1 of 84

การบัญชีเบื้องต้น 2 (2200-1003)

นางสาวคนึงนิจ แพ่งกล่อม

2 of 84

กิจการซื้อขายสินค้าเป็นกิจการซื้อมาขายไป โดยซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตหรือพ่อค้าขายส่งมาเพื่อขาย วิธีการทางบัญชีของกิจการซื้อขายสินค้าจะแตกต่างจากกิจการให้บริการ รายได้หลักเกิดจากการขายสินค้า และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เกิดจากต้นทุนของสินค้าที่ขาย

ค่าใช้จ่ายของกิจการซื้อขายสินค้าได้แก่ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางภาษี เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี สินค้าที่ยังขายไม่หมดจะปรากฏอยู่ใน บัญชีสินค้าคงเหลือ (Inventory) และแสดงภายใต้หัวข้อสินทรัพย์หมุนเวียนในงบดุล

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

3 of 84

สินค้า (Goods or Merchandise) หมายถึง สินทรัพย์หรือสิ่งที่กิจการมีไว้เพื่อจำหน่าย โดยหวังผลประโยชน์หรือกำไรจากการจำหน่ายไป เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการค้าที่ขายสินค้าจะมีรายได้หลัก ก็คือ การขายสินค้านั่นเอง

ความหมายของสินค้า

4 of 84

การซื้อขายสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

กิจการแต่ละแห่งจะมีขั้นตอน, วิธีการซื้อขายสินค้าที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและการจัดองค์กรของแต่ละกิจการ กรณีของกิจการขนาดเล็กเจ้าของอาจจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด แต่ถ้าเป็นกิจการขนาดใหญ่จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการซื้อและการขายสินค้าได้แก่

1. แผนกคลังสินค้า จะเป็นผู้ตรวจสอบว่า สินค้าชนิดใดบ้างที่เหลืออยู่ในระดับที่ต้องมี การสั่งซื้อ โดยจัดทำใบสั่งซื้อ ส่งไปแผนกจัดซื้อ

2. แผนกจัดซื้อ เมื่อได้รับใบขอซื้อแล้ว จะทำการสอบถามราคาของสินค้าที่จะซื้อจากผู้ขายหลาย ๆ ราย โดยจะจัดทำใบสั่งซื้อ ส่งไปให้ผู้ขาย

5 of 84

3. ผู้ขาย เมื่อได้รับใบสั่งซื้อ จะจัดส่งคืนสินค้าพร้อมใบกำกับสินค้า (Invoice) / ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ให้กับผู้ซื้อ

4. แผนกตรวจรับสินค้า เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้ว แผนกตรวจรับสินค้าจะทำการตรวจสอบสินค้าที่ได้รับกับสำเนาใบสั่งซื้อ และใบกำกับสินค้าที่ได้จากผู้ขายว่าถูกต้องตรงกันถ้าถูกต้องจะลงนามในใบกำกับสินค้าและจัดทำใบรับสินค้า (Receiving Report)

5. แผนกบัญชี เมื่อครบกำหนดชำระ ผู้ขายจะนำไปเสร็จรับเงินมาขอรับชำระที่แผนกบัญชีและการเงิน

6 of 84

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า

การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าจำเป็นต้องมีเอกสารใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ซึ่งกิจการอาจเป็นผู้จัดทำเอกสารขึ้นใช้เอง หรือเป็นเอกสารที่กิจการได้รับจากบุคคลภายนอก เช่น ใบขอซื้อสินค้า ใบสั่งซื้อสินค้า ใบกำกับสินค้า ใบรับสินค้า ใบส่งคืนสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ได้แก่

7 of 84

1. ใบขอซื้อ (Purchase Requisition) คือ เอกสารที่แผนกคลังสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อแจ้งว่าสินค้าชนิดใด ประเภทใดของกิจการใกล้จะหมด และต้องการสั่งซื้อเพิ่มปริมาณเท่าไร โดยจัดทำใบขอซื้อสินค้า ส่งไปให้แผนกจัดซื้อดำเนินการต่อ

2. ใบสั่งซื้อสินค้า (Purchase Order) คือเอกสารที่แผนกจัดซื้อสินค้าจัดทำขึ้นหลังจาก ได้รับใบขอซื้อสินค้าจากแผนกคลังสินค้าแล้ว ก็จะดำเนินการคัดเลือกสินค้าจากผู้ขายสินค้าหลายรายเพื่อให้ได้สินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก เมื่อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายสินค้ารายที่คัดเลือกแล้ว จึงจัดทำใบสั่งซื้อสินค้าส่งไปให้ผู้ขายสินค้าเพื่อแจ้งให้ผู้ขายสินค้าว่าต้องการสินค้าประเภทใด ปริมาณเท่าใด คุณภาพอย่างไร ราคาเท่าไรซึ่งรายละเอียดดังกล่าวนี้จะแจ้ง ไว้ในใบสั่งซื้อ

8 of 84

3. ใบกำกับสินค้า (Invoice) คือ เอกสารที่ผู้ขายสินค้าจัดทำขึ้นเพื่อส่งไปให้ผู้ซื้อพร้อมกับสินค้า

4. ใบรับสินค้า (Receive Report) คือ เอกสารที่ผู้ซื้อสินค้าจัดทำขึ้น หลังจากที่ได้รับสินค้าจากผู้ขายสินค้า ผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจนับสินค้าคู่กับใบกำกับสินค้าที่ผู้ขายสินค้าส่งมาให้ว่าถูกต้องตรงตามที่สั่งหรือไม่ เมื่อถูกต้องแล้วก็จัดทำใบรับสินค้าส่งไปให้ผู้ขายสินค้า

5. ใบขอลดหนี้และใบหักหนี้ เมื่อผู้ซื้อธุรกิจหรือห้างร้านดำเนินการซื้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางรายการชำรุดหรือไม่ตรงกับรายการสินค้าที่สั่งซื้อ ธุรกิจหรือห้างร้านก็จะส่งคืน สินค้าพร้อมกับเอกสารใบขอลดหนี้และใบหักหนี้ ดังนี้

9 of 84

1) ใบขอลดหนี้ หรือใบส่งคืน (Debit Note or Debit Memorandum) คือเอกสารที่ผู้ซื้อจัดส่งให้ผู้ขาย เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้รับสินค้าแล้วปรากฏว่าสินค้าส่งมาไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ หรือสินค้าชำรุด หรือคิดราคามากไป และผู้ซื้อส่งคืนโดยไม่รับสินค้าแลกเปลี่ยน ผู้ขายอาจลดราคาให้สำหรับสินค้าที่ส่งคืน เมื่อผู้ซื้อส่งคืนสินค้าจะออกใบลดหนี้ หรือใบส่งคืน เมื่อผู้ซื้อส่งคืนสินค้าจากการซื้อเป็นเงินสดจะได้รับเงินสดคืน แต่ถ้าซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อจะลดยอดเจ้าหนี้การค้า

2) ใบหักหนี้ หรือใบรับคืน (Credit Note or Credit Memorandum) คือเอกสารที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อ เพื่อแจ้งว่าผู้ขายได้รับคืนสินค้าจากผู้ซื้อ เนื่องจากสินค้าชำรุด หรือส่งไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ หรือคิดราคามากไปโดยผู้ขายอาจลดราคาสินค้าให้ผู้ซื้อ ในกรณีที่ผู้ซื้อซื้อสินค้าเป็นเงินสดผู้ขายจะส่งเงินสดคืน แต่ถ้าผู้ซื้อ ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อผู้ขายจะลดหนี้ให้กับผู้ซื้อ และผู้ขายจะออกใบลดหนี้ หรือใบรับคืนให้ผู้ซื้อเป็นหลักฐานในการลดหนี้

