1 of 7

2.1ทบทวนพหุนาม

2.1.1เอกนามและพหุนาม

เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของผลคูณระหว่างค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่1ตัวเป็นต้นไปและชี้กำลังของตัวแปรเป็นจำนวนเต็มศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก

สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ส่วนที่เป็นค่าคงตัวของเอกนาม

ดีกรีของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรๆทุกตัวในเอกนามนั้น

พหุนามและเศษส่วนของพหุนาม

2 of 7

  • พหุนาม คือ นิพจน์ที่อยู่ในรูปเอกนามหรือผลบวกของเอกนามตั้งแต่2เอกนามขึ้นไป
  • พหุนามในรูปผลสำเร็จ คือ พหุนามที่ประกอบด้วยหลายพจน์แต่ไม่มีพจน์ไหนที่คล้ายกันเลย
  • ดีกรีของพหุนาม เท่ากับดีกรีของเอกนามที่มีค่าสูงสุดที่อยู่ในพหุนามนั้น

3 of 7

  • 2.1.2การบวกและลบพหุนาม

การบวกพหุนามสามารถหาผลลัพธ์ได้2วิธี คือ การรวมพจน์ที่คล้ายกันเข้าด้วยกันหรือการใช้การตั้งบวก

สำหรับการลบมีขั้นตอนการทำได้2ลักษณะ คือ เปลี่ยนพหุนามที่เป็นตัวลบให้เป็นจำนวนตรงข้ามแล้วนำมาบวกกันกับตัวตั้งหรือจะใช้การตั้งลบ

4 of 7

2.2การคูณพหุนาม

  • การคูณพหุนามมีวิธีการคำนวณได้2แบบ คือ ใช้การคูณแบบการกระจายและคูณแบบตั้งคูณ
  • การหาผลคูณของพหุนามกับพหุนามทำได้โดยคูณแต่ละพจน์ของพหุนามหนึ่งกับทุก ๆพจน์ของอีกพหุนามหนึ่งแล้วนำผลคูณเหล่านั้นมาบวกกัน

5 of 7

2.3การหารพหุนาม

  • วิธีหาผลหารของพหุนาม คือ การตั้งหารยาวสามารถใช้การหาพหุนามได้ทุกกรณี (หาด้วยดีกรีเท่าใดก็ได้) แต่ในกรณี การหารพหุนามด้วย x-c
  • (ดีกรีหนึ่ง)สามารถทำได้รวดเร็วโดยการหารสังเคาระห์

6 of 7

2.4เศษส่วนของพหุนาม

  • เศษส่วนของพหุนาม คือ เศษส่วนที่มีเศษและส่วนเป็นพหุนาม
  • หลักการของเศษส่วนของพหุนามก็เหมือนเศษส่วนทั่วไป คือ ถ้านำจำนวนที่ไม่ใช่ศูนย์มาคูณหรือหารทั้งเศษและส่วนค่าก็ยังคงเดิม
  • การทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
  • จะใช้จำนวนมาหารทั้งเศษและส่วนจนกระทั่งไม่มีจำนวนใดมาหารทั้งเศาและส่วนได้อีกถือว่าเศษส่วนนั้นเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ

7 of 7

2.5การบวกและการลบเศษส่วนของพหุนาม

  • หลักการบวกและลบเศษส่วนของพหุนาม คือ ทำให้ส่วนเท่ากันแล้วนำเศามาบวกหรือลบกัน
  • และในกรณีที่ต้องการทำส่วนให้เท่ากันต้องทำให้เท่ากับ ค.ร.น. ของส่วนจึงจะง่ายต่อการทำส่วนให้เท่ากัน