1 of 12

ผลงานของบุคคลสำคัญในการสร้างสรรค์ชาติไทย

2 of 12

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ หรือฌอง แบบตีสต์ ปาลเลอกัวซ์ (พ.ศ. 2348 - 2405) ชาวฝรั่งเศส เป็นบาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2373 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มแรกท่านพำนักอยู่ที่วัดอัสสัมชัญ ต่อมาได้ย้ายไปตามเมืองต่าง ๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2381 ได้เป็นสังฆราช ณ วัดคอนเซ็ปชัญ

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจนมีความรู้ดี รวมทั้งมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างสรรค์ผลงานวิชาความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาและประวัติศาสตร์ไทย

3 of 12

ด้านอักษรศาสตร์

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ศึกษาภาษาไทยและบาลีจนมีความรู้แตกฉาน และได้ทำพจนานุกรมภาษาไทยขึ้น โดยมีวชิรญาณเถระ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ได้ทรงช่วยจัดทำด้วย และบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้ถวายการสอนภาษาละตินให้พระองค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบความรู้และความคิดของชาวตะวันตก

นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้เขียนพจนานุกรมสี่ภาษา คือ ภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ หรือสัพพะ พะจะนะ พาสาไท พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2397 เขียนหนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเป็นภาษาฝรั่งเศส และแต่งหนังสือเรื่อง "เล่าเรื่องเมืองสยาม" ทำให้ชาวยุโรปรู้จักเมืองไทยดียิ่งขึ้น

4 of 12

ด้านวิทยาการตะวันตก

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์มีความรู้ในด้านภูมิศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี และมีความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาการถ่ายรูป รวมทั้งเป็นผู้นำวิทยาการถ่ายรูปเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2388 โดยสั่งซื้อกล้องถ่ายรูปมาจากฝรั่งเศส และมีฝีมือในการชุบโลหะ ซึ่งบุตรหลานข้าราชการบางคนได้เรียนรู้วิชาเหล่านี้จากท่าน นอกจากนี้ บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างโรงพิมพ์ภายในวัดคอนเซ็ปชัญและจัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์

5 of 12

ด้านศาสนา

บาทหลวงปาลเลอกัวซ์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่คริสตศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เช่น สร้างสำนักพระสังฆราชเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่วัดอัสสัมชัญบางรัก และได้ย้ายจากวัดคอนเซ็ปชัญไปอยู่ที่วัดอัสสัมชัญจนกระทั่งมรณภาพ

6 of 12

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

-พระนามเดิม ฉิม หรือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร

-พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2310 เมืองสมุทรสงคราม

เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

-ทรงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 7 กันยายนพ.ศ. 2352 พระองค์ทรงครองราชย์อยู่เป็นเวลา 15 ปี โดยเสด็จสววรคตเมื่อวันวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระชนพรรษา 57 พรรษา

7 of 12

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

-พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย

-พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์

-พระปรีชาสามารถ

-ด้านกวีนิพนธ์ "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด“ ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละคร ตัวอย่างเช่นรามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา เป็นต้น

กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์  (อิน)

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

8 of 12

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

-พระนามเดิม ทับ (กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์)

-พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว"

-พระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

-พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์

-เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดาเรียม (กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย)  

-เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330   

-เสวยราชสมบัติ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367  ดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี

-ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน

9 of 12

สรุปเหตุการณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พ.ศ. 2367  
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ " กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี  ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
  • พ.ศ. 2369  มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
    • ลงนามในสัญญา เบอร์นี
    • เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรม ท้าวสุรนารี  (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
  • พ.ศ. 2370  เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
  • พ.ศ. 2371  ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2372  เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็ก
    • กำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

10 of 12

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
  • พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 
  • เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี

11 of 12

  • ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ
  • ทรงจัดตั้งกองเสือป่าเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 
  • ทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย
  • ทรงทดลองตั้ง "เมืองมัง" หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม
  • ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเองตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง "ดุสิตธานี" ในพระราชวังดุสิต (ต่อมาทรงย้ายไปที่พระราชวังพญาไท)
  • ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์
  • ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร
  • ด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. 2465 ขึ้น

12 of 12

Thank You For Watching