6. ใบเสร็จรับเงิน (Receipt) คือ เอกสารที่ผู้ขายออกให้ผู้ซื้อ กรณีขายสินค้าเป็น

เงินสด หรือรับชำระหนี้จากลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือรับชำระหนี้จากลูกหนี้อื่น

10 of 84

การส่งคืนและรับคืนสินค้า

การส่งคืนและรับคืนสินค้าจะเกิดขึ้นเนื่องจากสินค้าที่ผู้ซื้อได้รับจากผู้ขายนั้น

ไม่ถูกต้องตามใบสั่งซื้อ เช่น คุณภาพไม่ตรงตามกำหนด สินค้าชำรุดเสียหายในระหว่างการขนส่ง ผู้ซื้อจะแจ้งให้ผู้ขายทราบ และส่งสินค้านั้นคืนให้ผู้ขาย โดยผู้ขายอาจส่งสินค้ามาให้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน แต่บางครั้งผู้ขายไม่สามารถสินค้าแลกเปลี่ยนได้ก็จะต้องลดยอดหนี้สินในบัญชีต่อกันกรณีซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือส่งเงินสดให้ผู้ซื้อกรณีที่ซื้อสินค้าเป็นเงินสด ดังนี้

1. ด้านผู้ซื้อ เมื่อมีการส่งคืน ผู้ซื้อจะจัดทำใบขอลดหนี้ (Debit Memorandum or Debit Note) หรือ ใบส่งคืน เพื่อขอให้ผู้ขายลดราคาค่าสินค้าให้ ซึ่งจะมีรายละเอียดของสินค้าที่ส่งคืนทั้งหมดในกรณีที่ไม่ได้จ่ายชำระค่าสินค้า หรือให้ผู้ขายส่งเงินค่าสินค้าให้กับผู้ซื้อในกรณีที่จ่ายชำระสินค้าแล้ว

2. ด้านผู้ขาย เมื่อมีการรับคืนสินค้า และยินยอมที่จะลดราคาสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว ผู้ขายจะจัดทำใบหักหนี้/ใบลดหนี้ (Credit Memorandum or Credit Note) หรือใบรับคืน และแจ้งให้ผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายได้ลดยอดหนี้ค่าสินค้าให้ในกรณีที่ยังไม่ได้จ่ายชำระค่าสินค้า หรือให้ผู้ขายส่งเงินค่าสินค้าให้กับผู้ซื้อในกรณีที่จ่ายชำระสินค้าแล้ว

11 of 84

ส่วนลดในราคาสินค้า

ส่วนลด (Discounts) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 ส่วนลดการค้า (Trade Discount) หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้แก่ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขายสินค้า โดยที่ผู้ขายให้ส่วนลดเป็นอัตราร้อยละของราคาขาย ซึ่งช่วยให้ผู้ขายไม่ต้องพิมพ์รายการแสดงสินค้าบ่อย ๆ ดังนั้นราคาสุทธิที่ซื้อขายกันจึงเป็นราคาขายหลังจากหักส่วนลดการค้าแล้ว ไม่มีการบันทึกบัญชีส่วนลดการค้าทั้งด้านผู้ซื้อและผู้ขาย

1.2 ส่วนลดเงินสด (Cash Discount) หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้กับผู้ซื้อในกรณีที่ผู้ซื้อชำระหนี้ค่าสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ทางด้านผู้ขายเรียกว่า ส่วนลดจ่าย ส่วนทางด้านผู้ซื้อเรียกว่า ส่วนลดรับ ส่วนลดเงินสดนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในการซื้อขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น

12 of 84

ส่วนลดเงินสดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. ส่วนลดรับ (Purchase Discount) คือ ส่วนลดเงินสดที่เกิดจากการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อและได้รับจากเจ้าหนี้เมื่อจ่ายชำระเงิน ซึ่งทำให้ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อลดลง

2. ส่วนลดจ่าย (Sale Discount) คือ ส่วนลดเงินสดที่เกิดจากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อและลดให้ลูกหนี้เมื่อรับชำระเงิน ทำให้มูลค่าขายสินค้าลดลง

การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับส่วนลด อาจบันทึกบัญชีส่วนลดรับ หรือบัญชีสินค้าคงเหลือแล้ววิธีการบันทึกบัญชีของกิจการ ส่วนลดจ่ายจะบันทึกบัญชีส่วนลดจ่ายเท่านั้น

13 of 84

เงื่อนไขการชำระเงิน  (Terms  of  Payment)  ผู้ขายสินค้าจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเงินไว้ในใบกำกับสินค้า  เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ  ให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้า ได้แก่

1.  2/10,n/30   หมายความว่า  ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน  10  วัน  นับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า  จะได้ส่วนลด 2%  แต่ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน  30  วัน  จะไม่ได้ส่วนลด

2.  2/10,eom. ( eom. ย่อมาจาก end  0f  mont)  หมายความว่า  วันครบกำหนดในการชำระหนี้ คือ  สิ้นเดือนถัดไป  แต่ถ้าชำระเงินภายในวันที่ 10  ของเดือนถัดไปจะได้ส่วนลด 2%

เงื่อนไขการชำระเงิน

14 of 84

การนับวันครบกำหนดในบางกรณีจะกำหนดวันที่ครบกำหนดไว้แน่นอน เช่น วันสิ้นเดือน หรือวันสิ้นเดือนของเดือนถัดไป แต่ในกรณีที่กำหนดเป็นจำนวนวัน เช่น 30 วัน 60 วัน การนับวันครบกำหนดให้เริ่มนับถัดจากวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นวันที่ 1 และนับไปจนครบกำหนดเวลาหรือคำนวณหาวันครบกำหนดดังนี้

1. นำวันสุดท้ายของเดือนที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวตั้ง

2. นำวันที่มีการซื้อขายสินค้าเป็นตัวหัก

3. นำจำนวนวัน ที่ยังขาดอยู่ของเดือนถัดไปบวกเข้าไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะ

ครบกำหนด เช่น

การนับวันครบกำหนดชำระหนี้

15 of 84

ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2552 เงื่อนไข 2/10, n/30

การคำนวณวันครบกำหนดเป็นดังนี้

จำนวนวันของเดือนตุลาคม 31

หัก วันที่ซื้อสินค้า 4

จำนวนวันคงเหลือ 27

บวก จำนวนวันที่ยังขาดอยู่ (พ.ย.) 3

จำนวนวันที่ให้เครดิต 30

วันครบกำหนดคือวันที่ 3 พฤศจิกายน 2552

16 of 84

2.1 F.O.B (Free on board) shipping point เป็นการส่งมอบสินค้าต้นทาง ณ กิจกาของผู้ขาย ดังนั้นผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง เรียกว่า ค่าขนส่งเข้า จะถือเป็นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อตั้งแต่ผู้ขายจัดส่งสินค้าให้

2.2 F.O.B (Free on board) destination เป็นการส่งมอบสินค้าปลายทาง ณ กิจการของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจะเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง เรียกว่า ค่าขนส่งออก จะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังเป็นของผู้ขายจนกว่าสินค้านั้นจะส่งมอบให้ผู้ซื้อ

