แนวทาง
การจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์
“แม้จะมีเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ว่าที่จะอบรมโดยใช้สื่อที่ก้าวหน้าที่มี � เทคโนโลยีสูงนี้ยากที่สุด ที่จะอบรมบ่มนิสัยด้วยเครื่องเหล่านี้ ฉะนั้น� ไม่มีอะไรแทนคนสอนคน การที่มีความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงใน� ประเทศในสังคมไทย ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางดี � นอกจากต้องหาวิธีให้มีการถ่ายทอดโดยใช้ตำราหรือใช้หลักสูตรที่� เหมาะสมที่ทำให้คนเป็นคน”
พระราชดำรัส ร.9
พระราชทานไว้เมื่อ 4 ธ.ค. 2539
การสอน & Active Learning
แนวโน้มการเติบโตของการเรียนแบบออนไลน์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์
การกำหนดรายวิชาและการเขียนแผนการเรียนรู้ออนไลน์
Content
1. การสอน
การสอน
การสอน คือ กิจกรรมที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลคนหนึ่งยอมรับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคลอีกคนหนึ่ง (การสอนจึงเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนกระทำเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้) (Langford 1968:114)
การสอน คือ วิธีการที่ครูถ่ายทอดความรู้ อบรมนักเรียน ให้มีความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะดังที่จุดประสงค์การศึกษาได้ระบุไว้ (Educational Technology : 1971)
การสอน คือ การกระทำและการดำเนินการด้านต่างๆของครูภายใต้สภาพสถานการณ์การเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์ภาพระหว่างครูกับนักเรียน ด้วยกระบวนการการตัดสินและวางแผนก่อนสอน ซึ่งได้แก้การวางแผนการสอน การจัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ (Dictionary of Education 1973)
การสอน
การสอน เป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อนต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์
“ศาสตร์” คือ เหตุผล ตรรกะ องค์ความรู้ ตัวความรู้ในแต่ละศาสตร์
“ศิลป์” คือ กระบวนการวิธีการ ความเป็นมืออาชีพในการทำให้ชีวิต การศึกษาศาสตร์ต่างๆ และการเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายอย่างดียิ่ง
ศิลปการสอน หมายถึง ความรู้และความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆ ไปใช้ในการสอนเพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็วราบรื่นและมีความสุข
การสอน
พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (Cone of Learning)
คำถาม?สำคัญ
เราจะเปลี่ยนแปลงห้องเรียนธรรมดาที่ผู้เรียนเรียนรู้แบบตั้งรับ (Passive Learning) ให้กลายเป็นห้องเรียนที่มีผู้เรียน�มีความกระตือรือร้น และมีส่วนร่วม (Active Learning)
กับบทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด มากขึ้นกว่าเดิม…
ได้อย่างไร?
คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป ความรู้ที่ได้เกิดจากการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องมีโอกาสลงมือกระทำ มากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว การเรียนรู้จากการอ่าน เขียน โต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขึ้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า
ทำไมต้อง?Active Learning
คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสูงสุด โดยมีกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ฟัง พูด อ่าน เขียน คิด หรือลงมือทำ ทั้งนี้เน้นให้ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดระดับสูง เพื่อให้เขาเรียนรู้อย่างมีความหมาย นำไปใช้ในชีวิตจริง
การจัดกิจกรรมเชิงรุก?
