1 of 7

นางสาวซูไวบะห์ สาแม

อักษรกลาง

2 of 7

2. อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะกลุ่มหนึ่งที่มีรูปปกติเป็นเสียงกลางทั้งหมด ซึ่งเป็นการพิจารณาเฉพาะรูปพยัญชนะเท่านั้น

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผันเสียงวรรณยุกต์ไปในแบบเดียวกัน

อักษรกลางมีทั้งหมด 9 ตัว ได้แก่

3 of 7

อักษรกลาง

อักษรกลาง

คำเป็น ใช้วรรณยุกต์ครบได้ทั้ง 4 รูป คือ เอก , โท , ตรี และจัตวา

พื้นเสียงสามัญผันได้5เสียงคือเสียงสามัญ ,เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี และเสียงจัตวา

คำตาย ใช้วรรณยุกต์ได้ 3 รูป คือ โท , ตรี และจัตวา

พื้นเสียงเอกผันได้ 4 เสียง คือ เสียงเอก , เสียงโท , เสียงตรี และเสียงจัตวา

4 of 7

ตัวอย่างคำที่เป็นอักษรกลาง

1. ต้องการ *สังเกต ต คือตัวแรกของคำ ดังนั้น คำว่า ต้องการ อยู่ในหมวดอักษรกลาง

2 แต่งตัว *สังเกต ต คือตัวแรกของคำ ดังนั้น คำว่า แต่งตัว อยู่ในหมวดอักษรกลาง

3. แดดออก *สังเกต ด คือตัวแรกของคำ ดังนั้น คำว่า แดดออก อยู่ในหมวดอักษรกลาง

4. จำปี *สังเกต จ คือตัวแรกของคำ ดังนั้น คำว่า จำปี อยู่ในหมวดอักษรกลาง

5. เจ็บป่วย *สังเกต จ คือตัวแรกของคำ ดังนั้น คำว่า เจ็บป่วย อยู่ในหมวดอักษรกลาง

5 of 7

หลักการผันวรรณยุกต์ในอักษรกลาง

หลักการผันวรรณยุกต์ในอักษรกลาง

เมื่ออักษรกลาง + สระเสียงยาว ในแม่ ก กา จะผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง

เมื่ออักษรกลาง + ตัวสะกด ด้วย แม่ กง กน กม เกย เกอว (คำเป็น) จะผันวรรณยุกต์ได้ 5 เสียง

ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา ก็คือผันได้ครบ

แต่ถ้า

อักษรกลาง + สระเสียงสั้น ในแม่ ก กา จะผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง

อักษรกลาง + ตัวสะกด ด้วย แม่ กก กด กบ (คำตาย) จะได้ผันวรรณยุกต์ได้ 4 เสียง

ได้แก่ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา เท่านั้น

6 of 7

จุดสังเกตการผันวรรณยุกต์ของอักษรกลาง

1. ถ้า อักษรกลาง รวมกับ คำเป็น จะผันได้ ครบทั้ง 5 เสียง คือเสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา

2. แต่ถ้า อักษรกลาง รวมกับ คำตาย จะผันได้ เพียงแค่ 4 เสียง คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา เท่านั้น

7 of 7

หลักการจำ

หลักการจำ

ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ

ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย ( ให้เข้าใจว่าเป็น ฎ ฏ)

บน ปาก โอ่ง