1 of 20

การบริหารงานบุคคล

2 of 20

ความสำคัญและความจำเป็นของการบริหารงานบุคคล

การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ บุคลากรนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การจะให้การจัดการศึกษาในโรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้ามหมายต้องอาศัยทรัพยากรที่จำเป็น 4 อย่าง คือ คน เงิน วัสดุ การจัดการ ซึ่งการใช้ทรัพยากรทั้ง 4 ให้เกิดประโยชน์ต้องคำนึงถึง 3 หลัก คือ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ และหลักประสิทธิผล โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา และให้ความรู้แก่สมาชิกในสังคม ในโรงเรียนมีขอบข่าย ปัจจัยหลายอย่างที่ต้องดำเนินงาน ซึ่งทุกภาระกิจมีความสำคัญ และจำเป็นที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนกัน ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆมีความสำคัญ คน นับว่ามีความสำคัญ เพราะคนเป็นผู้ใช้ปัจจัยในการบริหารอื่นๆ ดังนั้นการจัดการศึกษาจะมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผลเพียงไรย่อมขึ้นกับ คน ในองค์การ

3 of 20

ความสำคัญของบุคคล

1. คนฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญขององค์การ ในองค์การองค์ประกอบที่สำคัญมีสองส่วน คือ คน และ งาน

2. คนฐานะเป็นทรัพยากรการบริหารที่สำคัญ คนได้รับการพิจารณาว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เพราะคนเป็นผู้จัดหา และใช้ทรัพยากรบริหารอื่นๆ

3. คนในฐานะเป็นกระบวนการหนึ่งของกระบวนการบริหาร

4. คนในฐานะเป็นภารกิจหน้าที่ด้านการบริหารของผู้บริหารการศึกษา

5. คนในฐานะเป็นนโยบายการบริหารที่สำคัญ

4 of 20

ความหมายของการบริหารงานบุคคล

เป็นการบริหารทรัพยากรเพื่อใช้คนให้เหมาะสมกับงาน โดยมีเป้าหมายของการบริหารงานบุคคล คือการได้มาซึ่งมีความรู้ความสามารถเหมาะสม ตามความต้องการของหน่วยงาน หลักการทั่วไปของการบริหารงานบุคคล หมายถึง การกระทำใดๆของฝ่ายบริหารที่จะทำให้บุคคลสองฝ่ายในหน่วยงาน คือฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติ เกิดความเข้าใจในหน้าที่ บทบาท และความสัมพันธ์ของงานจนมีแนวคิดที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โดยยึดความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงานเป็นหลัก เป้าหมายของการบริหารงานบุคคล คือ การดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย ส่งเสริมสนันสนุนให้บุคลากรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จในการทำงาน และพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร ระบบการบริหารงานบุคคล มี 2 ระบบ ประกอบด้วย ระบบอุปถัมภ์ และระบบคุณวุฒิ

ระบบอุปัถัมภ์ หมายถึง ระบบที่มีการให้ตำแหน่งในหน่วยงานเป็นรางวัลแก่ผู้ภักดีต่อผู้บริหารโดยไม่จำกัดขอบเขต

ระบบคุณวุฒิ หมายถึง ระบบที่มีการคัดเลือกคนดี คนมีความรู้ ความสามารถ โดยการสอบแข่งขัน

5 of 20

การบริหารงานบุคคลแผนใหม่

การบริหารงานบุคคลแผนใหม่ ยึดหลักการสำคัญ 12 ประการ คือ หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง หลักความเป็นกลางทางการเมือง หลักการพัฒนา หลักความเหมาะสม หลักความยุติธรรม หลักสวัสดิการ หลักเสริมสร้าง หลักมนุษยสัมพันธ์ หลักประสิทธิภาพ หลักการศึกษาวิจัย

กระบวนการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย การกำหนดนโยบาย การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การปฐมนิเทศ การมอบหมายงาน การพัฒนา การประเมิน สวัสดิการ และ วินัย

