตกลงดังนั้นเราจึงใช้ความแตกต่างของระยะเวลาในการชำระหนี้มาจำแนกประเภทของหนี้สิน ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภทดังนี้

1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินของกิจการที่มีระยะเวลาครบกำหนดในการชำระคืนภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล อาจชำระด้วยเงินสด สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น การให้บริการในรูปแบบต่างๆ หรือการก่อหนี้สินระยะสั้นอื่นขึ้นมาแทน หนี้สินหมุนเวียนยังมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเภทดังนี้

1.1 หนี้สินหมุนเวียนที่กำหนดมูลค่าแน่นอน (Determinable Current Liabilities)

1.2 หนี้สินหมุนเวียนโดยประมาณ (Estimated Current Liabilities)

1.3 หนี้สินหมุนเวียนที่อาจจะเกิดขึ้น(Contingent Current Liabilities)

5 of 11

2 หนี้สินระยะยาว (Long-Term Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาในการชำระหนี้คืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ

(รอบระยะเวลาดำเนินการปกติเท่ากับ 12 เดือน) เช่น หุ้นกู้ ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว เจ้าหนี้จำนอง เป็นต้น

สรุปรายละเอียดของหนี้สินประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

หนี้สิน

หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินระยะยาว

1. หนี้สินหมุนเวียนที่กำหนดมูลค่าแน่นอน 1. หุ้นกู้

- เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร 2. ตั๋วเงินจ่ายระยะยาว

- ตั๋วเงินจ่ายระยะสั้น 3. เจ้าหนี้จำนอง

- เจ้าหนี้การค้า

- หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายใน 1 ปี

- รายได้รับล่วงหน้า

- เงินมัดจำและเงินประกัน

- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

6 of 11

2. หนี้สินหมุนเวียนโดยประมาณ

- หนี้ค่าสัมมนาคุณลูกค้าโดยประมาณ

- หนี้ค่าประกันคุณภาพสินค้าโดยประมาณ

- หนี้ค่าภาษีโดยประมาณ

3. หนี้สินหมุนเวียนที่อาจจะเกิดขึ้น

- การสลักหลังโอนตั๋ว

- การค้ำประกันหนี้

- การถูกฟ้องร้องและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา

การวัดมูลค่าหนี้สินและการรับรู้หนี้สิน

แม่บทการบัญชีได้กล่าวถึงหลักในการจัดมูลค่าของหนี้สินและการรับรู้หนี้สินไว้ดังนี้

1. การจัดมูลค่าของหนี้สิน หมายถึง การกำหนดจำนวนเงินของหนี้สินในงบการเงิน

(งบดุล) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1.1 ราคาทุนเดิม (Historical Cost) หมายถึง การแสดงรายการหนี้สินที่เกิดจากการก่อภาระผูกพัน และเป็นการดำเนินงานตามปกติของกิจการด้วยจำนวนเงิน ณ วันที่เกิดรายการนั้น เช่น

7 of 11

กิจการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวน 4,000 บาท กิจการจะบันทึกรายการเจ้าหนี้การค้า ด้วยจำนวนเงิน 4,000 บาท ที่ซื้อสินค้านั้นเป็นต้น

1.2 ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) หมายถึง การแสดงรายการหนี้สินด้วยจำนวนเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายชำระตามข้อผูกพันในขณะนั้น

1.3 มูลค่าที่คาดว่าจะจ่ายคืน (Settlement Valve) หมายถึง การแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายชำระคืน หรือด้วยจำนวนเงินที่คาดว่าจะต้องจ่ายชำระหนี้สินนั้น ซึ่งเกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ

1.4 มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) หมายถึง การแสดงรายการหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิที่คิดลดด้วยอัตราส่วนลดที่เหมาะสมภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ

หนี้สินหมุนเวียนมักใช้ราคาทุนเดิมเนื่องจากมีการจ่ายชำระหนี้สินนี้ในช่วงสั้นๆ จึงไม่เกิดความแตกต่างระหว่างการใช้วิธีราคาทุนเดิมและวิธีมูลค่าปัจจุบัน สำหรับหนี้สินอื่นๆ ที่จ่ายชำระด้วยเงินสดมักจัดมูลค่าด้วยวิธีมูลค่าปัจจุบัน

