1 of 12

การสร้างองค์ความรู้ใหม่�ทางประวัติศาสตร์ไทย

2 of 12

วิธีการทางประวัติศาสตร์�

  • ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

  • วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นวิธีการหรือขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยอาศัยจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้สามารถฟื้นหรือจำลองอดีตขึ้นมาใหม่ได้อย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือ

3 of 12

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์�

  • ทำให้เรื่องราว กิจกรรม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือ มีความถูกต้องเป็นจริง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพราะมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน

4 of 12

ประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์

  • ทำให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ มีการตรวจสอบเรื่องราวที่ศึกษา นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เป็นผู้รู้จักประเมินความน่าเชื่อถือของเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านการตรวจสอบ

5 of 12

6 of 12

การรวบรวมหลักฐาน

  • หลักฐานชั้นต้น
  • เป็นหลักฐานร่วมสมัยของผู้ที่
  • เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง

ภาพถ่ายเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

เป็นหลักฐานชั้นต้น

หลักฐานชั้นรอง

หลักฐานที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักฐาน

ชั้นต้น

สารนิพนธ์ของ ดร. ประเสริฐ ณ นคร

เป็นหลักฐานชั้นรอง

7 of 12

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน�

  • การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก
  • ประเมินคุณค่าจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน บางครั้งมีการปลอมแปลงเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ทำให้หลงผิด จึงต้องมีการประเมินว่าหลักฐานนั้นเป็นของจริงหรือไม่ พิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏภายนอก เช่น เนื้อกระดาษ เป็นต้น

  • การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน
  • ประเมินคุณค่าจากข้อมูลภายในหลักฐานนั้น เช่น มีชื่อบุคคล สถานที่ เหตุการณ์ ในช่วงเวลาที่หลักฐานนั้นทำขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากการกล่าวถึงตัวบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ถ้อยคำ เป็นต้น

8 of 12

�หลักฐาน�ทางประวัติศาสตร์ไทย�

9 of 12

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร

  • จารึกหรือจาร
  • ที่สลักลงบนแท่งหรือแผ่นหิน เรียก ศิลาจารึก
  • จารึกลงแผ่นทองคำ เรียก จารึกลานทอง
  • จารึกลงแผ่นเงิน เรียก จารึกลานเงิน
  • ที่จารลงใบลาน เรียก หนังสือใบลาน
  • ศิลาจารึกมีความคงทนมากที่สุด

จารึกลานทอง พบที่วัดส่องคบ จ. ชัยนาท

10 of 12

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

  • ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุ
  • เป็นหลักฐานที่มีคุณค่า ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างมาก
  • ควรใช้ประกอบกับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร �และควรมีการตรวจสอบด้วย

11 of 12

ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย

  • สำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
  • สะท้อนให้เห็นโลกทัศน์ วัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนความเชื่อของคนในสมัยก่อน
  • ควรช่วยกันเก็บรักษาให้ดี เพื่อจะได้นำมาศึกษาค้นคว้าเผยแพร่ต่อไป อันจะช่วยให้ประวัติศาสตร์ไทยมีความชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น
  • สำหรับการใช้หลักฐานของชาวต่างชาติ ผู้ศึกษาควรมีความระมัดระวัง เนื่องจากชาวต่างชาติมีพื้นฐานความคิด และวัฒนธรรมที่แตกต่างจากคนไทย

12 of 12

แหล่งรวบรวมหลักฐานประวัติศาสตร์ไทย

  • สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
  • พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
  • หอสมุดกลางของมหาวิทยาลัยต่างๆ