ร่วมกันสรุปทักษะผู้เรียน
ลักษณะของการเรียนแบบ Active Learning
1. เป็นการพัฒนาศักยภาพ การคิด การแก้ปัญหา และ การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมจัดระบบการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ร่วมกันมากกว่าการแข่งขัน
3. ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารสารสนเทศสู่ทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินค่า
4. ผู้เรียนได้เรียนรู้ความมีวินัยในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
5. ความรู้เกิดจากประสบการณ์และการสรุปของผู้เรียน� 6. ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เกิดจากประสบการณ์
ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
การคิด
วิเคราะห์
สังเคราะห์
ประเมินค่า
การแก้ปัญหา
บูรณาการข้อมูลสารสนเทศ
สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
มีส่วนร่วมจัดระบบการเรียนรู้
การสรุปของผู้เรียน
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี
วิธีการสอน
1. แบบระดมสมอง (Brainstorming) � 2. แบบเน้นปัญหา/โครงงาน/กรณีศึกษา (Problem/Project-based/Case Study)� 3. แบบแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) � 4. แบบแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share) � 5. แบบสะท้อนความคิด (Student’s Reflection) � 6. แบบตั้งคำถาม (Questioning-based Learning) � 7. แบบใช้เกม (Games-based Learning)
8. การใช้บทเรียนแบบโปรแกรม (Programmed Instruction)� 9. การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self –Directed Learning)
2. แนวโน้มการเติบโตของการเรียนแบบออนไลน์
การเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning)
…เป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบอาชีพสอน อาทิ ครู/ อาจารย์ ติวเตอร์ เทรนเนอร์ โค้ช และวิทยากร ฯลฯ สามารถที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการสอนออนไลน์ สามารถสอนนักเรียนได้ทั่วโลก โดยที่คุณไม่ต้องเดินทางไปสอนเอง และเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ จากการสอนในรูปแบบคอร์สออนไลน์ และยังท้าทายการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์อย่างไร ให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังตามสาระสำคัญของรายวิชา…
Using the TPACK Framework for Intentional Technology
http://www.matt-koehler.com/tpack/wp-content/uploads/TPACK-new.png
การเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning) คืออะไร ?
จัดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนในรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นการเรียนใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำการสอน นอกจากนี้ความหมายอีกในหนึ่งยังหมายถึง การเรียนทางไกล
https://sites.google.com/view/veconline/
ความหมาย : การเรียนการสอนออนไลน์ (Online Learning)
การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เป็นการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความชอบของตนเอง ในส่วนของเนื้อหาของเรียน ประกอบด้วย ข้อความ , รูปภาพ , เสียง , VDO และ Multimedia อื่นๆ สิ่งเหล่านี้จะถูกส่งตรงไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser ทั้งผู้เรียน , ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นทุกคน สามารถติดต่อ สื่อสาร ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนทั่วไป โดยการใช้ E-mail, Chat, Social Network เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การเรียนรู้แบบออนไลน์ จึงเป็นเหมาะสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา
ลักษณะสำคัญของการเรียนการสอนแบบออนไลน์
https://sites.google.com/view/veconline/
องค์ประกอบ�Online learning
https://oes.vn/wp-content/uploads/2018/07/5-criteria-for-effective-elearning-content.png
วิธีจัดการการเรียนการสอนออนไลน์
มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกันหลักคือ
ทั้งสองรูปแบบต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน
เครื่องมือ/กิจกรรมออนไลน์
ร่วมกันสรุปเครื่องมือจัดกิจกรรม
วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย �(Lecture Method)
MS Teams : Meet
MS Stream บันทึกวิดีโอ
การบอก เล่า อธิบายเนื้อหาในการเรียนการสอน
กระบวนการฟัง การคิด วางแผน �เพื่อบันทึกและจดจำเนื้อหา
วิธีสอนแบบสาธิต �(Demonstration Method)
MS TEAMS : Meet และ Channel
MS Stream บันทึกวิดีโอ
วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
วิธีสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )
วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ (Practice)
3. การจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน
ออนไลน์
รูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
* จากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายไร้สายบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (วิวัฒน์ มีสุวรรณ)
การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
ต้องให้สอดคล้องกับคุณลักษณะการเรียนรู้
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จากบทเรียนและกิจกรรมได้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม แลกเปลี่ยนข้อมูล สารสนเทศ ประสบการณ์ และพัฒนาทักษะต่าง ๆ
ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกันได้ตลอดเวลา
สนับสนุนการเรียนรู้รายบุคคล ให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการเรียน สามารถเคลื่อนที่จับถือ และพกพาไปในที่ต่าง ๆ ได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การสนับสนุน ความพร้อม ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องมีความพร้อมด้านอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่ตอบสนอง การเรียนรู้ตลอดเวลา สะดวก และรวดเร็ว สามารถเรียนได้จากที่ใด และเวลาใดก็ได้ ทั้งในและนอกห้องเรียน
มีบุคลากรที่มีความรู้ ด้านการจัดการ ควบคุม และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการติดตั้งใช้งาน
การกำหนดบทบาทผู้เรียน
ต้องศึกษาพฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียนและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
สำรวจความพร้อมของผู้เรียนก่อนการเรียนการสอน จะเริ่มขึ้นว่ามีเพียงพอหรือไม่
ผู้สอนต้องทราบพื้นฐาน นำไปสู่การคัดเลือกเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนที่ตรงกับผู้เรียน เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้เนื้อหา ทำกิจกรรมการเรียน ซักถามปัญหา ปรึกษาหารือกับเพื่อน ตอบประเด็นปัญหา และทำแบบทดสอบ โดยใช้แหล่งทรัพยากรสนับสนุนการเรียนต่าง ๆ วัดและประเมินผลความรู้ของตนเอง
การกำหนดบทบาทผู้สอน
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เป็นผู้จัดการสอน
วางแผนเตรียมความพร้อม เอื้ออำนวยความสะดวก
ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ ควบคุมการดำเนินการเรียนการสอน
ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน
กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมการเรียน สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้วิธีเรียน มีเหตุผล
การวิเคราะห์และออกแบบเนื้อหา
1. การกำหนดเนื้อหาบทเรียน ควรแบ่งเนื้อหาให้เป็นหน่วยย่อยที่สุด มีความกระชับและมีปริมาณไม่มาก ต้องถูกย่อยหรือแยกเป็นส่วนๆ ได้ เพื่อความสมบูรณ์ของการเรียนการสอนในแต่ละหน่วย โดยที่ผู้เรียนต้องเข้าใจสารแต่ละส่วนนั้น
2. การกำหนดวิธีการนำเสนอเนื้อหาเป็นแบบผสม (Hybrids) ประกอบด้วย
2.1 การใช้งานแบบ Off-Line คือ การนำข้อมูลต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้ดาวน์โหลดไปเก็บเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมทดสอบ
2.2 การใช้งานแบบ On-Line เป็นการเข้าสู่การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหา ทำกิจกรรม ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียน กับผู้สอน โดยใช้เครื่องมือที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ หรือเข้าสู่แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้จากทุกที่ และข้อมูลมีความทันสมัยตลอดเวลา
3. การพัฒนาบทเรียน ควรออกแบบให้มีความยืดหยุ่น เข้าสู่เนื้อหาได้อย่างสะดวก ให้ผู้เรียนติดตามบทเรียนได้โดยง่าย สามารถเข้าถึงได้อย่างไม่จำกัดทั้งด้านเวลาและสถานที่
