1 of 23

2 of 23

วิชาคณิตศาสตร์ พื้นฐาน4  ค22102 ม.2

ในวิชาคณิตศาสตร์ทฤษฎีบทพีทาโกรัสแสดงความสัมพันธ์ในเลขาคณิตแบบยุคลิดระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉากกำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือ

 

3 of 23

นิยาม

ในสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ พื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านตรง ข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านเป็นด้านประชิดมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้น…..

4 of 23

ประวัติของพีทาโกรัส

 

 

พีทาโกรัส (582 — 496 ปีก่อน ค.ศ.; กรีก: Πυθαγόρας) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณ, เป็นที่รู้จักในนามเจ้าของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

 

พีทาโกรัสได้ชื่อว่าเป็น"บิดาแห่งตัวเลข" พีทาโกรัสไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อคณิตศาสตร์ เขายังได้สร้างสรรค์ความคิดหลายอย่างให้กับปรัชญาและศาสนา ในปลายศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ถึงทุกวันนี้ เราไม่สามารถที่จะพูดถึงชีวประวัติของพีทาโกรัสได้ด้วยความแน่นอน เพราะตำนานและเรื่องเล่าต่างๆ นานาปิดบังข้อเท็จจริงของชีวิตพีทาโกรัสมากกว่าปราชญ์ใดๆ ในยุคก่อนโสกราตีส  

��

5 of 23

บทกลับของทฤษฎีพีทาโกรัส

ถ้าสามเหลี่ยม ABC เป็นสามเหลี่ยม ที่มีด้านยาว a,b และ c หน่วย และ c2=a2+b2

 

จะได้ว่าสามเหลี่ยม ABC เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก และมีด้านที่ยาว c เป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก

 

ตัวอย่างโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับบทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส

6 of 23

บทกลับของทฤษฎีพีทาโกรัส(ต่อ)

ตัวอย่างที่ 1 รูปสามเหลี่ยมรูปหนึ่งที่มีด้านยาว 9 เซนติเมตร  12 เซนติเมตร และ 15 เซนติเมตร ตามลำดับ จงตรวจสอบว่ารูปสามเหลี่ยมรูปนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่

 วิธีทำ การที่เราจะตรวจสอบว่ารูปสามเหลี่ยมรูปนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากหรือไม่นั้นเราสามารถตรวจสอบได้โดยใช้บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส   นั่นคือตรวจสอบว่า

c2=a2+b2 เป็นจริงหรือไม่

 จากโจทย์ให้ c =15 เซนติเมตร ,b=12 เซนติเมตร และ a=9 เซนติเมตร (ควรกำหนดให้ค่า c เป็นจำนวนที่มีค่ามากที่สุด จะได้

c2=a2+b2

152=92+122

 

225=81+144

 

225=225  เป็นจริง

 ตอบ ดังนั้น รูปสามเหลี่ยมรูปนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

7 of 23

ทฤษฎีบท

ให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และ a,b,c เป็นความยาวของด้านแต่ละด้าน ดังรูป

                 

    

ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก คือ   a2 + b2 = c2

8 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม

คุณสมบัติและการแบ่งประเภทของรูปสามเหลี่ยมตามความยาวของด้าน

1.รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (equilateral) มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน และมีมุมทุกมุมขนาดเท่ากัน นั่นคือมุมภายในทุกมุมจะมีขนาดเท่ากัน คือ 60° และเป็นรูปหลายเหลี่ยมปกติ

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

9 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

2.รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว (isosceles) มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน และมีมุมสองมุมขนาดเท่ากัน คือมุมที่ไม่ได้ประกอบด้วยด้านที่เท่ากันทั้งสอง

รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

10 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

3.รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า (scalene) ด้านทุกด้านจะมีความยาวแตกต่างกัน มุมภายในก็มีขนาดแตกต่างกันด้วย

รูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่า

11 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

คุณสมบัติและการแบ่งประเภทของรูปสามเหลี่ยมตามมุมภายใน

1.รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก (right, right-angled, rectangled) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาด 90° (มุมฉาก) ด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉากเรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดในรูปสามเหลี่ยม อีกสองด้านเรียกว่า ด้านประกอบมุมฉาก ความยาวด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากสัมพันธ์กันตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส นั่นคือกำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก c จะเท่ากับผลบวกของกำลังสองของด้านประกอบมุมฉาก a, b เขียนอย่างย่อเป็น a2 + b2 = c2

