1 of 19

การเดินสายร้อยท่อ

นาย.ณาศิส เลิศตระกูล

2 of 19

ชนิดของท่อ

1. ท่อโลหะหนา ( Rigid Metal Conduit ) R.M.C

2. ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit ) I.M.C

3. ท่อโลหะบาง ( Electrical Metallic Tubing ) E.M.T

4. ท่อโลหะอ่อน ( Flexible Metallic Conduit )

5. ท่ออโลหะแข็ง ( Rigid Nonmetallic Conduit )

3 of 19

การใช้งาน

ท่อโลหะหนา ท่อโลหะหนาปานกลาง และท่อโลหะบาง เป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ความหนาของผนังท่อเพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน ท่อชนิดโลหะหนาเป็นท่อที่มีความมากที่สุดทั้งท่อโลหะหนาและท่อโลหะหนาปานกลางเป็นท่อทำเกลียวได้ทั้งคู่ และมีลักษณะการใช้งานที่สามารถทดแทนกันได้ ข้อกำหนดการใช้งานและการติดตั้งท่อทั้งสามชนิดมีดังนี้

4 of 19

ขนาดของท่อ

ขนาดของท่อที่ผลิตใช้งานและเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า ฯ เป็นดังนี้

ขนาดเล็กสุด ท่อต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 12 มม. ( ½ นิ้ว ) ขนาดใหญ่สุด ท่อโลหะบาง และท่อโลหะหนาปานกลาง ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุดไม่เกิน 100 มม. ( 4 นิ้ว) ถ้าเป็นท่อโลหะหนาต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุด ไม่เกิน 150 มม. ( 6 นิ้ว )

5 of 19

จำนวนสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า จำนวนสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายไฟฟ้าต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ ตามตารางที่ 3.7

พื้นที่หน้าตัดตัวนำ ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่หน้าตัดท่อ

พื้นที่หน้าตัดตัวนำรวมฉนวนห่อหุ้ม ไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่หน้าตัดท่อ

6 of 19

ตารางพื้นที่หน้าตัดท่อร้อยสาย

7 of 19

ตารางการติดตั้งสายและท่อ

8 of 19

การต่อสาย

การต่อสาย ให้ต่อได้เฉพาะในกล่องต่อสาย หรือกล่องต่อจุดไฟฟ้าที่สามารถเปิดออกได้สะดวก ปริมาณของสายและฉนวนรวมทั้งหัวต่อสายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 75 % ของปริมาตรภายในกล่องต่อสาย หรือกล่องต่อจุดไฟฟ้า

การติดตั้งท่อร้อยสายเข้ากับกล่องต่อสายหรือเครื่องประกอบการเดินท่อ การเดินท่อต้องมีบุชชิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ฉนวนหุ้มสายชำรุด นอกเสียจากว่ากล่องต่อสายหรือเครื่องประกอบการเดินท่อได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของฉนวนไว้แล้ว

9 of 19

ท่อโลหะบางห้ามทำเกลียว เพราะการทำเกลียวจะทำให้ท่อขาดได้

มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360 องศา เพราะอาจดึงสายไม่เข้าหรือดึงเข้าไปได้ก็จะดึงสายออกมาไม่ได้ เป็นผลให้การบำรุงรักษารักษาทำได้ยากหรือทำไม่ได้

ห้ามใช้ท่อโลหะบางฝังดินโดยตรง หรือใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูง หรือที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหลังการติดตั้งได้

10 of 19

ท่อโลหะอ่อน

11 of 19

ปกตินิยมเดินเข้าเครื่องจักรหรือโคมไฟฟ้าเนื่องจากสามารถโค้งงอได้สะดวกตามความต้องการใช้งาน และยังใช้งานได้ดีกับเครื่องจักรที่มีอาการสั่นสะเทือน จึงนิยมใช้งานในช่วงความยาวสั้น ๆ ตรงจุดที่ต่อท่อเข้าเครื่องจักร แต่เนื่องจากเป็นท่อที่ไม่กันน้ำในการใช้งานจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเป็นสำคัญ มีข้อกำหนดที่สำคัญดังต่อไปนี้

การใช้งาน ท่อชนิดนี้ให้ใช้ในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้ และเพื่อป้องกันสายจากความเสียหายทางกายภาพ หรือเพื่อการเดินซ่อนสาย

12 of 19

ท่อโลหะอ่อนห้ามใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

1. ในปล่องลิฟต์หรือปล่องขนของ

2. ในห้องแบตเตอรี่ เพราะอาจผุกร่อนได้เนื่องจากไอกรด

3. ในสถานที่อันตราย นอกจากระบุไว้เป็นอย่างอื่น

4. ฝังดิน หรือฝังในคอนกรีต

5. ในสถานที่เปียก นอกจากจะใช้สายไฟชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการติดตั้ง และในการติดตั้งท่อโลหะอ่อนต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในช่องเดินสายที่ท่อโลหะอ่อนนี้ตั้งอยู่

6. ท่อโลหะอ่อนที่มีขนาดเล็กกว่า 12 มม. ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบติดมากับกับขั้วหลอดไฟฟ้าและมีความยาวไม่เกิน 1.80 ม.