โดยปกติกิจการซื้อขายสินค้าที่ผู้ขายต้องรับภาระค่าขนส่งสินค้าด้วย ราคาสินค้ามักจะสูงกว่าในกรณีที่ผู้ซื้อเป็นผู้รับภาระค่าขนส่ง เนื่องจากผู้ขายได้นำเอาค่าขนส่งสินค้าไปรวมกับราคาขายสินค้าด้วย ในการขนส่งสินค้านั้น ค่าขนส่งที่เกิดขึ้นจะรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าระวางสินค้า ค่าประกันภัยสินค้า

2. เงื่อนไขการส่งมอบสินค้า

17 of 84

ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค่าหรือบริการในส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ละขั้นตอนของการผลิต  และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ

                สูตร           ภาษีมูลค่าเพิ่ม  =  ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

  ภาษีขาย  (Sales  Tax)  คือ  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการ  เมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการ 

ภาษีซื้อ (Purchase  Tax)  ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน

ได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่น 

เมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการ

               ถ้า  ภาษีขาย  มากว่า  ภาษีซื้อ  กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม

                 ถ้า  ภาษีขาย  น้อยกว่า  ภาษีซื้อ  กิจการสามารถขอคืนภาษีได้

18 of 84

  

1.  ผู้ประกอบการ  คือ  ผู้ผลิต  ผู้ให้บริการ  ผู้ขายปลีก  ผู้ส่งออก 

ซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  หรือวิชาชีพ  และประกอบกิจการในราชอาณาจักร

2.  ผู้นำเข้า  คือ  ผู้ประกอบการ  หรือบุคคลอื่น  ซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าการใด ๆ และยังรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า  หรือ  สินค้าทีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า  ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก  โดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย 

3.  ผู้ที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษ ให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี  เช่น  ตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชการอาณาจักรและขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติ  หรือในกรณีที่ผู้รับโอนสินค้าจากการนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร  หรือผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา    0  เป็นต้น

19 of 84

อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มมี 2 อัตรา 1. อัตราภาษีร้อยละ 7 ซึ่งใช้สำหรับกิจการขายสินค้า ให้บริการ และการนำเข้า

2. อัตราภาษีร้อยละ 0 ใช้สำหรับกิจการดังนี้� 2.1 การส่งออกสินค้า ซึ่งหมายถึงการส่งออกนอกราชอาณาจักร การนำสินค้าเข้าไปในเขตอุตสาหกรรมส่งออก การขายสินค้าของคลังทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดภาษี� 2.2 การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ�

20 of 84

2.3 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ โดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล� 2.4 การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ� 2.5 การขายสินค้าหรือการให้บริการกับองค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ� 2.6 การขายสินค้า หรือให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน กับคลังสินค้าทัณฑ์บน และระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออก

21 of 84

การบันทึกรายการเกี่ยวกับสินค้าในสมุดรายวัน

การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

การบันทึกรายการในกรณีมีภาษีมูลค่าเพิ่ม

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

แบบฟอร์มบัญชีแยกประเภท

22 of 84

การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหลักการบันทึกบัญชี

ในสมุดรายวันทั่วไป ดังนี้

1.1 การซื้อขายสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ซื้อสินค้า xxx

เครดิต เงินสด xxx

2) ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ซื้อสินค้า xxx

เครดิต เจ้าหนี้- ร้าน........ xxx

3) ขายสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต ขายสินค้า xxx

4) ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ลูกหนี้- ร้าน...... xxx

เครดิต ขายสินค้า xxx

1. การบันทึกรายการในกรณีไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

23 of 84

1.2 การส่งคืนสินค้าและการรับคืนสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

1) การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต ส่งคืนสินค้า xxx

2) การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เจ้าหนี้ – ร้าน ....... xxx

เครดิต ส่งคืนสินค้า xxx

3) การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต รับคืนสินค้า xxx

เครดิต เงินสด xxx

4) การส่งคืนสินค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต รับคืนสินค้า xxx

เครดิต ลูกหนี้ – ร้าน ...... xxx

24 of 84

การบันทึกรายการในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหลักการบันทึกบัญชีใน

สมุดรายวันทั่วไป ดังนี้

2.1 การซื้อขายสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

1) ซื้อสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ซื้อสินค้า xxx

ภาษีซื้อ xxx

เครดิต เงินสด xxx

2) ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ซื้อสินค้า xxx

ภาษีซื้อ xxx

เครดิต เจ้าหนี้ – ร้าน......... xxx

2. การบันทึกรายการในกรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

25 of 84

3) ขายสินค้าเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต ขายสินค้า xxx

ภาษีขาย xxx

4) ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ลูกหนี้ – ร้าน........ xxx

เครดิต ขายสินค้า xxx

ภาษีขาย xxx

26 of 84

2.2 การส่งคืนสินค้าและรับคืนสินค้า แบ่งออกเป็น 4 กรณี ได้ดังนี้

1) การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต ส่งคืนสินค้า xxx

ภาษีซื้อ xxx

2) การส่งคืนสินค้าที่ซื้อเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เจ้าหนี้ xxx

เครดิต ส่งคืนสินค้า xxx

ภาษีซื้อ xxx

27 of 84

3) การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินสด บันทึกบัญชีโดย

เดบิต รับคืนสินค้า xxx

ภาษีขาย xxx

เครดิต เงินสด xxx

4) การรับคืนสินค้าที่ขายเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดย

เดบิต รับคืนสินค้า xxx

ภาษีขาย xxx

เครดิต ลูกหนี้ – ร้าน ......... xxx

28 of 84

โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ และบัญชีภาษีขาย

1. กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผลต่าง คือ จำนวนเงินค่าภาษีที่กิจการจะต้อง นำส่งกรมสรรพากรการบันทึกบัญชีจะเป็น ดังนี้

1.1 โอนปิดบัญชีภาษีขาย และบัญชีภาษีซื้อไปยังบัญชีเจ้าหนี้ – กรมสรรพากร

บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ภาษีขาย xxx

เครดิต ภาษีซื้อ xxx

เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร xxx

1.3 การชำระค่าภาษี บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เจ้าหนี้ – กรมสรรพากร xxx

เครดิต เงินสด xxx

โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ และบัญชีภาษีขาย

29 of 84

2. กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผลต่าง คือ จำนวนเงินค่าภาษีที่กิจการจะสามารถขอคืนจากการกรมสรรพากรได้ การบันทึกบัญชีจะเป็น ดังนี้

2.1 โอนปิดบัญชีภาษีซื้อ และบัญชีภาษีขายไปยังบัญชี

ลูกหนี้ – กรมสรรพากร บันทึกบัญชีโดย

เดบิต ภาษีขาย xxx

ลูกหนี้ – กรมสรรพากร xxx

เครดิต ภาษีซื้อ xxx

2.2 ได้รับคืนเงินค่าภาษี บันทึกบัญชีโดย

เดบิต เงินสด xxx

เครดิต ลูกหนี้ – กรมสรรพากร xxx

30 of 84

การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป เมื่อได้บันทึกรายการค้าใน

สมุดรายวันทั่วไปแล้ว มีขั้นตอนต่อไปนี้

3.1 เปิดบัญชีแยกประเภท โดยเขียนชื่อบัญชีเลขที่บัญชี โดยดูชื่อบัญชีจาก

สมุดรายวันทั่วไป

3.2 ช่อง วัน เดือน ปี ให้เขียน วันเดือน ปี ตามที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไป

