1 จาก 13

ภาษาในวรรณคดีไทย

2 จาก 13

การประพันธ์คือการเรียงร้อยถ้อยคำ

วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นงานศิลปะเช่นเดียกับ

จิตรกรรมประติมากรรม คีตกรรม และนาฏกรรม มีจุดมุ่งหมาย

เพื่อสร้างจินตภาพแก่ผู้เรียน ผู้ชม หรือผู้ฟังให้ได้รับสารที่ผู้

สร้างสรรค์งานศิลปะต้องการสื่อ สารเหล่านี้จะทำให้เกิดอารมณ์

สุนทรีย์ (ความสำเริงอารมณ์) และแง่คิดจรรโลงใจ

3 จาก 13

กวีโวหารเป็นศิลปะการเรียงร้อยถ้อยคำ

กวีโวหาร หมายถึง ถ้อยคำสำนวน และชั้นเชิงในการ

แต่งคำประพันธ์ของกวีซึ่งมุ่งให้เกิดประสิทธิภาพทางอารมณ์แก่

ผู้อ่าน ผู้ฟัง กวีโบราณกล่าวถึงโวหารซึ่งเป็นกระบวนการ�ประพันธ์ไว้ ๔ ประเภท คือ

การเลือกสรรและการเรียงร้อยถ้อยคำเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดี ดังที่

เราเรียกการแต่งวรรณคดีว่า “การประพันธ์” หรือ “กวีนิพนธ์” และเรียกการแต่ง

หนังสือให้มีความไพเราะและระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ว่า “ร้อยกรอง”

4 จาก 13

๑. เสาวรจนี (บทชมโฉม) คือ การเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่ง

อาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่ง

กล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่น

บทชมโฉมนางมัทนา โดยท้าวชัยเสนรำพันไว้ ในวรรคดีเรื่องมัทนะพาธา

กรายกรก็เร้ารม- ยะประหนึ่งระบำสรวย

ยามนั่งก็นั่งเรียบ และระเบียบบเขินขวย

แขนอ่อนฤเปรียบด้วย ธนุก่งกระชับไว้

พิศโฉมและฟังเสียง ละก็เพียงจะขาดใจ

(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

5 จาก 13

บทชมนางเงือก ซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร

จากเรื่อง พระอภัยมณี

บทกษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม

ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม ทั้งเนื้อนมนวลเปล่งออกเต่งทรวง

ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง

พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป

(สุนทรภู่)

6 จาก 13

๒. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวพาราสี โอ้โลม) คือการกล่าวข้อความแสดงความรัก

ทั้งที่เป็นการพบกันในระยะแรกๆ และในโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา

แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง

เจ้าเป็นถ้ำไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่ครอง

จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(สุนทรภู่)

7 จาก 13

๓. พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ) คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่

น้อยไปจนมาก จึงเริ่มตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบ

เปรียบเปรย เสียดสี และด่าว่าอย่างรุนแรง

ครั้งนี้เสียรักก็ได้รู้ ถึงเสียรู้ก็ได้เชาวน์ที่เฉาฉงน

เป็นชายหมิ่นชายต้องอายคน จำจนจำจากอาลัยลาน

(เจ้าพระยาพระคลัง(หน))

8 จาก 13

บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี เสียเจ้า

เสียเจ้าราวร้าวมณีรุ้ง มุ่งปรารถนาอะไรในหล้า

มิหวังกระทั่งฟากฟ้า ซบหน้าติดดินกินทราย

จะเจ็บจำไปถึงปรโลก ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย

จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ

หากเจ้าอุบัติบนสรวงสวรรค์ ข้าขอลงโลกันตร์หม่นไหม้

สูเป็นไฟ เราเป็นไม้ ให้ทำลายสิ้นถึงวิญญาณ

แม้แต่ธุลีมิอาลัย ลืมเจ้าไซร้ชั่วกาลปาวสาน

แม้นชาติไหนเกิดไปพบพาน จะทรมานควักทิ้งทั้งแก้วตา

ตายไปอยู่ใต้รอยเท้า ให้เจ้าเหยียบเล่นเหมือนเส้นหญ้า

เพื่อจดจำพิษช้ำนานา ไปชั่วฟ้าชั่วดินสิ้นเอย

(อังคาร กัลยาณพงศ์)

9 จาก 13

บทตัดพ้อที่แทรกอารมณ์ขันของ จากบทกวี ปากกับใจ

เมื่อรักกันไม่ได้ก็ไม่รัก ไม่เห็นจักเกรงการสถานไหน

ไม่รักเราเราจักไม่รักใคร เอ๊ะน้ำตาเราไหลทำไมฤๅ

(สุจิตต์ วงษ์เทศ)

10 จาก 13

๔. สัลลาปังคพิสัย (บทโศก) คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า

อาลัยรัก บทโศกของนางวันทอง ซึ่งคร่ำครวญอาลัยรักต้นไม่ในบางขุนช้าง อันแสดง

ให้เห็นว่านางไม่ต้องการตามขุนแผนไป แต่ที่ต้องไปเพราะขุนแผนร่ายมนต์สะกด

ก่อนลานางได้ร่ำลาต้นไม้ก่อนจากไป จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพา

นางวันทองหนี

ลำดวนเอยจะด่วนไปก่อนแล้ว ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี

จะโรยร้างห่างกลิ่นมาลี จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ

(พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

11 จาก 13

สุนทรภู่คร่ำครวญถึงรัชกาลที่ ๒ ซึ่งสวรรคตแล้ว เป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตก

ระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓ ต้องระเห็ดเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่

ต่างๆขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ซึ่งรำลึกความหลังก็คร่ำครวญอาลัยถึงอดีตที่

เคยรุ่งเรืองจากนิราศภูเขาทอง

เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา

สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์

(สุนทรภู่)

12 จาก 13

คำเพราะคือสังวาล กอบแก้ว

นักประพันธ์หรือกวี คือ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการ

ประพันธ์ สามารถเรียบเรียงถ้อยคำให้เกิดจินตภาพเพื่อสื่ออารมณ์

ความนึกคิด และจินตนาการสู่ผู้อ่านได้อย่างไพเราะกินใจ

การเลือกสรรคำมาใช้ของกวีทำให้เกิดคำศัพท์นิยมที่เรา

รู้จักกันในลักษณะของคำพ้องศัพท์ อาทิ กวีจะกล่าวถึงหญิงคนรัก

หรือผู้หญิงก็มักจะใช้คำหลากหลาย อาทิ นงพะงา นงคราญ นงนุช

13 จาก 13

ในการแต่งคำประพันธ์ กวีนิยมดำเนินตามหลักฉันทลักษณ์อย่า

เคร่งครัด เมื่อคำบางคำมีปัญหาเรื่องเสียง กวีก็มักจะแต่งรูปแปลงเสียง เพื่อให้ได้คำที่ไพเราะแต่คงความหมายเดิมไว้

กวีโบราณนิยมแต่งรูปแปลงเสียงคำเพื่อ

ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในฉันทลักษณ์ เช่น การใช้

คำโทโทษ คำเอกโทษในการแต่งโคลงและร่าย แต่คำ

เอกโทษจะใช้น้อยกว่าคำโทโทษ เพราะสามารถใช้

คำตายแทนได้นั่นเอง