6 of 20

ภารกิจด้านการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารการศึกษา

ภารกิจด้านการบริหารบุคคลนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้บริหารการศึกษา ซึ่งภาระกิจของผู้บริหารการศึกษาประกอบด้วย

โปรแกรมการศึกษา คือ จุดมุงหมาย หลักสูตร การเรียนการสอน การบริการนักเรียน การพัฒนาบุคลากร ฯลฯ

ทรัพยากรการบริหาร คือ งบประมาณ วัสดุ ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวกฯลฯ

บุคลากร คือ ทรัพยากรการ สรรหา การคัดเลือก การปฐมนิเทศ การประเมินผล การพัฒนา

สิ่งตอบแทน ฯลฯ

การวางแผน คือ แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา แผนปฏิบัตการ การพัฒนาบุคลากร

ข้อมูลข่าวสารฯลฯ

ความสัมพันธ์กับภายนอก คือ องค์การรัฐบาล ชุมชนสัมพันธ์ สถาบันการศึกษาฯลฯ

7 of 20

มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน

ลักษณะและหน้าที่บทบาทของครู ครูในปัจจุบันมีหน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแสดงบทบาทหลายด้าน ซึ่งในที่นี้บทบาทหน้าที่สำคัญของครูควรประกอบด้วย 6 ด้าน

1.หน้าที่ด้านการสอน

2.หน้าที่ด้านการประเมิน และการวัดผลการศึกษา

3.หน้าที่ด้านการให้คำปรึกษาแนะแนว

4.หน้าที่ด้านการบริหารและนิเทศ

5.หน้าที่ด้านเกี่ยวกับชุมชน

6.หน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาตนเอง

8 of 20

สมรรถนะกับกระบวนทัศน์การบริหารงานบุคคล

สมรรถนะ คือลักษณะที่เป็นรากฐานของบุคคลหนึ่งๆ ซึ่งมีความเชื่อมโยงเชิงเหตุผลกับผลการปฏิบัติงานที่เหนือกว่าและ หรือประสิทธิผลที่สามารถอ้างอิงกับเกณฑ์มาตราฐานในงานหนึ่งหรือสถานการณ์หนึ่งๆได้

สมรรถนะกับกระบวนการบริหารงานบุคคล

1.การสรรหา และคัดเลือกบุคลากรตามคุณสมบัติ และสมรรถนะตามตำแหน่งที่ต้องการ

การเลือกใช้วิธีการคัดเลือกที่ได้คนตรงกับความต้องการ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย เช่น การใช้แบบทดสอบ หรือวิธีสัมภาษณ์จะทำให้ได้คนที่ตรงตรงกับความต้องการ ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย มากที่สุด

9 of 20

2.การวางแผนอบรมและพัฒนาบุคลากร ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะของบุคคลจะช่วย

กำหนดทิศทางความต้องการพัฒนา ส่วนการพัฒนาเป็นการเพิ่มการทำงานให้คนแต่ละคนอย่างมีประสิทธิภาพ

3.การวางแผนการก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากร เป็นการวางแผนทดแทนตำแหน่ง

ระดับบริหาร และทำให้ทราบถึงจุดแข็งจุดอ่อนที่มี ทำให้ทราบอนาคต ทำให้ต้อง

เตรียมบุคลากรให้พร้อมกับตำแหน่งในองค์การ

4.การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร เป็นตัวสะท้อนให้ทราบถึงสมรรถนะของ