13 of 19

ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว

ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว ต่างจากท่อโลหะอ่อนทั่วไปตรงที่ท่อห่อหุ้มด้วยสารพีวีซี หรือ พีอี อีกชั้นหนึ่งเพื่อกันของเหลวหรือน้ำ แต่เนื่องจากสารที่หุ้มนี้จะมีอุณหภูมิใช้งานอยู่ค่าหนึ่ง ในการใช้งานจึงต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิโดยรอบ หรืออุณหภูมิใช้งานของสายไฟฟ้าสูงเกินอุณหภูมิใช้งานของท่อ เช่นท่อที่มีอุณหภูมิ 70 c จะนำไปใช้ร้อยสายไฟฟ้าชนิดซีวีที่มีอุณหภูมิใช้งาน 90 c ไม่ได้แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องลดขนาดกระแสลงมาให้อุณหภูมิที่สายไม่เกิน 70 c

14 of 19

การใช้งาน ท่อชนิดนี้ใช้ในที่ซึ่งสภาพการติดตั้ง การใช้งานและบำรุงรักษาต้องการความอ่อนตัวของท่อหรือเพื่อป้องกันของแข็ง ของเหลว หรือไอ หรือในสถานที่อันตราย

ห้ามใช้ ท่อโลหะอ่อนกันของเหลวห้ามใช้ในที่ซึ่งอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพ และที่ซึ่งอุณหภูมิของสายและอุณหภูมิโดยรอบสูงเกินจนทำให้ท่อเสียหาย ในข้อนี้สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีอุณหภูมิใช้งานไม่เกินอุณหภูมิของท่อที่ทนได้

ขนาด ท่อที่ยอมให้ใช้ได้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 12 มม. หรือใหญ่กว่า 102 มม.

15 of 19

ท่ออโลหะแข็ง

16 of 19

ที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปได้แก่ท่อ พีวีซี และท่อพีอี ท่อพีวีซีมีคุณสมบัติในการต้านเปลวเพลิง แต่มีข้อเสียที่เมื่อไฟไหม้จะมีก๊าซที่เป็นพิษต่อบุคคลออกมาด้วยและไม่ทนต่อแสงอุลตราไวโอเลตทำให้กรอบเมื่อถูกแดดนาน ๆ สำหรับท่อพีอีเป็นท่อที่ไฟลุกลามได้แต่คงทนต่อแสงอุลตราไวโอเลตจึงเหมาะที่จะใช้ภายนอกอาคารการใช้งานภายในอาคารจึงต้องฝังอยู่ในคอนกรีตหรือฝังดิน

ท่ออโลหะและเครื่องประกอบการเดินท่อต้องใช้วัสดุที่เหมาะสม ทนต่อความชื้น สภาวะอากาศและสารเคมี ทนต่อแรงกระแทกและแรงอัด ไม่บิดเบี้ยวเพราะความร้อนภายใต้สภาวะที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน ในสถานที่ใช้งาน ซึ่งท่อมีโอกาสถูก

17 of 19

แสงแดดโดยตรงต้องใช้ท่อชนิดทนแสงแดดได้ ท่อที่ใช้เหนือดินต้องมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ท่อที่ใช้ใต้ดินวัสดุที่ใช้ต้องทนความชื้น ทนสารที่ทำให้ผุกร่อนและมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงกระแทกได้โดยไม่เสียหาย ถ้าใช้ฝังดินโดยตรงไม่มีคอนกรีตหุ้มวัสดุที่ใช้ต้องสามารถทนน้ำหนักกดที่อาจเกิดขึ้นภายลังการติดตั้งได้

18 of 19

การใช้งาน

การใช้งาน ท่ออโลหะแข็งมีข้อกำหนดการใช้งานดังนี้

1. เดินซ่อนในผนัง พื้นและเพดาน

2. ในบริเวณที่ทำให้เกิดการผุกร่อนและมีสารเคมีถ้าท่อและเครื่องประกอบการเดินท่อได้ออกแบบไว้สำหรับใช้งานในสภาพดังกล่าว

3. ในที่เปียกหรือชื้นซึ่งได้จัดให้มีการป้องกันน้ำเข้าไปในท่อ

4. ในที่โล่ง ( Exposed ) ซึ่งไม่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ

5. การติดตั้งใต้ดินควรดูข้อกำหนดในเรื่องการติดใต้ดินประกอบ

19 of 19

ห้ามใช้

ห้ามใช้ ท่ออโลหะแข็งห้ามใช้ในกรณีต่อไปนี้

1.ในสถานที่อันตราย นอกจากจะระบุไว้เป็นอย่าอื่น

2.ใช้เป็นเครื่องแขวนและจับยึดดวงโคม

3.อุณหภูมิโดยรอบหรืออุณหภูมิใช้งานของสายเกินกว่า อุณหภูมิของท่อที่ระบุไว้

4.ท่ออโลหะแข็งที่มีขนาดเล็กกว่า 12 มม.