2 การรับรู้หนี้สิน หมายถึง การบันทึกรายการหนี้สินต่างๆ แล้วรวบรวมไปแสดงใน

งบดุลเมื่อหนี้สินนั้นเข้าเงื่อนไข 2 ประการ คือ

2.1 มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนที่กิจการจะต้องเสียสินทรัพย์เพื่อจ่ายชำระหนี้สินนั้นในอนาคต

2.2 มูลค่าของหนี้สินสามารถกำหนดเป็นตัวเงินหรือประมาณมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ

8 of 11

หนี้โดยธรรม

หนี้โดยธรรม (natural obligation)[14] คือ หนี้ที่ผูกพันคู่กรณีอยู่ในทางความรู้สึก เช่น ทางเกียรติยศ หรือทางศีลธรรม แต่ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับกันให้ชำระได้ ได้แก่

1. หนี้ที่ขาดอายุความแล้ว ลูกหนี้บอกปัดไม่ชำระได้ตาม ป.พ.พ. ม. 193/10 แต่ถ้าชำระไปแล้ว จะเรียกคืนมิได้ตาม ป.พ.พ. ม. 193/28 ว. 1 ประกอบ ม. 408 (2) ซึ่งภาษาปากเรียกว่า "เสียค่าโง่"

2. หนี้ที่ขาดหลักฐาน เช่น สัญญาบางประเภทกฎหมายบังคับว่า จะฟ้องร้องกันได้ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมายืนยัน แต่เมื่อไม่มี เจ้าหนี้ก็ยกสัญญานั้นขึ้นว่ากล่าวไม่ได้ อย่างไรก็ดี ถ้าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ไปแล้ว โดยที่รู้อยู่ว่าไม่จำเป็นต้องชำระ ลูกหนี้ก็เรียกสิ่งที่ชำระนั้นคืนมิได้เช่นกัน ตาม ป.พ.พ. ม. 407

3. หนี้ที่ชำระ "ตามหน้าที่ศีลธรรมหรือตามควรแก่อัธยาศัยในสมาคม" (in compliance with a moral duty or consideration of decency) เช่น บิดามารดาให้เงินส่งเสียบุตรเล่าเรียน เป็นหน้าที่ศีลธรรม หรือผู้ใหญ่ให้เงินเป็นสินน้ำใจแก่เด็กที่เก็บของหายได้แล้วนำไปส่งเจ้าพนักงาน เป็นอัธยาศัยในสมาคม หนี้ทำนองนี้จะบังคับกันให้ชำระไม่ได้ และเมื่อชำระแล้ว ก็เรียกคืนมิได้เช่นกัน ตาม ป.พ.พ. ม. 408 (3)

4. หนี้ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี จะเรียกชำระมิได้ เพราะปราศจากมูลหนี้ กล่าวคือ หนี้เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 150 และถ้าได้ชำระหนี้ไปแล้ว จะเรียกทรัพย์สินที่ชำระคืนมิได้ด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 411

9 of 11

หนี้พ้นวิสัย (impossible obligation) คือ หนี้ที่ไม่มีทางปฏิบัติได้ เมื่อปฏิบัติไม่ได้ กฎหมายจึงไม่บังคับให้ปฏิบัติ

นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัยเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม. 150 เช่น จ้างให้ไปเอาอ่าวไทยมาไว้หน้าบ้าน หรือจ้างให้ไปเอากระต่ายบนดวงจันทร์ลงมาให้ สัญญาจ้างนี้เป็นโมฆะ เพราะลูกจ้างย่อมไม่สามารถทำให้สำเร็จได้

หลักการนี้มีมาแต่โบราณกาล ดังปรากฏในประชุมกฎหมายแพ่ง (Corpus Iuris Civilis) ว่า "หน้าที่จะต้องทำสิ่งอันพ้นวิสัยนั้นไม่มี" (impossibilium nulla obligatio est, one cannot be obliged to perform impossible tasks หรือ ultra posse nemo obligatur, no one is obligated beyond what he is able to do)

ประเภท

การพ้นวิสัยแบ่งเป็นสองประเภท คือ

1. การพ้นวิสัยเชิงวัตถุวิสัย (objective impossibility) เป็นการพ้นวิสัยที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้ว กล่าวคือ สิ่งนั้น ๆ ไม่สามารถเป็นไปได้โดยสภาพ เป็นต้นว่า จ้างให้กินข้าวสารสามร้อยถังในเวลาหนึ่งวินาที กรณีเช่นนี้เรียก การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย (performance being impossible)