ตนเอง และขององค์การ

5. ค่าตอบแทน เป็นตัวช่วยให้บุคคลมีความกระตือรือร้นมากขึ้น ส่งผลต่อสมรรถนะของ

หน่วยงาน

10 of 20

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

คุณสมบัติทั่วไป ของผู้จัดการฝ่ายบุคคลควรมีลักษณะของผู้บริหารที่แตกต่างกว่าผู้บริหารอื่นๆและไม่ควรยึดติดกับการบริหารแบบ"ผู้จัดการ" ในสมัยก่อน เพราะการที่โลกก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ผู้จัดการฝ่ายบุคคลต้องมีทัศนคติให้ทันกับยุคโลกาภิวัตน์ สามารถทำงานร่วมกับบุคคลที่มาจากพื้นฐานและเชื้อชาติต่างกันเป็นผู้นำที่มีส่วนร่วมกับทีมงานทุกชาติ ทุกภาษา ได้มีความสามารถในการมองการณ์ไกลหรือมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความเป็นผู้นำที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเปลี่ยนแปลง องค์กร มีลักษณะเป็นผู้ประสานงานที่มีประสิทธิภาพเป็นนักต่อรองและแก้ไขปัญหาแบบร่วมมือ และสร้างสรรค์ เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรของชาติตนเองอย่างลึกซึ้ง และ เข้าใจวัฒนธรรมของชาติอื่นและองค์กรเป็นอย่างดี ส่วนคุณสมบัติทั่วไปที่จำเป็นต้องมีในตัวผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีดังนี้

11 of 20

1. เป็นผู้นำและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมองค์กรสามารถจูงใจพนักงานให้อุทิศและทุ่มเทการทำงานให้กับองค์กรได้

2. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้ากระจายอำนาจ และวินิจฉัยสั่งการและพร้อมที่จะรับผิดชอบ

3. มีความรอบคอบในการพิจารณาและวินิจฉัยการปฏิบัติงาน

4. ซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม

5. มีมนุษยสัมพันธ์ดีเข้ากับคนที่มีพื้นฐานที่มาแตกต่างได้เป็นที่ไว้วางใจและน่าเชื่อถือกับบุคคลทุกฝ่ายทั้งในและนอกองค์กร

6. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

7. เป็นผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญในการแก้ไขอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรให้มาเป็นการร่วมมือกัน

8. เป็นผู้ที่สามารถทำให้พนักงานเชื่อถือและศรัทธาในปรัชญาองค์กรให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรในภาครัฐบาล องค์กรธุรกิจหรือองค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำไรจะต้องมีความเชื่อว่างาน และบทบาทของ องค์กรเป็นงานและบทบาทที่สำคัญที่สุดของสังคมเท่าๆ กับรากฐานของสังคมอื่นๆ เพื่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กร ( Peter Drucker )

9. มีความเข้าใจภาษาต่างประเทศ เป็นอย่างดี

10. มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานบุคคลอย่างน้อยตั้งแต่ 3-5 ปี

12 of 20

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้จัดการฝ่ายบุคคลที่มีความสามารถ และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมรวมทั้งมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจะเลื่อนให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ กรรมการผู้บริหาร สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการบริหารงานด้านนี้ คือผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้องค์กรดำเนินธุรกิจไปได้อย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลจึงเป็นทรัพยาบุคคลที่มีค่าขององค์กรเช่นกันและองค์กรต้องการให้บุคลากรเช่นนี้บริหารงานจนกว่าจะเกษียณงาน อาชีพนี้จึงเป็นอาชีพค่อนข้างมั่นคงและหรืออาจได้รับการเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าจากองค์กรธุรกิจอื่น

13 of 20

ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล

• บุคคลในองค์การ เปรียบเสมือนชิ้นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์การเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้นจึงควรศึกษาความสำคัญของการบริหารงานบุคคลซึ่งแยกเป็นประเด็นสำคัญๆได้ดังนี้

• -ช่วยเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจไม่ว่าจะเป็นด้านความสะดวกสบาย

-ช่วยให้องค์การมีความมั่นคง และมั่งคั่งเมื่อพนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานย่อมส่งผลให้องค์การมีความเจริญเติบโตและเข้มแข็ง ผลผลิตเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีศักยภาพในการแข่งขันสูง

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่สังคม สังคมประกอบขึ้นจากกลุ่มบุคคลเล็กๆ มารวมกันถ้าแต่ละกลุ่มมีความมั่นคงย่อมส่งผลให้สังคมเกิดความมั่นคงเช่นกัน