การกำหนดวิธีการเรียนหรือกิจกรรมการเรียน
1. กิจกรรมการเตรียมผู้เรียน คือ แจ้งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จัดกิจกรรมการปฐมนิเทศ การอภิปรายแนวทางการเรียนรู้ การฝึกทักษะการใช้เครื่องมือต่าง ๆ อุปกรณ์ โปรแกรม และอินเทอร์เน็ต การทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
2. กิจกรรมการเรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาด้วยตนเอง และควรมีกิจกรรมอภิปรายพูดคุย ปรึกษาหารือ และรับคำแนะนำจากผู้สอนผ่านการประชุมออนไลน์ ถ่ายโอนข้อมูล การค้นหาข้อมูลบนเครือข่าย กิจกรรมแบบฝึกหัด ทบทวนความรู้และความเข้าใจกับบทเรียน และการส่งงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การพัฒนาและเลือกทรัพยากร
การดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่ายไร้สาย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และบทเรียนผ่านเครือข่ายไร้สาย แหล่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเตรียมให้ผู้เรียน �ซึ่งการพัฒนาและเลือกทรัพยากร จะเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม มาเป็นข้อมูลประกอบเพื่อการพัฒนา และเลือกทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
การกำหนดบทบาท
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
บทนำ (Introduction)
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
การเสนอเนื้อหา (Presentation of Information)
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
คำถาม - คำตอบ (Question and Responses)
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
การตรวจคำตอบ (Judging Responses)
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
ลำดับการเรียนบทเรียน (Sequencing Lesson Segments)
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
1. ขั้นก่อนเรียน
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
2. ขั้นระหว่างเรียน
ประกอบด้วย เนื้อหาที่นำเสนอสู่ผู้เรียนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน และให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และให้ผู้เรียนเริ่มศึกษาเนื้อหาจากบทเรียนผ่านเครือข่ายด้วยตนเอง
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
การออกแบบบทเรียนผ่านเครือข่าย
3. ขั้นสรุปและประเมินผลการเรียนรู้
ประกอบด้วย การประเมินผลเป็นแบบรายบุคคล และการประเมินสรุปผลการเรียน โดยเมื่อผู้เรียนเรียนครบทุกเนื้อหาแล้ว ให้ผู้เรียนทุกคนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน และหลังเรียนในแต่ละหน่วยที่ผู้เรียนได้เข้าศึกษา และให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบหลังการเรียนของทั้งบทเรียนผ่านเครือข่ายไร้สายบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล จากนั้นเก็บรวบรวมคะแนนที่ได้จากการทดสอบเพื่อประมวลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การออกแบบบทเรียนในลักษณะเว็บเพจ
ระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด �Hybrid Learning System
ระบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ Hybrid Learning System เป็นระบบที่หลอมรวมเอาข้อดีในการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) และการเรียนรู้ในห้องเรียน (Face-to-Face) เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว โดยเน้นการผสมผสานวิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา และ นักศึกษากับนักศึกษา ผ่านเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานระดับโลก ซึ่งจะช่วยกระตุ้น ให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และได้ใช้กระบวนการคิด (Thinking System) รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น "
ผลการสำรวจด้านอีเลิร์นนิ่งในสมาคมสโลน
จากรายงานของสมาคมสโลน เมื่อพฤศจิกายน 2551 ยืนยันคำจำกัดความของการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ� 📕 ใช้เน็ต 0% แบบโบราณ (Traditional)� 📗 ใช้เน็ต 1-29% แบบใช้เว็บ (Web-Facilitated)� 📘 ใช้เน็ต 30-79% แบบผสม (Blended/Hybrid)� 📙 ใช้เน็ต 80-100% แบบอีเลิร์นนิ่ง (eLearning) / แบบออนไลน์ (Online)