3.3 ช่องรายการ ให้นำชื่อบัญชีด้านตรงกันข้ามของรายการค้าที่บันทึกไว้ใน

สมุดรายวันทั่วไปมาบันทึก

3.4 ช่องจำนวนเงิน ด้านซ้ายมือ และด้านขวามือจากสมุดรายวันทั่วไป ให้นำ

จำนวนเงินของช่องเดบิตและเครดิตมาบันทึกในบัญชีแยกประเภททั่วไป

3.5 ช่องหน้าบัญชี หน้าบัญชีของบัญชีแยกประเภททั่วไปจะใช้อักษรย่อ

คือ ร.ว. 1 (สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1) เรียงตามลำดับหน้าบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป

31 of 84

แบบฟอร์มของบัญชีแยกประเภทแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. บัญชีแบบมาตรฐาน (Standard account form) เป็นบัญชีแยกประเภทที่แบ่งออกเป็น 2 ด้าน มีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1.1 ชื่อบัญชี (Title of account) ของบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชี

         1.2 ด้านซ้ายของบัญชี เรียกว่า ด้านเดบิต (Debit side)

       1.3 ด้านขวาของบัญชี เรียกว่า ด้านเครดิต (Credit side)

32 of 84

บัญชีแยกประเภทมาตรฐานจะเห็นได้ว่า มีลักษณะคล้ายตัว T จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า T – Account ดังนี้

ชื่อบัญชี

ถัดไป

33 of 84

2. บัญชีแบบแสดงยอดดุล (Balance account form) เป็นบัญชีแยกประเภทที่แสดงให้เห็นถึงยอดคงเหลือได้ทุกขณะ ประกอบด้วย ชื่อบัญชี ช่องวันที่ รายการ หน้าบัญชี เดบิต เครดิต และยอดคงเหลือเรียงตามลำดับกันมา บัญชีแยกประเภทแบบนี้เหมาะสำหรับกิจการขนาดใหญ่ที่มี่รายการค้าจำนวนมาก ซึ่งต้องการทราบยอดคงเหลือของแต่ละบัญชีเพื่อจัดทำรายงานทางบัญชีทุกวัน เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น

34 of 84

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีการขายสินค้า

4 ต.ค. 2552 ขายสินค้าเป็นเงินสด 2,000 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 140 บาท

ออกเลขที่ใบกำกับภาษี 01/0050

สมุดรายวันทั่วไป

พ.ศ. 2552

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

เดือน

วันที่

ต.ค.

4

เงินสด

101

2,140

-

 

 

 

ขายสินค้า

401

2,000

 -

 

 

ภาษีขาย

202

 

140

-

 

 

ขายสินค้าเป็นเงินสด ออกเลขที่ใบกำกับภาษี 01/0050

 

 

 

35 of 84

สมุดรายวันทั่วไป

พ.ศ. 2552

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

เดือน

วันที่

ต.ค.

7

เงินสด

101

535

-

 

 

 

ส่งคืนสินค้า

502

 

 

500

-

 

 

ภาษีซื้อ

104

 

 

35

-

 

 

ส่งคืนสินค้า เนื่องจากสินค้าชำรุด

 

 

 

 

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีการส่งคืนสินค้า

7 ต.ค. 2552 ส่งคืนสินค้า จำนวน 500 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 35 บาท

ได้รับเงินสดแล้ว

36 of 84

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีการรับคืนสินค้า

13 ต.ค. 2552 รับคืนสินค้าจากร้านวิจิตรา ในราคา 300 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 21 บาท

สมุดรายวันทั่วไป

พ.ศ. 2552

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

เดือน

วันที่

ต.ค.

13

รับคืนสินค้า

402

300

-

 

 

 

ภาษีขาย

202

21

-

 

 

 

ลูกหนี้ - ร้านวิจิตรา

102

 

 

321

-

 

 

รับคืนสินค้าจากลูกหนี้ - ร้านวิจิตรา

 

 

 

 

37 of 84

ตัวอย่างการบันทึกการปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย

31 ต.ค. 2552 ปิดบัญชีภาษีซื้อและภาษีขาย ไปยังบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

สมุดรายวันทั่วไป

พ.ศ. 2552

รายการ

เลขที่บัญชี

เดบิต

เครดิต

เดือน

วันที่

ต.ค.

31

ภาษีขาย

202

329

-

 

 

ลูกหนี้ - กรมสรรพากร

103

721

-

 

 

ภาษีซื้อ

104

 

 

1,050

-

 

โอนปิดบัญชีภาษีซื้อไปบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

 

 

 

38 of 84

1. เขียนวันที่ ลงในช่อง วัน เดือน ปี

2. บันทึกรายการเรียงตามลำดับวันที่ และกรอกรายการลงในช่องเลขที่ใบสำคัญ

3. เขียนชื่อบัญชีที่บันทึกทางด้านเดบิต ลงในช่องชื่อบัญชี

4. บันทึกจำนวนเงินของบัญชีด้านเครดิต ลงในช่องที่เกี่ยวข้องได้แก่ เงินสด ธนาคาร และส่วนลดรับ

ขั้นตอนในการบันทึกรายการในสมุดรายวันรับเงิน

39 of 84

5. บันทึกจำนวนเงินของบัญชีที่บันทึกด้านเดบิต ลงในช่องที่เกี่ยวข้องได้แก่ เจ้าหนี้ ภาษีซื้อ

ซื้อสินค้า และบัญชีอื่นๆ

6. ใส่เครื่องหมาย “√” ลงในช่องเจ้าหนี้ หน้าจำนวนเงินเมื่อผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทย่อยเจ้าหนี้รายตัว และอ้างอิงเลขที่บัญชี ในช่องบัญชีอื่นๆ หน้าช่องจำนวนเงินเมื่อผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไป

40 of 84

เพื่อให้การจัดทำงบทดลองมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงควรที่จะทำการหายอดคงเหลือของบัญชีต่างๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปก่อน ดังนั้น จึงมักจะใช้ดินสอดำเพื่อหายอดคงเหลือ (Pencil Footing)

41 of 84

การบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีและโอนกลับรายการ

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงบัญชี

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

รายได้ค้างรับ

รายได้รับล่วงหน้า

ค่าเสื่อมราคา

วัสดุสิ้นเปลือง

หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

การกลับรายการ

งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด

42 of 84

การปรับปรุงบัญชี หมายถึง การแก้ไขรายการบัญชี ให้ถูกต้องตรงกันกับความเป็นจริงในงวดบัญชีที่ได้กระทำอยู่ การเพิ่มหรือการลดตัวเลขในบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้องให้สมดุลกัน โดยกิจการจะต้องปรับปรุงรายการบางรายการเสียก่อนในวันสิ้นงวดบัญชี

ในการปรับปรุงรายการบัญชี จะบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป แล้วผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป จึงทำให้ยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภททั่วไปทางบัญชีเปลี่ยนแปลงและมีผลทำให้งบกำไรขาดทุนและงบดุลของกิจการแสดงผลดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการถูกต้องตรงกับความเป็นจริง

วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงบัญชี

43 of 84

ดังนั้นการบันทึกการปรับปรุงรายการ นับเป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญของวงจรการบัญชีเพื่อให้ได้งบการเงินที่ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จึงต้องทำทุกครั้งก่อนการปิดบัญชี และออกงบการเงิน

ประเภทของรายการที่ต้องปรับปรุง

รายการบัญชีที่ต้องปรับปรุง โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense)

2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses)

