การทอผ้า
โดย
ชั้น ม.6/9
ประวัติการทอผ้า
การทอผ้านับเป็นหัตถกรรมอย่างหนึ่งที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ก่อนสมัย สุโขทัย เป็นราชธานี สันนิษฐานจากประวัติศาสตร์ไทยได้กล่าวไว้ จากหลักฐานการ�แต่งกายของพระมหากษัตริย์ เจ้านาย ข้าราชการ คหบดี ในสมัยนั้นและ ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องการส่งส่วย มักกล่าวว่า "ส่งผ้าทอเป็นมัด น้ำผึ้ง ไม้หอม" และอื่น ๆ เป็นเครื่องราชบรรณาการ
การทอผ้านับว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เป็นช่างทอจะต้องมีความสามารถในการใช้สีของเส้นด้ายประกอบกันให้เกิดความสวยงามเหมาะสม และการแต่งแต้มสีทำให้เกิด�ลวดลาย การย้อม โดยเฉพาะผ้าที่เรียกว่า "ผ้ามัดหมี่" หากผู้ใดได้จับชมแล้วยากที่จะ�วางลงได้
ความสำคัญของผ้าทอพื้นเมือง
ผ้าทอเป็นสื่อสัญลักษณ์ของคนในแต่ละชุมชน แสดงถึงเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ และความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผ้าทอยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่แก่จนถึงตาย และมีบทบาทสำคัญทั้งในแง่เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม การทอผ้าเริ่มจากการสาน มนุษย์เริ่มสานต้นหญ้าอ่อนเพื่อใช้ใส่วัสดุสิ่งของ และต่อมากลายเป็นเสื่อและตะกร้า และพัฒนามาเป็นวิธีการต่อต้นพืชเพื่อเป็นเส้นที่ยาวและทำให้เหนียวขึ้น สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น จนกระทั่งมีการคิดค้นวัสดุการทอจากพืชมาเป็นเส้นใย เช่น ฝ้าย รู้จักวิธีการทออย่างง่าย คือการนำฝ้ายมาผูกกับหินเป็นเส้นยืน และใช้เส้นพุ่งเข้าไปเวลาทอ ในอดีตเด็กผู้หญิงทุกคนจะถูกฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้า และเย็บปัก ถ้กร้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ในชุมชนภาคเหนือ ผ้าทอยังคงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรม นอกจากบทบาททางการค้า ยังมีการใช้ผ้าในประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ
วิธีการอนุรักษ์การทอผ้าไหม
1.ให้ความรู้เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงในตัวบุคคลในที่นี้หมายถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผ้าทอบ้านหนองเงือกในด้านต่างๆ เช่น ความงดงาม ประโยชน์ใช้สอย ความทนทาน และการเป็นสิ่งที่แสดงของเอกลักษณ์ของชาวเมืองอุบล ที่ควรภาคภูมิใจ การให้ความรู้
2. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากรัฐบาลมีภารกิจในการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ มากมาย ผ้าทอก็นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเอกลักษณ์ประจำชาติหรือท้องถิ่นที่รัฐควรให้ความสนใจ การสนับสนุนจากรัฐอาจทำได้ดังนี้
ขอบคุณครับ/ค่ะ