-ช่วยให้เกิดความมั่นคงแก่ประเทศชาติ ถ้าบุคลากรของทุกองค์การเป็นผู้มีความสามารถ

14 of 20

หน้าที่การบริหารงานบุคคล Personal Functional

การบริหารงานบุคคล คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในองค์การเริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสร้างแรงจูงใจด้านต่างๆ เพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจพิจารณาขอบเขตของงานด้านบริหารงานบุคคลได้แก่

การวางแผนกำลังคน Personnel Planning

15 of 20

การสรรหาและการคัดเลือก Finding and Selectiong

การจัดบุคคลเข้าทำงาน Recruitment

การปฐมนิเทศ Orientation

การพัฒนาและฝึกอบรม Training and Development

การเลื่อนชั้นและการโยกย้าย Transfer and Promotion

การสร้างแรงจูงใจ Motivation

16 of 20

•การจัดการด้านสวัสดิการ Welfare

•การพ้นจากงาน working Leave

แรงงานสัมพันธ์ Labor Relati

การวางแผนกำลังคน การดำเนินธุรกิจย่อมจะมีบางช่วงเวลาที่ต้องใช้กำลังคนมาก บางช่วงใช้กำลังคนมากก็สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้ากำลังคนน้อยก็ทำให้งานภายในองค์การเกิดความเสียหายได้เช่นกัน

การวางแผนกำลังงานจะต้องมีการวิเคราะห์งาน เพื่อให้ทราบถึงการจัดหมวดหมู่ของงานและการประเมินผล การวิเคราะห์งาน Job Analysis

on

17 of 20

•1. คำบรรยายลักษณะงาน JOB Descriptionเป็นข้อกำหนดหน้าที่ของงานในด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานด้านนั้น โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

–หน้าที่รับผิดชอบ

–กิจกรรมที่ต้องทำ

–ขอบเขตความรับผิดชอบ

–หน่วยงานที่ต้องติดต่อ

2. คุณสมบัติของพนักงาน Job Specification เป็นการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับงานที่จะต้องรับผิดชอบเช่น

18 of 20

•อายุ

•การศึกษา

•สายตา

•บุคลิกภาพ

•ส่วนสูง

•น้ำหนักตัว

•สถานภาพ

19 of 20

•3. การจัดหมวดหมู่ของงาน Job Classification คือ การจัดการเกี่ยวกับงานให้เป็นระบบ งานใดมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน ก็สามารถจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน

•4. การประเมินผลงาน Job Evaluation ภายหลังจากการจัดการเกี่ยวกับงานในประเด็นต่าง ๆ แล้วจะต้องมีการประเมินผลของงาน เพื่อใช้เป็นการกำหนดค่าตอบแทนรวมถึงการจัดสวัสดิการด้านต่างๆ ให้เหมาะสม

การสรรหาการคัดเลือก

การสรรหาบุคลากร เพื่อเข้ามาร่วมงานกับองค์การ ผู้รับผิดชอบจะต้องมีการหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่ต้องการอ่าน จากนั้นจึงดำเนินการขั้นตอนต่อไปสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ

20 of 20

•2.1 การสรรหาจากภายในองค์การ คือ เมื่อองค์การมีความต้องการพนักงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับต่างๆ ไม่จำเป็นต้องประกาศรับสมัครบุคคลภายนอกเสมอไปทั้งนี้เพราะบุคลากรภายในองค์การบางคนอาจมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งการสรรหาบุคลากรภายในกิจการมีข้อดีในด้านขวัญและกำลังใจ

2.2 การสรรหาจากภายนอกกิจการ ตำแหน่งงานบางประเภทมีความจำเป็นที่จะต้องหาจากแหล่งภายนอก เพราะมีบุคคลที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกว่าภายใน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ที่องค์การจะได้รับในด้านของความหลากหลายด้านความคิดสร้างสรรค์จากบุคคลภายนอก แหล่งกำลังคนภายนอกที่สำคัญ