3. รายได้ค้างรับ (Accrued Revenues)� 4. รายได้รับล่วงหน้า (Deferred)

5. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation)� 6. วัสดุสิ้นเปลือง(Supplies)

7. หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

8. การแก้ไขข้อผิดพลาดการบันทึกบัญชี

44 of 84

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินไปแล้ว แต่ ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการยังไม่ได้รับบริการหรือรับบริการยังไม่ครบตามจำนวนเงินที่ได้จ่าย เช่น ค่าแรงงานจ่ายล่วงหน้า ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า บัญชีค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าถือว่าเป็น “สินทรัพย์หมุนเวียน” ซึ่งการบันทึกรายการแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. กรณีบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในวันที่จ่ายเงิน

15 ธ.ค. 2551 จ่ายเงินค่าจ้างร้านสมชายโฆษณารายเดือน เดือนละ 3,000 บาท

เดบิต ค่าโฆษณา 3,000.-

เครดิต เงินสด 3,000.-

13 ธ.ค. 2551 ปรับปรุงบัญชีโดย ตัดยอดรายจ่ายให้ลดลง และบันทึกบางส่วนเป็นสินทรัพย์

เดบิต ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า(15/30 x 3,000) 1,500.-

เครดิต ค่าโฆษณา 1,500.-

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

45 of 84

2. กรณีบันทึกเป็นสินทรัพย์ในวันที่จ่ายเงิน

15 ธ.ค. 2551 จ่ายเงินค่าจ้างร้านสมชายโฆษณารายเดือน เดือนละ 3,000 บาท

เดบิต ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า 3,000.-

เครดิต เงินสด 3,000

31 ธ.ค. 2551 ปรับปรุงบัญชีโดย ตัดยอดรายจ่ายให้ลดลง และบันทึกบางส่วนเป็นสินทรัพย์

เดบิต ค่าโฆษณา(15/30 X 3,000) 1,500.-

เครดิต-ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า 1,500.-

46 of 84

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายและจะจ่ายในงวดบัญชีต่อไป เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น เมื่อวันสิ้นงวดบัญชีจะต้องทำการปรับปรุงบัญชีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในงวดบัญชีนี้ให้เรียบร้อยจึงจะได้ยอดเงินค่าใช้จ่ายจริง และค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนและงบดุลได้ถูกต้อง ดังนั้นจึงถือว่าค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นบัญชีในหมวด “หนี้สินหมุนเวียน”

ธ.ค. 31 เดบิต ค่าใช้จ่าย....... xx

เครดิต ค่า.......ค้างจ่าย xx

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

47 of 84

รายได้ค้างรับ หมายถึง รายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีนี้แต่ยังไม่ได้รบเงินเมื่อวันสิ้นงวดและจะได้รับเงินงวดบัญชีหน้า เช่น ค่าเช่าค้างรับ เป็นต้น ซึ่งรายได้ค้างรับ ถือว่าเป็น “สินทรัพย์หมุนเวียน”

กิจการให้นาย ก เช่าสำนักงาน โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 6,000 บาท นายสนิทยังไม่ชำระค่าเช่าของเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2547

ธ.ค. 31 เดบิต รายได้ค่าเช่าค้างรับ 12,000

เครดิต รายได้ค่าเช่า 12,000

ปรับปรุงรายได้ค่าเช่าค้างรับ 2 เดือน

กิจการนำเงินสดฝากธนาคาร 48,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี ฝากธนาคารไว้ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2547 ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยเลย

ธ.ค. 31 เดบิต ดอกเบี้ยค้างรับ 2,000

เครดิต ดอกเบี้ยรับ(48,000 x 10/100 x 5/12) 2,000

รายได้ค้างรับ

48 of 84

รายได้รับล่วงหน้า (Unearned Income) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับจากลูกค้าล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการนออนาคต ดังนั้นจำนวนเงินที่ได้รับจึงถือว่าเป็นรายได้ของกิจการแต่จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จเรียบร้อยเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว จึงจะเปลี่ยนจากหนี้สินเป็นรายได้ตามส่วนที่ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว บริการที่ได้ให้แก่ลูกค้าในงวดนั้นจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นในงวดนั้น ส่วนจำนวนเงินที่กิจการได้รับไว้แต่ยังไม่ให้บริการในงวดนั้นจึงมีสภาพเป็นหนี้สินยกไปงวดหน้า เช่น ค่าเช่ารับล่วงหน้า เป็นต้น วิธีการบันทึกบัญชีรายได้รับล่วงหน้ามี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 บันทึกเป็นบัญชีหนี้สิน

วิธีที่ 2 บันทึกเป็นบัญชีรายได้

รายได้รับล่วงหน้า

49 of 84

วิธีที่ 1. บันทึกเป็นบัญชีหนี้สิน เมื่อมีรายการเกิดขึ้นจะบันทึกในบัญชีรายได้รับล่วงหน้า เมื่อสิ้นงวดจึงจะโอนส่วนทีได้ให้บริการแล้วไปเป็นบัญชีรายได้ ส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่ได้ให้บริการก็ยังคงเป็นหนี้สินซึ่งแสดงในบัญชีรายได้รับล่วงหน้า รอไปปรับปรุงในงวดที่จะใช้บริการต่อไป�� ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 25X2 หอพักเย็นสบายได้รับค่าเช่าล่วงหน้า จำนวนเงิน 6,000 บาท จากนางสาวสุดใจ สัญญาเช่า 1 ปี การปรับปรุงรายการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 25X2 ซึ่งเป็นวันสิ้นงวดจะเป็นดังนี้�� พ.ค. 1 เดบิต เงินสด 6,000� เครดิต ค่าเช่า 6000

50 of 84

ดังนั้นจึงต้องปรับปรุงรายการในวันสิ้นงวด เพื่อแสดงว่ากิจการมีรายได้ประจำงวด25x2 เกิดขึ้นเป็นจำนวน 4,000 บาท และลดค่าเช่ารับล่วงหน้าให้เหลือ 2,000 บาท� ธ.ค. 31 เดบิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า 4,000� เครดิต ค่าเช่า 4,000

วิธีที่ 2 เมื่อได้รับรายได้รับล่วงหน้ามาได้บันทึกไว้ในบัญชีค่าเช่ารับ ซึ่ง

เป็นบัญชีประเภทรายได้

พ.ค. 1 เดบิต เงินสด 6,000

เครดิต ค่าเช่ารับ 6,000

ธ.ค. 30 เดบิต ค่าเช่ารับ 2,000

เครดิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า 2,000

51 of 84

ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) หมายถึง ส่วนหนึ่งของมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่กิจการตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวดบัญชีที่ได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ จากการที่กิจการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ถาวรหลานชนิดเพื่อใช้ในการดำเนินงาน เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นต้น การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเป็นการจ่ายค่าใช้จ่ายล่วงหน้าระยะยาว เพราะสินทรัพย์ถาวรจะให้ประโยชน์แก่กิจการหลายงวดบัญชี การใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ถาวรในแต่ละงวดบัญชีจึงควรปันส่วนต้นทุนจองสินทรัพย์ที่ถูกใช้งานไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงวดนั้น ทั้งนี้ยกเว้นที่ดิน เพราะที่ดินให้ประโยชน์แก่กิจการไม่มีที่สิ้นสุดและไม่อาจกำหนดอายุการใช้งานของที่ดินได้จึงไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคาและนำค่าเสื่อมราคานี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ

