1 of 15

บทที่ 4

การสื่อสารทางโทรศัพท์

2 of 15

4.1 หลักการทำงานเบื้องต้นของโทรศัพท์

โทรศัพท์ เป็นระบบสื่อสารที่ใช้สายไฟฟ้าในการต่อเชื่อมระบบเข้าด้วยกัน โดยถูกพัฒนามาจากโทรเลข ด้วยการใช้ไมโครโฟน (Microphone) แทนสวิตช์เคาะ (Key Switch) หรือแป้นพิมพ์ของโทรเลข ใช้ลำโพง (Loudspeaker) ตัวเล็กเป็นหูฟังแทนซาวเดอร์ (Sounder) หรือกลไกพิมพ์อักษร การติดต่อสื่อสารถึงกันโดยใช้สัญญาณเสียงส่งออกไปจากด้านส่ง แปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เดินทางผ่านไปตามสายส่งสัญญาณ ถึงด้านรับทำการแปลงกลับจากสัญญาณ ไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียงตามเดิม

3 of 15

4.1 หลักการทำงานเบื้องต้นของโทรศัพท์ (ต่อ)

โครงสร้างวงจรโทรศัพท์เบื้องต้น

4 of 15

4.1 หลักการทำงานเบื้องต้นของโทรศัพท์ (ต่อ)

การทำงานของโทรศัพท์ เมื่อต้องการติดต่อสื่อสารถึงกัน จะต้องต่อแบตเตอรี่จ่ายแรงดันไฟฟ้าเลี้ยงระบบโทรศัพท์วงจรโทรศัพท์ก็สามารถสนทนากันได้ ระบบโทรศัพท์ (Telephone System) แบบใช้สายไฟฟ้า มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญของระบบแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ตัวเครื่องโทรศัพท์ที่ติดตั้งอยู่ตามบ้านผู้ใช้งานซึ่งเรียกว่า ผู้เช่า (Subscriber) ชุมสายโทรศัพท์ (Telephone Exchange) และสายโทรศัพท์ (สายไฟฟ้า) ใช้เชื่อมโยงวงจรเข้าด้วยกัน

5 of 15

4.2 เครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ

เครื่องโทรศัพท์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของระบบโทรศัพท์ เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งานโดยตรง เครื่องโทรศัพท์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่หลายลักษณะ หลายรูปร่าง หลายขนาด และหลายราคา มีทั้งรูปทรงทันสมัย หรือรูปแบบทรงโบราณ บางรุ่นอาจเพิ่มหน่วยความจำช่วยจำข้อมูล หรือบันทึกเสียงเก็บไว้ หรือมีปุ่มอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญหลักของเครื่องโทรศัพท์ทุกเครื่องที่ถูกนำไปใช้งานจะเหมือนกัน คือใช้เพื่อสนทนาสื่อสารกันเท่านั้น

(ก) แบบหน้าปัดชนิดหมุน (ข) แบบหน้าปัดชนิดกดปุ่ม (ค) แบบหน้าปัดชนิดอำนวยความสะดวก

6 of 15

4.2 เครื่องโทรศัพท์และส่วนประกอบ (ต่อ)

ถึงแม้ว่าเครื่องโทรศัพท์จะมีหลากหลายลักษณะและรูปแบบ แต่เครื่องโทรศัพท์ทั้งหมดจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญสำหรับใช้ในการทำงานเหมือนกัน โครงสร้างและส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องโทรศัพท์

(ก) แบบหน้าปัดชนิดหมุน (ข) แบบหน้าปัดชนิดกดปุ่ม

7 of 15

4.3 เครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข

เมื่อต้องการใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้จะต้องยกชุดปากพูดหูฟัง (แฮนด์เซต) ขึ้นมา หมุนหมายเลขที่ต้องติดต่อให้ครบทุกตัวเลข การหมุนหมายเลขโทรศัพท์แต่ละตัวเครื่องโทรศัพท์จะให้กำเนิดสัญญาณพัลส์ (Pulse Signal) ขึ้นมา มีจำนวนพัลส์เท่ากับตัวเลขที่หมุน เช่น หมุนหมายเลข "1" เกิดพัลส์ 1 ลูก เป็นต้น

เป็นโทรศัพท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใช้งานในสมัยเริ่มแรกแป้นหน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์จะประกอบด้วยจานหมุนวงกลม ภายในจานหมุนจะถูกเจาะเป็นวงกลมเล็กๆ รอบจาน 10 วง แต่ละวงกลมเล็กมีหมายเลขกำกับไว้ตั้งแต่เลข 0 – 9 เพื่อใช้สำหรับหมุนหมายเลขตามต้องการ ทำการเชื่อมต่อเลขหมายโทรศัพท์ที่ต้องการสนทนาด้วย

8 of 15

4.3 เครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข (ต่อ)

สัญญาณพัลส์ที่เกิดจากการหมุนหมายเลขโทรศัพท์

9 of 15

4.3 เครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข (ต่อ)

