เครื่องมือยึดตรึง และวัสดุยึดตรึง
ึีชื่อ นางสาวอมรรัตน์ วิรังษา
ม.5/8เลขที่ 24
ง30272
ช่างไม้ครุภัณฑ์
เสนอ
ครู เด่นชัย ไวยวรรณ์
โรงเรียนนาจะหลวยสพม.29
ปากกาอัดไม้
ปากกาอัดไม้หรือแม่แรงอัดไม้ เป็นปากกาจับชิ้นงานที่ใช้สำหรับในการอัดไม้เข้าหากันให้แน่น เช่น การอัดพื้น อัดไม้แผ่น อัดประกอบชิ้นงาน มีขนาดความยาวติดเป็นเมตร เช่น 1 เมตร 0.50 เมตร 2.00 เมตร เป็นต้น
วีดีโอ
ปากกาจับยึด
ปากกาจับยึด ในงานไม้ มีอยู่หลากหลายแบบแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน เช่น
2.1 ปากกาหัวโต๊ะ เป็นปากกาที่ยึดแน่นอยู่กับด้านข้างหัวโต๊ะใช้งาน ใช้สำหรับจับไม้ในการตัด
แคลมป์
แคลมป์(C,F,G แคลมป์) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับช่วยในการจับยึดชิ้นงานมีขนาดต่างกันไป ระยะตั้งแต่ 3 นิ้วจนมากกว่า 12 นิ้ว งานไม้มักใช้แคลมป์มาเป็นตัวช่วยยึดในระหว่างการตั้งเครื่อง การตั้งรั้ว การเข้ามุม ฯลฯ เป็นต้น
ภาพแสดง C-clamp
ตะปูคอนกรีต
ตะปูคอนกรีตใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ตะปูตอกแบบหัว 2 ชั้น ใช้กับงานตอกแบบ ไม้อัด ไม้กระดาน แบบพลาสติก ฯลฯ
ตะปูตอกคอนกรีต ใช้งานตอกคอนกรีตโดยทั่วไป เหมาะกับงานคอนกรีตทุกประเภท
ปากกาตัวซี
ปากกาตัวซี ทั่วไปนั้นปรับความกว้างได้ช้าก็จริงแต่มันยังคงเป็นทางเลือกที่มั่นใจได้เสมอ กับงานที่ไม่มีความกว้างมากนัก รุ่น 5 นิ้วในภาพราคาอยู่ที่ $10.50 แต่สำหรับปากกาตัวซี ที่ออกแบบมาโดย Porta – Vise นั้นยอดเยี่ยมมาก มีแกนที่ไม่หมุนตาม พร้อมทั้งแผ่นรองปากจับที่ให้การบีบอัดที่แม่นยำ และด้ามหมุนนั้นสามารถถอดออกให้ใช้ประแจขันได้แน่น แบบอะลูมิเนียม ขนาด 6 นิ้ว
ปากกาหัวโต๊ะ
ปากกาจับชิ้นงาน ( Bench Vise ) หรือที่ใครหลาย ๆ คนอาจจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ปากกาจับงาน เป็นเครื่องมือช่างชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับประกอบหรือใช้สำหรับการทำงาน โดยใช้จับ ยึด บีบ อัด ชิ้นงานให้แน่นเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานอื่น ๆ เช่น ใช้จับไม้ โลหะ พลาสติก ฯลฯ เพื่อใช้ในการการตัด ตัดเจาะ ตอก ขัด ตีดัด หรือตะไบ เป็นต้น ปากกาจับชิ้นงานมีหลายชนิด
ปากกาไม้เกลียวคู่
สำหรับงานประกอบแผงที่กว้างมาก ๆ หรือกับการประกอบตู้ ช่างไม้ทั่วไปจะนิยมใช้แม่แรงแบบแท่งแกนยาวหรือแบบท่อแทนแม่แรงสำหรับงานหนักจะมีแท่งโลหะยาวทำจากเหล็กกล้าหรืออะลูมิเนียม และมีปากจับด้านแกนหมุนเกลียวยึดติดเข้ากับปลายแท่งด้านใดด้านหนึ่ง และปากจับด้านที่เลื่อนไปมาได้จะขัดตัวแน่นกับแท่งแกนเลื่อนเมื่อได้รับแรงอัด รุ่นที่เป็นแกนเหล็กไอบีมที่เรานำมาให้ดู มีตั้งแต่ขนาดความยาว 36, 48 จนถึงขนาด 60 นิ้ว
การตอกตะปู มีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้
2.1 พิจารณาวัตถุที่จะทำการตรึงหรือตอกว่า เป็นวัสดุอะไร เช่น ไม้และคอนกรีต
2.2 เลือกตะปูให้เหมาะสมกับงาน เช่น ยาวเพียงพอกับความหนาของไม้ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป เพราะอาจทำให้ไม้แตก
2.3 ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็งรัง ไม้แดง ไม้ประดู่ ควรเจาะนำร่องเล็กน้อยเสียก่อน
2.3 ก่อนใช้ค้อนต้องตรวจดูว่าหัวค้อนกับด้ามจับสวมกันแน่นหรือไม่ โดยการใช้มือข้างหนึ่งจับหัวค้อนและอีกข้างหนึ่งจับด้ามค้อนบิดทดสอบดู
2.4 ใช้มือที่ถนัดจับด้ามค้อน นิ้วก้อยอยู่ห่างจากปลายด้ามประมาณ 25 เซนติเมตร
2.5 ตาจับอยู่ชิ้นงาน
2.6 การตอกตะปูเริ่มแรก หัวค้อนควรวางไว้ที่หัวตะปู และให้ด้ามค้อนทำมุม 90 องศากับตะปู
2.7 ควรตอกตะปูเบา ๆ กับชิ้นงานก่อน เพื่อเป็นการตอกนำ เพื่อยึดตะปูให้แน่น ก่อนที่จะลงมือตอกอย่างแรง
ค้อนหงอน เป็นค้อนที่นิยมใช้ตามบ้านทั่วไป
มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัวค้อนและด้ามค้อน
ส่วนมากใช้กับงานช่างไม้ ในการจับยึดแน่นด้วยตะปู
จึงมีทั้งการตอกและถอนตะปูอยู่เสมอ ค้อนหงอนจึง
ทำหน้าที่ทั้งตอกและถอนตะปู การจับค้อนที่ถูกวิธี
ควรจับตรงปลายของด้ามค้อน และเหวี่ยงน้ำหนักให้พอเหมาะ
ตะปูจะได้ไม่คดงอ