ค่าเสื่อมราคา

52 of 84

ราคาของสินทรัพย์เหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยจนเป็นศูนย์ แต่ในทางบัญชีให้คงไว้อย่างน้อย 1 บาท จนกว่าจะจำหน่ายเลิกใช้งานหรือจำหน่ายสินทรัพย์นั้นออกไป

การคิดค่าเสื่อมราคามีหลายวิธี ถ้าใช้วิธีใดก็ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไป หากต้องการเปลี่ยนวิธีต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเสียก่อน วิธีคิดค่าเสื่อมราคามีดังนี้

วิธีเส้นตรง (Straight Line Method) โดยคิดเท่ากันทุกปี วิธีนี้นิยมใช้มากที่สุด

วิธีอัตราลดลง (Diminishing Balance) โดยคิดปีแรกมากที่สุด แล้วลดลงเรื่อยๆ

วิธีตีราคาใหม่ (Revaluation Process) โดยคิดไม่เท่ากัน เพราะอาศัยตีตามราคาตลาดทุกปี

วิธีคิดตามหน่วยผลิต (Unit Output Method) โดยคิดตามผลผลิตที่ทำได้

53 of 84

ข้อควรสังเกต การคิดค่าเสื่อมราคาในปีแรกและปีสุดท้ายของสินทรัพย์อาจจะต้องคำนวณนับแต่วันที่ได้สินทรัพย์นั้นมาจนถึงวันสิ้นปี และรวมถึงปีสุดท้ายด้วยในกรณีกำหนดอายุการใช้งาน เช่น ซื้ออุปกรณ์สำนักงาน 25,000 บาท เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2551 กำหนดอายุการใช้งาน 5 ปี ราคาซาก 100 บาท คำนวณค่าเสื่อมราคาได้ดังนี้

ปีที่ 1 ค่าเสื่อมราคา = 6½x(25000-100)/5 = 2,697.50

ปีที่ 2 ค่าเสื่อมราคา =(25000-100)/5 = 4,980.00

ปีที่ 3 ค่าเสื่อมราคา =(25000-100)/5 = 4,980.00

ปีที่ 4 ค่าเสื่อมราคา =(25000-100)/5 = 4,980.00

ปีที่ 5 ค่าเสื่อมราคา =(25000-100)/5 = 4,980.00

ปีที่ 6 ค่าเสื่อมราคา =5½x(25000-100)/5 = 2,282.50

(ปีสุดท้ายให้หัก 2,281.50)

รวม = 24,900.00

วิธีบันทึกบัญชี

ธ.ค. 31 เดบิต ค่าเสื่อมราคา-อุปกรณ์สำนักงาน 2697.50

เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม-อุปกรณ์สำนักงาน 2697.50

54 of 84

วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หมายถึง วัสดุหรือสิ่งของที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ ดินสอ ปากกา กาว กระดาษคาร์บอน ลวดเย็บกระดาษ เทป กาว ตะปู น้ำมันหล่อลื่น ฯลฯ อาจเรียกชื่อต่างกันไป เช่น วัสดุสำนักงาน วัสดุโรงงาน เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีให้ตรวจนับและตีราคา แล้วทำการปรับปรุงรายการ โดยในระหว่างปีบัญชีโดยทั่วไปจะบันทึกวัสดุเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ ณ วันสิ้นงวดบัญชีให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ระหว่างปีซื้อวัสดุสิ้นเปลือง 4,700 บาท สิ้นปีคงเหลือ 1,800 บาท

ธ.ค. 31 เดบิต วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป (4,700-1,800) 2,900.-

เครดิต วัสดุสิ้นเปลือง 2,900.-

วัสดุสิ้นเปลือง

55 of 84

หนี้สูญ (Bad Deb) หมายถึง ลูกหนี้ที่ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เหล่านี้ และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี

หนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts) หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ ถือเป็นค่าใช้จ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น แต่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร

ค่าเผื่อหนี้สูญหรือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Accounts) หมายถึง จำนวนเงินที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงเป็นรายการหักจากบัญชีลูกหนี้ในงบดุล เพื่อให้ยอดคงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับหนี้สูญมี 2 วิธีดังนี้

หนี้สูญ และหนี้สงสัยจะสูญ

56 of 84

1. วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง เป็นวิธีที่ง่าย บันทึกเมื่อเกิดหนี้สูญจริง โดย

เดบิต หนี้สูญ x,xxx.-

เครดิต ลูกหนี้ x,xxx.-

2. วิธีตั้งค่าเผื่อ โดยคำนวณจากร้อยละของยอดขาย เพราะกรณีขายเชื่อนั้นโอกาสหนี้สูญมักคิดสัดส่วนจากยอดขาย หรือคำนวณจากร้อยละของยอดลูกหนี้ เพราะลูกหนี้เท่านั้นที่ก่อให้เกิดหนี้สูญ (วิธีนี้ถ้ามียอดเดิม ให้นำมาหักออกจากยอดที่คำนวณได้) หรืออาจจะคำนวณจากลูกหนี้แต่ละราย เพื่อให้ได้ยอดที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด เมื่อคำนวณได้แล้ว บันทึกบัญชีโดย

เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ x,xxx.-

เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ x,xxx.

เมื่อแน่ใจว่าจะเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ จึงบันทึกบัญชี ดังนี้

เดบิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ x,xxx.-

เครดิต ลูกหนี้ x,xxx.-

57 of 84

หนี้สูญได้รับ หมายถึง ลูกหนี้ที่เคยตัดเป็นหนี้สูญไปแล้ว ภายหลังนำเงินมาชำระให้กิจการ ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งจำนวน บันทึกได้ 2 กรณีดังนี้

กรณีตัดเมื่อหนี้สูญจริง ให้ตั้งลูกหนี้ขึ้นใหม่ แล้วบันทึกการรับเงิน ดังนี้

เดบิต ลูกหนี้ x,xxx.-

เครดิต หนี้สูญได้รับคืน x,xxx.-

เดบิต เงินสด x,xxx.-

เครดิต ลูกหนี้ x,xxx.-

กรณีตั้งค่าเผื่อหนี้สูญ ให้ตั้งลูกหนี้ขึ้นใหม่พร้อมลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ แล้วบันทึกการรับเงิน ดังนี้

เดบิต ลูกหนี้ x,xxx.-

เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ x,xxx.-

เดบิต เงินสด x,xxx.-

เครดิต ลูกหนี้ x,xxx.-

58 of 84

งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี (ADJUSTED TRIAL BALANCE) เป็นงบทดลองที่จัดทำขึ้น หลังจากการบันทึกรายหารปรับปรุงต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว และจะต้องทำเมื่อวันสิ้นงวดบัญชี เพื่อพิสูจน์ว่า กิจการค่าได้ลงบัญชีตามหลักบัญชีคู่ถูกต้องหรือไม่ เป็นงบทดลองก่อนรายการปรับปรุง แต่หลังจากทำรายการปรับปรุงบัญชีต่างๆ แล้ว ก็จะมียอกบัญชีเพิ่มขึ้นหรือหายไป ดังนี้ หลังจากที่ได้การปรับปรุงแล้ว จึงจำเป็นต้องทำงบทดลองอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการลงบัญชี ซึ่งเรียกว่า “งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี”

งบทดลองหลังรายการปรับปรุงบัญชี

59 of 84

ข้อผิดพลาดในทางบัญชีอาจพบได้หลายทาง เช่น พบจากการตรวจสอบบัญชี พบโดยบังเอิญ พบเมื่อทำงบทดลอง