12 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

13 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

2.รูปสามเหลี่ยมมุมเฉียง (oblique) ไม่มีมุมใดเป็นมุมฉาก ซึ่งอาจหมายถึงรูปสามเหลี่ยมมุมป้านหรือรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม

2.1 รูปสามเหลี่ยมมุมป้าน (obtuse) มีมุมภายในมุมหนึ่งมีขนาดใหญ่กว่า 90° (มุมป้าน)

2.2. รูปสามเหลี่ยมมุมแหลม (acute) มุมภายในทุกมุมมีขนาดเล็กกว่า 90° (มุมแหลม) รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม แต่รูปสามเหลี่ยมมุมแหลมทุกรูปไม่ได้เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

14 of 23

สมบัติรูปสามเหลี่ยม(ต่อ)

15 of 23

ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีบทพีทาโกรัสกับพื้นที่

พิจารณารูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ABC ซึ่งมีมุม B เป็นมุมฉาก และให้ความยาวด้านเป็น 3 , 4 และ 5 ดังรูป

ถ้าสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขึ้นมาโดยมีด้านเป็นความยาวของด้านรูปสามเหลี่ยมมุมฉากทั้ง 3 ด้าน จะได้รูปดังนี้

16 of 23

ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีบทพีทาโกรัสกับพื้นที่(ต่อ)

ากรูปจะเห็นว่า

    พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส y รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ 5 พื้นที่เท่ากับ 5 x 5 = 5 2 ตารางหน่วย

    พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส z รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ 3 พื้นที่เท่ากับ 3 x 3 = 3 2 ตารางหน่วย

    พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส x รูปที่มีความยาวด้านเท่ากับ 4 พื้นที่เท่ากับ 4 x 4 = 4 2 ตารางหน่วย

    เนื่องจาก ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจากทฤษฎีบทปีทาโกรัส จะได้ว่า                                       32 + 42 = 52      

    นั้นก็คือพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสรูปที่ความยาวด้านเท่ากับ 5  มีพื้นที่เท่ากับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับ 3  รวมกับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีความยาวด้านเท่ากับ 4

    สรุป

    ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใดๆ พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับ  ผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประกอบมุมฉาก

 

 

 

17 of 23

ความสัมพันธ์คล้ายสามเหลี่ยมปาสคาล

จำนวนที่อยู่ในกลุ่ม Shot Leg ทางด้านซ้ายมือ เป็นจำนวนคี่ที่เรียงกันจากบนลงล่าง จากน้อยไปหามาก สำหรับกลุ่ม           ที่อยู่ทางด้านขวา  Long Leg จำนวนถัดไปเท่ากับผลต่างของจำนวนที่อยู่ด้านหน้า (12-4 = 8 ,12-8 = 4 ,16-12 =4 , ...)  นอกจากนั้นแล้ว   มีลักษณะที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวเลขที่มีรูปแบบอื่นๆ เช่น ผลบวกทะแยงไปแถวอื่นๆ คุณสมบัติคล้ายสามเหลี่ยมปาสคาล (0+4, 4+16 = 20 , 20+40 = 60 , ... )

จำนวน 3 ที่สัมพันธ์กันที่สามารถนำไปใช้ในสามเหลี่ยมมุมฉาก เช่น 3-4-5 , 2-12-13 , 7-24-25 , 9-40-41 , 11-60-61 เป็นต้น

18 of 23

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา

19 of 23

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา(ต่อ)

20 of 23

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา(ต่อ)

21 of 23

การนำไปใช้

  • ใช้ในการคำนวณหาระยะทางการกระจัด
  • ใช้คำนวณในการสร้างสิ่งปลูกสร้าง
  • ใช้ในการวัดที่ดิน
  • ใช้ในการหาความกว้าง ความยาว และความสูงของสิ่งต่างๆ

22 of 23

แผนผังสรุป

23 of 23

ขอบคุณค่ะ