4
การเขียนแผนการเรียนรู้
ออนไลน์
รูปแบบแผนจัดการเรียนรู้
กระบวนสอน/การเรียน
การสอน
การเรียน
นำเข้าสู่บทเรียน
ให้เนื้อหาความรู้
ให้แบบฝึกหัด
ตรวจแบบฝึกหัด
สนใจปัญหา
ศึกษาข้อมูล
พยายามทำ
พิจารณาผล
Motivation
Information
Application
Progress
แผนการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรของอาชีวศึกษา
หลักสูตรปวส. พ.ศ.2563
หลักสูตรปวช. พ.ศ.2562
ตัวอย่างรายวิชาในหลักสูตรของอาชีวศึกษา
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการทำงานของโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร (Word Processing) ในการพิมพ์และตกแต่ง การสร้างตารางข้อมูล การจัดทำเอกสารรูปแบบต่าง ๆ หนังสือราชการ จดหมายธุรกิจ แผ่นพับ เอกสารวิชาการ การสร้างจดหมายเวียน การพิมพ์ซองจดหมาย การพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ การพิมพ์เชิงอรรถ การทำดัชนี การพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์
การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้
2. ผลิตเอกสารโดยใช้โปรแกรมประเภทจัดพิมพ์เอกสาร
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของโปรแกรมจัดพิมพ์เอกสาร
3. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดีในการใช้คอมพิวเตอร์
สมรรถนะรายวิชา
การจัดทำแผนจัดการเรียนรู้
การวิเคราะห์หน่วยการสอน
หน่วยการเรียนรู้
การวิเคราะห์หลักสูตรบูรณาการ
การวัดผลและประเมินผล
แบบประเมินตามสภาพจริง
เกณฑ์การประเมินแบบรูบริค (Rubric)
ระดับคะแนน เกณฑ์ | 4 | 3 | 2 | 1 | คะแนน |
การปฏิบัติงาน | ทำงานบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ | ทำงานตามขั้นตอนแต่ยังไม่สมบูรณ์ | ทำงานตามขั้นตอนแต่ตัองแก้ไข | ทำงานไม่ตามขั้นตอน และต้องปรับปรุง |
|
การนำเสนอ | นำเสนอได้อย่างสมบูรณ์แบบ | นำเสนอได้ดีแต่ไม่สมบูรณ์ | นำเสนอดีแต่ต้องแก้ไข | ยังต้องปรับปรุง |
|
|
|
|
| คะแนนรวม |
|
การประเมินการปฏิบัติงานโครงงาน
ลำดับ | ขั้นตอนการทำโครงงาน | เกณฑ์ประเมิน | ผลการประเมิน |
1. | การเตรียมความพร้อมโครงงาน | 20 |
|
2. | การเสนอหัวข้อโครงงาน | 10 |
|
3. | การจัดทำโครงงาน | 20 |
|
4. | การนำเสนอโครงงาน | 10 |
|
5. | การปรับปรุงแก้ไข | 10 |
|
6. | การประเมินตามสภาพจริง | 30 |
|
รวม | 100 |
|
แบบประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม
ข้อที่ |
รายการประเมิน | คะแนน |
หมายเหตุ | ||
3 | 2 | 1 | |||
1 2 3 4 5 | การมีส่วนร่วมของสมาชิก การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การประเมินและปรับปรุงงาน ……………………….. |
|
|
|
|
รวม |
|
|
|
|
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
ข้อที่ |
รายการประเมิน | คะแนน |
หมายเหตุ | ||
3 | 2 | 1 | |||
1 2 3 4 5 6 7 | การเตรียมความพร้อม เนื้อหาสาระ รูปแบบการนำเสนอ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม การรักษาเวลา ความสนใจของผู้ฟัง . |
|
|
|
|
รวม |
|
|
|
|
แบบประเมินผลงาน
ข้อที่ |
รายการประเมิน | คะแนน |
หมายเหตุ | ||
3 | 2 | 1 | |||
1 2 3 4 5 | ความถูกต้องของเนื้อหา ความประณีตสวยงาม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สาระประโยชน์ ………………………………. |
|
|
|
|
รวม |
|
|
|
|
แบบประเมินภาคปฏิบัติ
แบบประเมินภาคปฏิบัติ (ต่อ)
บุญเกื้อควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ภาควิชา
เทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2545.
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีทางการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2540.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. คำบรรยายวิชาบทเรียนสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2532
อ้างอิง
สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
สังกัด : โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์
ผู้พัฒนา : 596150499 ยุทธนา พันธ์มี
สาขาวิชา : นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ภูมิลำเนา : ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร
โทรศัพท์ : 08-9267-8222
E-MAIL : NONG.TANA@HOTMAIL.COM
FACEBOOK : HTTP://WWW.FACEBOOK.COM/YUTTHANA.EDU
เรียบเรียง