ข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้แก่ การเขียนสลับตัวเลข เช่น 543 เขียนเป็น 534 การเขียนตัวเลขเลื่อนหลัก เช่น 123.50 เป็น 12.35 หรือ ลืมบันทึกรายการ บันทึกรายการซ้ำ บันทึกผิดบัญชี จำนวนเงินผิดพลาด ผ่านรายการผิดบัญชี รวมยอดผิด ฯลฯ

การแก้ไขทำได้ 2 กรณีคือ

1. กรณียังไม่ได้ปิดบัญชี ให้แก้ไขตามหลักการบัญชีปกติได้ทั้ง ๕ หมวดบัญชี

2. กรณีปิดบัญชีแล้ว ในหมวด 1-3 ให้แก้ไขตามหลักการบัญชีปกติ ในหมวด 4-5 ให้แก้ไขร่วมกับหมวด 3 เพราะกำไรขาดทุนได้ถูกโอนไปบัญชีทุนเรียบร้อยแล้ว)

การแก้ไขข้อผิดพลาด

60 of 84

เมื่อปรับปรุงรายการ ณ วันสิ้นงวดบัญชีแล้ว เมื่อขึ้นปีบัญชีใหม่ จะต้องกลับรายการสำหรับบัญชี 4 ประเภทต่อไปนี้

- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

- รายได้ค้างรับ

- ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

- รายได้รับล่วงหน้า

ทั้งนี้เมื่อเกิดรายการค้าตามปกติ วิธีการนี้จะทำให้บัญชีมียอดที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดนั่นเอง

การกลับรายการ (Reversing Entries)

61 of 84

ความหมายของกระดาษทำการ

รูปแบบกระดาษทำการ 8 ช่อง

ขั้นตอนการจัดทำกระดาษทำการ 8 ช่อง

การจัดทำงบการเงินสำหรับกิจการเจ้าของคนเดียวประเภทธุรกิจซื้อขายสินค้า

งบกำไรขาดทุน

งบดุล

กระดาษทำการและงบการเงิน

62 of 84

ความหมายของกระดาษทำการ (8 Columns Work Sheet)

กระดาษทำการ หมายถึง กระดาษร่างที่นำมาใช้ในการจำแนกตัวเลข จำนวนเงินของบัญชีต่าง ๆ ในงบทดลองเพื่อช่วยในการจัดทำงบการเงินให้รวดเร็วขึ้น กระดาษทำการจะมีช่องรายการบัญชีดังนี้ งบทดลองก่อนปรับปรุงรายการ ช่องรายการปรับปรุง บัญชีกำไรขาดทุน และงบดุล กระดาษทำการจะทำขึ้นหลังจากที่กิจการได้บันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นในสมุดรายวันทั่วไปและผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้บันทึกรายการปรับปรุงบัญชี ดังนั้นกระดาษทำการจึงเป็นสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสมุดบัญชีและหลักฐานต่าง ๆ กับรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

63 of 84

ชื่อบัญชี

เลขที่บัญชี

งบทดลอง

รายการปรับปรุง

งบกำไรขาดทุน

งบดุล

เดบิต

เครดิต

เดบิต

เครดิต

เดบิต

เครดิต

เดบิต

เครดิต

(2)

(3)

(4)

(4)

(5)

(5)

(6)

(6)

(7)

(7)

ชื่อกิจการ..... (1.1)

กระดาษทำการ (1.2)

สำหรับรอบระยะเวลา...สิ้นสุดวันที่.... (1.3)

64 of 84

1. ส่วนหัวของกระดาษทำการ

1.1 ชื่อกิจการ

1.2 ข้อความที่ระบุว่า “กระดาษทำการ”

1.3 รอบระยะเวลาบัญชีและงวดบัญชีที่จัดทำ

2. ช่องชื่อบัญชี

3. ช่องเลขที่บัญชี

4. ช่องงบทดลอง แบ่งออกเป็นด้าน เดบิตและเครดิต

5. ช่องรายการปรับปรุง แบ่งเป็นด้าน เดบิตและเครดิต

6. ช่องงบกำไรขาดทุน แบ่งออกเป็นด้าน เดบิตและเครดิต

7. ช่องงบดุล แบ่งออกเป็นด้าน เดบิตและเครดิต

65 of 84

1.เขียนหัวกระดาษทำการ  โดยเริ่มที่ชื่อของกิจการ  บรรทัดถัดมาบอกเป็นกระดาษทำการและบรรทัดสุดท้ายให้บอกเป็นระยะเวลางวดที่เราจัดทำ เช่น  งวด 3  เดือน  6  เดือน  หรือปี  และสิ้นสุดในการดำเนินงานวันที่เท่าใด

2.ลอกงบทดลองลงในกระดาษทำการ โดยเริ่มตั้งแต่การเขียนชื่อบัญชี  เลขที่บัญชี  และจำนวนเงินลงในช่องที่กำหนด  เดบิต หรือ เครดิต ตามหมวดบัญชี  ซึ่งต้องเรียงลำดับหมวดบัญชีจากหมวด

1 – หมวด 5  แล้วรวมยอด ซึ่งจะต้องเท่ากันทั้ง 2  ด้าน

ขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการ

66 of 84

3.นำรายการปรับปรุงจากสมุดรายวันทั่วไป ลงจำนวนเงินในช่องรายการปรับปรุง โดยหาชื่อบัญชีจากงบทดลอง ในกรณีไม่มีชื่อบัญชีที่ต้องการให้เติมชื่อบัญชีต่อจากบรรทัดรวมเงินของงบทดลอง  ซึ่งจำนวนเงินที่ปรากฏในช่องปรับปรุงจะต้องมีหมายเลขกำกับเป็นคู่ เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบ  เมื่อนำมาครบทุกรายการให้รวมเงินในช่องปรับปรุง ยอดรวม 2  ด้านต้องเท่ากัน

67 of 84

4. นำตัวเลขหมวดบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ไปไว้ในงบดุลให้ตรงกับด้านที่ปรากฏในงบทดลอง หรือในรายการปรับปรุง  หากมีบัญชีในงบทดลอง และในรายการปรับปรุงด้วยและปรากฏอยู่ด้านเดียวกันให้นำมาบวกกัน แต่หากอยู่คนละด้านให้นำมาหักกันแล้วจึงจะนำไปไว้ในงบดุล  (ยกเว้นสินค้าคงเหลือต้นงวด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย จึงต้องนำไปไว้ในช่องเดบิตของงบกำไรขาดทุน) 

5.นำตัวเลขหมวดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายรวมทั้งสินค้าคงเหลือต้นงวดไปไว้ในงบกำไรขาดทุน (ใช้วิธีเดียวกันกับขั้นที่ 4)

68 of 84

6. ให้รวมยอดในงบกำไรขาดทุนและงบดุล  ซึ่งยอดจะไม่เท่ากันเพราะจะเกิดผลมีผลรวมน้อยกว่า ให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเดบิต และเขียนคำอธิบายในกำไร หรือขาดทุนนั้นเอง 

ดูผลต่างในงบกำไรขาดทุน  โดยให้ใส่ยอดผลต่างในด้านที่น้อยกว่า  เช่น  ยอดด้านเดบิตช่องชื่อบัญชีว่ากำไรสุทธิ  และหากยอดด้านเครดิตมีผลรวมน้อยกว่าให้นำผลต่างมาไว้ในด้านเครดิตและให้เขียนอธิบายในช่องชื่อบัญชีว่า ขาดทุนสุทธิ

