1 of 11

เซอร์กิตเบรกเกอร์

ชื่อ นายศักดินนท์ สุขชา ปวส.1

ช่างไฟฟ้าทวิภาคี กลุ่ม1เลขที่10

2 of 11

เซอร์กิตเบรกเกอร์(Circuit Breaker) คือ

เซอร์กิตเบรกเกอร์(Circuit Breaker) คือ อุปกรณ์ที่ทำงานเปิดและปิดวงจรไฟฟ้าแบบไม่อัตโนมัติ แต่สามารถเปิดวงจรได้อัตโนมัติ ถ้ามีกระแสไหลผ่านเกินกว่าค่าที่กำหนด โดยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ที่ต่อกับเซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นเกิดความเสียหายขึ้นจากกระแสที่เกินกำหนด แบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่

3 of 11

โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์(Mold Case Circuit Breaker)

หมายถึง เบรกเกอร์ที่ถูกห่อหุ้มมิดชิดโดยโมลด์ 2 ส่วน มักทำด้วย ฟีโนลิก(Phenolic) ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถทนแรงดันใช้งานได้เบรกเกอร์แบบนี้ มีหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ ทำหน้าที่เป็นสวิทซ์เปิด-ปิดด้วยมือ และเปิดวงจรโดยอัตโนมัติ เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือเกิดลัดวงจร โดย เบรกเกอร์จะอยู่ในภาวะตัดการทำงานจากกระแสเกิน(Trip) ซึ่งอยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ตำแหน่งเปิดและปิด(ON/OFF) เราสามารถรีเซ็ทใหม่ได้โดย กดคันโยกให้อยู่ ในตำแหน่ง ปิดเสียก่อน แล้วค่อยโยกไปตำแหน่งเปิด การทำงานแบบนี้เรียกว่าควิกเมก(quick make) , ควิกเบรก(quick break) ลักษณะของเบรกเกอร์แบบนี้ที่พบเห็นโดยทั่วไป

4 of 11

โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์

5 of 11

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์(Air Circuit Breaker)

เป็นเบรคเกอร์ที่ใช้กับแรงดันที่ต่ำกว่า1000 โวลต์ มีขนาดใหญ่ใช้สำหรับเป็น เมนเบรกเกอร์ โดยทั่วไปมีพิกัดกระแสตั้งแต่ 225-6300 แอมป์ และมี อินเตอร์รัปติง คาปาซิตี(Interrupting Capacity) สูงตั้งแต่ 35-150 กิโลแอมป์ โครงสร้างทั่วไปทำด้วยเหล็กมีช่องดับอาร์ก(Arcing Chamber) ที่ใหญ่โตแข็งแรง เพื่อให้สามารถรับกระแสลัดวงจรจำนวนมากได้ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีขายในท้องตลาด มักใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตรวจจับ และวิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจร

6 of 11

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์(Air Circuit Breaker)

7 of 11

มิเนียเจอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์(Miniature Circuit Breaker)

เป็นเบรคเกอร์ขนาดเล็ก ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย(Load Center) หรือ แผงจ่ายไฟฟ้าประจำห้องพักอาศัย(Consumer Unit) เบรคเกอร์ชนิดนี้ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ มีทั้งแบบ 1 ขั้ว , 2 ขั้ว และ 3 ขั้ว อาศัยกลไกการปลดวงจรทั้งแบบ เทอร์มัล และ แมกเนติก มีรูปร่างทั่วไปดังรูป

8 of 11

มิเนียเจอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์(Miniature Circuit Breaker)

9 of 11

เอิร์ทลีค เซอร์กิตเบรกเกอร์(Earth Leakage Circuit Breaker)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด มีหน้าที่ตรวจจับกระแสไฟรั่วลงดินคล้ายกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ต่างกันที่ว่า เอิร์ทลีค เซอร์กิตเบรกเกอร์ จะมี ปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่มเทส(Test) แต่เซอร์กิตเบรกเกอร์ไม่มีปุ่มนี้ มีหน้าที่คือตัดไฟเมื่อมีไฟรั่วลงดินถึงค่าที่ตรวจจับได้ และจะตัดไฟเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร แต่ไม่ตัดไฟในกรณีที่ใช้กระแสเกินกว่าแอมป์ที่ตัวเครื่องระบุ

10 of 11

เอิร์ทลีค เซอร์กิตเบรกเกอร์(Earth Leakage Circuit Breaker)

11 of 11

วิธีการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

การติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกเซอร์กิตเบรกเกอร์จะมีช่องให้ใส่สายไฟที่ด้านบนของลูกเซอร์กิตซึ่งงจะมีทางเข้าของสายนิวตรอนและสายไลน์ โดยสายที่มีไฟฟ้าขะเป็นสีที่เข้มเสมอตามาตรฐานจะใช้สายสีดำและสายที่ไม่มีไฟจะใช้สายที่มีสีอ่อนกว่าตามมาตรฐานจะใช้สีเทาและที่ด้านล่างของลูกเซอร์กิตจะมีทางไฟออกสำหรับนำสายไฟมาต่อนำไปใช้ภายในบ้าน