สัญญาณพัลส์ที่แทนหมายเลขโทรศัพท์แต่ละตัวที่ถูกส่งออกไป จะต่อเรียงลำดับกันไป และถูกคั่นด้วยช่องว่างของการต่อเชื่อมแต่ละหมายเลข เพื่อทำให้ชุมสายโทรศัพท์สามารถแยกพัลส์แต่ละหมายเลขออกจากกันได้อย่างถูกต้อง ช่วงช่องว่างพัลส์คั่นหมายเลขพัลส์แต่ละหมายเลขมีช่วงเวลา 0.5 s โดยทุกๆ หมายเลขพัลส์ที่ส่งออกไปจะต้องมีช่องว่างพัลส์เวลา 0.5 s คั่นไว้เสมอ

10 of 15

4.3 เครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข (ต่อ)

เวลาที่ใช้ในการส่งสัญญาณหมายเลขโทรศัพท์ออกไปในรูปสัญญาณพัลส์ จะมีเวลาในการส่งสัญญาณไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนพัลส์ที่แทนแต่ละหมายเลข รวมกับช่องว่างพัลส์ที่คั่นหมายเลข แสดงให้เห็นดังตัวอย่าง

●หมุนหมายเลข 0 2 1 ใช้เวลารวม = 1.0 + 0.5 + 0.2 + 0.5 + 0.1 = 2.3 วินาที

●หมุนหมายเลข 0 2 5 ใช้เวลารวม = 1.0 + 0.5 + 0.2 + 0.5 + 0.5 = 2.7 วินาที

●หมุนหมายเลข 0 2 8 ใช้เวลารวม = 1.0 + 0.5 + 0.2 + 0.5 + 0.8 = 3.0 วินาที

11 of 15

4.3 เครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข (ต่อ)

วงจรภายในเครื่องโทรศัพท์แบบหมุนหมายเลข

12 of 15

4.4 เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มหมายเลข

เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มหมายเลข เป็นเครื่องโทรศัพท์ที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานแทนแบบหมุนหมายเลข เพื่อให้เหมาะสมกับระบบชุมสายโทรศัพท์แบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น หน้าปัดของเครื่องโทรศัพท์จะประกอบด้วยปุ่มกดมีทั้งสิ้น 12 ปุ่ม แบ่งเป็นปุ่มตัวเลขมีหมายเลขกำกับไว้ตั้งแต่เลข 0 – 9 เพื่อใช้สำหรับกดหมายเลขตามต้องการ เพื่อเชื่อมต่อเลขหมายโทรศัพท์ต้องการสนทนาด้วย และมีปุ่มเครื่องหมายดอกจัน (*) และเครื่องหมายสี่เหลี่ยม (#) เพิ่มเข้ามา เพื่อใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ

13 of 15

4.4 เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มหมายเลข (ต่อ)

ความถี่เสียงที่ถูกกำเนิดขึ้นมาจากการกดปุ่มหมายเลขแต่ละหมายเลข จะมีความถี่เสียงกำเนิดขึ้นมา 2 ความถี่แตกต่างกันนำมาผสมกัน เป็นความถี่เสียงที่แตกต่างกันของแต่ละหมายเลข ความถี่เสียงที่ใช้งานมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความถี่สูง และกลุ่มความถี่ต่ำ

14 of 15

4.4 เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มหมายเลข (ต่อ)

การกดหมายเลขโทรศัพท์แต่ละหมายเลข ส่งผลให้เครื่องโทรศัพท์ให้กำเนิดชุดความถี่ขึ้นมาแตกต่างกัน 2 ความถี่เสมอ เช่น กดหมายเลข “1” เครื่องโทรศัพท์ให้กำเนิดความถี่ออกมา คือ 697 Hz และ 1209 Hz กดหมายเลข “5” เครื่องโทรศัพท์ให้กำเนิดความถี่ออกมา คือ 770 Hz และ 1336 Hz เป็นต้น

15 of 15

4.4 เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มหมายเลข (ต่อ)

ข้อดีของโทรศัพท์ชนิดกำเนิดสัญญาณเสียงสองความถี่ (DTMF) คือ

1. ลดเวลาในการต่อเลขหมายโทรศัพท์ลงได้ ทำให้ชุมสายโทรศัพท์สามารถให้บริการติดต่อโทรศัพท์ได้จำนวนครั้งมากขึ้น

2. ใช้วงจรทำงานเป็นอุปกรณ์จำพวกสารกึ่งตัวนำอิเล็กทรอนิกส์ แทนที่อุปกรณ์เครื่องกล ทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็ว และมีความแม่นยำในการต่อเลขหมายปลายทาง

3. สามารถเพิ่มปุ่มกดใช้งานได้มากขึ้น เพื่อใช้ในการทำงานกับคำสั่งพิเศษ หรือบริการเสริมพิเศษอื่นๆ

4. มีความเหมาะสมในการใช้งานกับชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