ภาษาบาลี-สันสกฤต
ภาษาไทยได้รับภาษาบาลี – สันสกฤต
เข้ามาทางศาสนาพุทธ
ศาสนาพราหมณ์และวัฒนธรรม
มีลักษณะพอสังเกตดังนี้
ลักษณะคำไทยที่มาจาก
ภาษาบาลี - สันสกฤต
วรรค ฐานที่เกิด | แถวที่๑ | แถวที่๒ | แถวที่๓ | แถวที่๔ | แถวที่๕ |
วรรค กะ กัณฐชะ (คอ) | ก | ข | ค | ฆ | ง |
วรรค จะ ตาลุชะ (เพดาน) | จ | ฉ | ช | ฌ | ญ |
วรรค ฏะ มุทธชะ (ปุ่มเหงือก) | ฏ | ฐ | ฑ | ฒ | ณ |
วรรค ตะ ทันตชะ (ฟัน) | ต | ถ | ท | ธ | น |
วรรค ปะ โอษฐชะ (ริมฝีปาก) | ป | ผ | พ | ภ | ม |
เศษวรรคมี ๘ ตัว ย,ร,ล,ว,ส,ห,ฬ,
อํ (นฤคหิต)
สันสกฤตเพิ่ม ศ ษ
หลักสังเกตคำบาลี - สันสกฤต
คำบาลี | คำสันสฤต |
๑.ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอโอ ดังนั้นคำที่เขียนด้วย สระเหล่านี้และไม่ใช่คำไทยแท้ จัดเป็น คำที่มาจากภาษาบาลี เช่น บิดา กรณีย์ บูชา เมตตา บุญ คารวะ รังสี | ๑.สระสันสฤตมี ๑๔ ตัวคือเพิ่มจากบาลี ๖ ตัว คือ ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา เช่น ไมตรี เสาร์ คฤหาสน์ ไพโรจน์ ฤดู ฤาษี ไปรษณีย์ หฤทัย |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๒.พยัญชนะบาลีมี ๓๓ ตัว แบ่งเป็น ๕ วรรค วรรคละ ๕ ตัว กับเศษวรรคอีก ๘ ตัว | ๒.พยัญชนะสันสกฤตมี ๓๕ ตัว แบ่งเป็นวรรคเช่นเดียวกับบาลี และเพิ่มพยัญชนะ ศ ษ เข้าที่เศษวรรค |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๓.คำบาลีเมื่อใช้ในภาษาไทยไม่มี รร (รอหัน) | ๓.มีตัว รฺ (เรผะ) เมื่อใช้ในภาษาไทย จะเป็น รร เช่น ธรฺม = ธรรมดา กรฺม = กรรม วรฺษา = พรรษา สรฺพ = สรรพ สวรฺค = สวรรค์ จรฺยา = จรรยา |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๔.คำบาลีไม่นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ เช่น ปฐม มนต์ ยนต์ สัจ อาทิจ | ๔.นิยมใช้พยัญชนะควบกล้ำ เช่น จักร สมัคร อินทร์ สตรี ปราชญ์ นิทรา ประถม มนตร์ ยนต์ สัตย์ อาทิตย์ |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๕.นิยมใช้ ฬ เช่น กีฬา วิฬาร โอฬาร มโหฬาร ครุฬ จุฬา | ๕.นิยมใช้ ฑ เช่น กรีฑา ครุฑ จุฑา บัณฑิต ไพฑูรย์ |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๖.ตัวสะกดจะต้องมีตัวตามที่แน่นอน ตามกฏดังนี้ | ๖.ไม่มีหลักเกณฑ์ตัวสะกดแน่นอน เช่น |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๖.๑พยัญชนะวรรคแถวที่๑ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่๑ หรือ๒ ในวรรคนั้นตามได้เช่น เมตตา บุปผา สัจจะมัจฉา สักขี ปัจจัย วัตถุ ทุกข์ วินิจฉัย | ๖.๑แถวที่๓ สะกด แถวที่๕ ตามก็ได้ เช่น ปรัชญา ปราชญ์ อาชญา |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๖.๒พยัญชนะวรรคแถวที่๓ สะกด พยัญชนะวรรคแถวที่๓ หรือ ๔ ตามได้ เช่น อัคคี สิทธิ บุคคล สามัคคี ทัพพี วิชา (วิชชา) นิพพาน วุฒ (วุฑฒิ) รัชกาล (รัชชกาล) | ๖.๒ตัวสะกดกับตัวตามต่างวรรคกันก็ได้ เช่น มุกดา ศักดิ์ พัสดุ สัปดาห์ ปริศนา อัคนี อาตมา |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๖.๓พยัญชนะวรรคแถวที่๕ สะกด พยัญชนะทุกตัวในวรรคนั้นตามได้ ยกเว้นตัว ง เช่น พิมพ์ กังขา ศานติ วงกต สันติ สัมปทาน คัมภีร์ ปัญญา อัญชลี อังคาร สงฆ์ สัญฉกร สัญญา ปริญญา บัญญัติ โองการ เบญจ วันทนา กัณฑ์ | ๖.๓เดินตามหลักตัวสะกดบาลีบ้าง เช่น ศานติ |
คำบาลี | คำสันสฤต |
๖.๔พยัญชนะเศษวรรคเป็นตัวสะกดได้ ในเมื่อตัวเองตาม เช่น อัยยิกา วัลลภ อัสสาสะ | ๖.๔เมื่อมีตัวสะกดอาจไม่มีตัวตามได้ เช่น กริน มนัส พนัส |
คำบาลี | คำสันสฤต |