2. การพ้นวิสัยเชิงอัตวิสัย (subjective impossibility) เป็นการพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นภายหลัง กล่าวคือ เดิมสิ่งนั้น ๆ สามารถเป็นไปได้ แต่ต่อมาเกิดเหตุบางประการ จึงไม่อาจเป็นไปได้อีก เป็นต้นว่า ตกลงซื้อขายบ้านหลังหนึ่ง แต่ก่อนจะได้ส่งมอบบ้านกัน บ้านนั้นถูกคำสั่งศาลยึดเสียก่อน เป็นเหตุให้ผู้ขายไม่สามารถส่งมอบบ้านได้อีกต่อไป กรณีเช่นนี้เรียก การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย (performance becoming impossible)

10 of 11

ความรับผิดเมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย

กรณีที่เป็นความผิดของลูกหนี้

เมื่อการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยโดยที่โทษลูกหนี้ได้ ลูกหนี้จะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ ในการนี้ ลูกหนี้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน (compensation) ให้แก่เจ้าหนี้สำหรับความเสียทั้งหลายที่เจ้าหนี้ต้องประสบเพราะลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้นั้นได้ ตาม ป.พ.พ. ม. 218 ว. 1

ความผิดของลูกหนี้ ย่อมรวมถึง ความผิดของตัวแทนลูกหนี้ หรือของบุคคลที่ลูกหนี้ใช้ในการชำระหนี้ด้วย ตาม ป.พ.พ. ม. 220

ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพียงบางส่วน และส่วนที่เหลือยังเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อยู่ ลูกหนี้ยังคงต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือนั้น และเจ้าหนี้ก็จำต้องรับชำระหนี้เช่นนั้นด้วย]แต่ถ้าหนี้ส่วนที่เหลือดังกล่าวถึงชำระไปก็ไม่เป็นประโยชน์อีก เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ แล้วเรียกให้ลูกหนี้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ตาม ป.พ.พ. ม. 218 ว. 2

เช่น เล่าปี่ฝากม้าโดยสารตัวหนึ่งไว้ที่เล่าขลุ่ย เล่าขลุ่ยสั่งให้เล่าแคน ลูกจ้าง ดูแลม้านั้นเอาไว้ แต่เล่าแคนเอาม้าออกไปขับขี่เล่น และม้าถูกหมากัดตัวขาดเป็นสองท่อน พอเล่าปี่กลับมารับม้าคืนก็ต้องตกใจแทบสิ้นสติ จึงเรียกให้เล่าขลุ่ยรับผิดชอบ ดังนี้ แม้ม้ายังมีตัวตนอยู่ แต่เล่าขลุ่ยย่อมไม่สามารถชำระหนี้ คือ ส่งมอบม้าคืนให้แก่เล่าปี่ ได้อีกต่อไป เพราะม้าในสภาพเช่นนั้นย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่การใช้โดยสารอีก และโดยที่การชำระหนี้ของเล่าขลุ่ยกลายเป็นพ้นวิสัยเช่นนี้ ก็สืบเนื่องจากความผิดของเล่าแคนซึ่งเล่าขลุ่ยใช้สอยในการชำระหนี้ อันเปรียบเสมือนความผิดของตัวเล่าขลุ่ยเอง เพราะเมื่อรับฝากทรัพย์สินเขาแล้ว เล่าขลุ่ยย่อมมีหน้าที่ระวังรักษาทรัพย์สินนั้นให้จงดี เล่าขลุ่ยจึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เล่าปี่ฐานที่เล่าปี่เสียม้าตัวนั้นไป

11 of 11

คำศัพท์หน่วยที่

Liabilities หนี้สิน

Current Liabilities หนี้สินหมุนเวียน

Determinable Current Liabilities หนี้สินหมุนเวียนที่แน่นอน

Estimate Current Liabilities หนี้สินหมุนเวียนโดยประมาณ

Contingent Current Liabilities หนี้สินหมุนเวียนที่อาจจะเกิดขึ้น

Longterm Liabilities หนี้สินระยะยาว

Historical Cost ราคาทุนเดิม

Current Cost ราคาทุนปัจจุบัน

Sehlement Value มูลค่าที่คาดว่าจะจ่ายคืน

Present Value มูลค่าปัจจุบัน