| ๗.คำว่า “เคราะห์” มีในภาษาสันสกฤต เช่น วิเคราะห์ สังเคราะห์ สงเคราะห์ อนุเคราะห์ |
คำบาลี | คำสันสฤต |
| ๘.คำที่มาจากภาษาสันสกฤตหากใช้ ส จะใช้กับพยัญชนะ วรรค ตะ เช่น พัสดุ ภัสดา สถาน สตรี สวัสดี |
คำบาลี | คำสันสฤต |
| ๙.สันสกฤตมักใช้ ณ ตามหลัง ร เช่น นารายณ์ ประฌม พราหมณ์ ประณาม |
แบบฝึกหัดเรื่องภาษาบาลี - สันสกฤต
๑. สระในข้อใดบ้างที่อยู่ในภาษาบาลี
ก. อะ อา อิ อี ข. ไอ เอา
ค. ฤ ฤา ง. ฦ ฦา
คำตอบข้อ ๑
ข้อ ก. อะ อา อิ อี
คำอธิบาย
ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ดังนั้น
คำที่เขียนด้วยสระเหล่านี้และไม่ใช่คำไทยแท้ จัดเป็นคำที่
มาจากภาษาบาลี
๒. พยัญชนะบาลีมีกี่ตัว แบ่งเป็นกี่วรรค
ก. ๓๓ ตัว ๔ วรรค ข. ๓๓ ตัว ๕ วรรค
ค. ๓๔ ตัว ๔ วรรค ง. ๓๔ ตัว ๕ วรรค
คำตอบข้อ ๒
ข้อ ข. ๓๓ ตัว ๕ วรรค
คำอธิบาย
พยัญชนะบาลีประกอบด้วยพยัญชนะ ๓๓ ตัว
แบ่งเป็น ๕ วรรควรรคละ ๕ ตัว กับเศษวรรคอีก ๘ ตัว
๓. สระในภาษาสันสกฤตมี ๑๔ ตัว และเพิ่มจากบาลีเป็นจำนวนกี่ตัว อะไรบ้าง
ก. ๔ ตัว ฤ ฤา ฦ ฦา
ข. ๕ ตัว อุ อู เอ โอ เอา
ค. ๖ ตัว ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา
ง. ๗ ตัว ฤ ฤา ฦ ฦา เอ ไอ เอา
คำตอบข้อ ๓
ข้อ ค. ๖ ตัว ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา
คำอธิบาย
ภาษาบาลีมีสระ ๘ ตัว ส่วนสระในภาษาสันสกฤตมี
๑๔ ตัว เพิ่มมาจากบาลี ๖ ตัว คือ ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา
๔. ตัว รฺ เรียกว่าอะไร เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็นอะไร
ก. เรียกว่า “เรละ” เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น “ละ”
ข. เรียกว่า “เรสะ” เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น “สะ”
ค. เรียกว่า “เรยะ” เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น “ยะ”
ง. เรียกว่า “เรผะ” เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น “รร”
คำตอบข้อ ๔
ข้อ ง. เรียกว่า “เรผะ” เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น “รร”
คำอธิบาย
ตัว รฺ (เรผะ) เมื่อใช้ในภาษาไทยจะเป็น รร เช่น
ธรฺม = ธรรมดา เป็นต้น
๕. คำว่า “ปริศนา” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๖. คำว่า “มัคคุเทศก์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๗. คำว่า “ไมตรี” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๘. คำว่า “สัจจะ” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๙. คำว่า “โองการ” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๑๐. คำว่า “ศานติ” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๑. คำว่า “มหัศจรรย์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๒. คำว่า “มรรยาท” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๓. คำว่า “สงฆ์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๔. คำว่า “ปราชญ์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๕. คำว่า “สวรรค์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๖. คำว่า “มนตร์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำสันสกฤต
๑๗. คำว่า “เทวินทร์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๑๘. คำว่า “ฉิมพลี” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๑๙. คำว่า “กัณฑ์” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี
๒๐. คำว่า “อิทธิพล” เป็นคำบาลีหรือสันสกฤต
คำบาลี