8. รวมยอดทั้งสองด้านอีกครั้ง ทั้งในงบกำไรขาดทุน และงบดุลซึ่งคราวนี้ยอดรวมต้องเท่ากัน

69 of 84

เป็นรายงานทางการเงินที่นำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงฐานะทางการเงินผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการโดยถูกต้องตามที่ควรในแต่ละงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่งหรือระหว่างงวดบัญชีก็ได้ งบการเงินจะแสดงข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรก็ต่อเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอย่างเหมาะสม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น งบการเงินดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ซึ่งได้รับความไว้วางใจให้ดูแลทรัพยากรของกิจการ งบการเงินต้องจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และต้องนำเสนอข้อมูลดังต่อไปนี้คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ ค่าใช้จ่าย และกระแสเงินสด�

งบการเงิน ( Financial Statement )

70 of 84

ส่วนประกอบของงบการเงิน ควรประกอบด้วย

1. งบดุล [ Balance Sheet ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง

2. งบกำไรขาดทุน [ Income Statement ] เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในระหว่างงวดบัญชี หรือสิ้นงวดบัญชีใดบัญชีหนึ่ง

3. งบแสดงการเปลี่ยนในส่วนของเจ้าของ [ Statement of Changes in owner Equity ] หมายถึง รายงานที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

71 of 84

1. งบการเงินประจำปี เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้น ณ วันสิ้นงวดบัญชี เพื่อแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดในรอบปีบัญชีนั้นๆ ของกิจการ

2. งบการเงินระหว่างกาล เป็นงบการเงินที่จัดทำขึ้นระหว่างงวดบัญชีเพื่อแสดงฐานะทางเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและผู้ใช้งบการเงินได้ทราบข้อมูลทางการเงินก่อนสิ้นงวดบัญชี เช่น งบการเงินรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี เป็นต้น

การนำเสนองบการเงิน มี 2 ประเภท

72 of 84

วิธีการจัดทำงบกำไรขาดทุน   

1. การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน มีวิธีการจัดทำเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้�   ขั้นที่ 1 บรรทัดแรก - เขียนชื่อกิจการตรงกลางหน้ากระดาษ�           บรรทัดที่ 2 - เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”�            บรรทัดที่ 3 - เขียนช่วงระยะเวลาของรอบบัญชีและวันที่สิ้นงวด��

งบกำไรขาดทุน ( Financial Statement)

73 of 84

ร้านพรเพ็ญพาณิชย์

งบกำไรขาดทุน

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25xx

รายได้ :

รายได้จากการขาย xx

ค่าใช้จ่าย :

ต้นทุนขาย (รายละเอียด 1) xx

ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร xx xx

กำไรสุทธิ xx

งบกำไรขาดทุนแบบรายงาน

74 of 84

สินค้าคงเหลือต้นงวด

xx

-

ขายสินค้า

xx

-

ซื้อสินค้า

xx

-

สินค้าคงเหลือปลายงวด

xx

-

ค่าโฆษณา

xx

-

เงินเดือน

xx

-

ค่าใช้จ่ายในการขาย

xx

-

ค่าเบี้ยประกัน

xx

-

ค่าเสื่อมราคาอาคาร

xx

-

ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์

xx

-

หนี้สงสัยจะสูญ

xx

-

วัสดุสำนักงานใช้ไป

xx

-

กำไรสุทธิ

xx

-

xx

-

xx

-

งบกำไรขาดทุนแบบบัญชี

ร้านพรเพ็ญพาณิชย์

งบกำไรขาดทุน

สำหรับรอบระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25xx

75 of 84

          งบดุลเป็นงบที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นงวด หรือวันที่จัดทำงบดุลนั้น บัญชีที่แสดงในงบดุล ได้แก่ บัญชีประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุนหรือส่วนของเจ้าของ

งบดุล (Balance Sheet)

76 of 84

กิจการสามารถจัดทำงบดุลแบบรายงาน โดยมีวิธีจัดทำดังนี้�      ขั้นที่1 บรรทัดแรก - เขียนชื่อกิจการตรงกลางหน้ากระดาษ�                 บรรทัดที่ 2 - เขียนคำว่า “งบดุล”�                 บรรทัดที่ 3 - เขียนวันที่ ณ วันสิ้นงวดบัญชีที่ทำงบดุล�

วิธีการจัดทำงบดุล

77 of 84

ขั้นที่ 2 ในงบดุลเขียนคำว่า “สินทรัพย์” ไว้กลางหน้ากระดาษ แล้วเขียนรายการสินทรัพย์ต่างๆ พร้อมจำนวนเงิน โดยเรียงลำดับตั้งแต่สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยเขียนรายการสินทรัพย์แบ่งแยกตามประเภทของสินทรัพย์ และรวมยอดจำนวนแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และยอดรวม�สินทรัพย์ทั้งหมดด้วย�               ขั้นที่ 3 เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากรายการสินทรัพย์ไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ แล้วเขียนรายการหนี้สินก่อนแล้วตามด้วยรายการส่วนของเจ้าของ และรวมยอดจำนวนเงินของหนี้สินละส่วนของเจ้าของ ซึ่งยอดรวมของสินทรัพย์ทั้งหมดต้องเท่ากับยอดรวมของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ�

78 of 84

การปิดบัญชี

การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

การปิดบัญชีในบัญชีแยกประเภททั่วไป

งบทดลองหลังรายการปิดบัญชี

วงจรบัญชี

79 of 84

 

การปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

1. บันทึกต้นทุนขายด้านเดบิต โดยปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ (ต้น) บัญชีซื้อ บัญชีค่าขนส่งเข้า

ทางด้านเครดิต

2. บันทึกต้นทุนขายด้านเครดิต โดยปิดบัญชีสินค้าคงเหลือ (ปลาย) บัญชีส่งคืน บัญชีส่วนลดรับ

ทางด้านเดบิต

3. บันทึกบัญชีกำไรขาดทุนด้านเครดิต โดยปิดบัญชีขาย บัญชีรายได้ต่างๆ ทางด้านเดบิต

4. บันทึกบัญชีกำไรขาดทุนด้านเดบิต โดยปิดบัญชีต้นทุนขาย บัญชีรับคืน บัญชีส่วนลดจ่าย

บัญชีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด ทางด้านเครดิต

5. ปิดบัญชีกำไรขาดทุน ดังนี้

5.1 ถ้ากิจการค้ามีกำไรสุทธิ จะเดบิตบัญชีกำไรขาดทุน(ผลต่างของข้อ 3 และข้อ 4)

เครดิตบัญชีกำไรสะสม(กรณีเป็นบริษัทจำกัด)

5.2 ถ้ากิจการค้ามีขาดทุนสุทธิ จะเครดิตบัญชีกำไรขาดทุน(ผลต่างของข้อ 3 และข้อ 4)

เดบิตบัญชีกำไรสะสม

80 of 84

การปิดบัญชีในบัญชีแยกประเภททั่วไป

           เมื่อบันทึกรายการปิดบัญชีทั้ง 5 รายการในสมุดรายวันทั่วไป

เรียบร้อยก็ผ่านรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทตามชื่อบัญชีต่างๆ

รวมทั้งอ้างอิงเลขที่บัญชีด้วย  � ปิดบัญชีต่างๆ ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป โดยหายอดคงเหลือยกไป

และยกมาในงวดบัญชีใหม่หรือปิดให้หมดไป

ถ้าบัญชี นั้นไม่มียอดคงเหลือเลย

81 of 84

พ.ศ.25XX

รายการ

หน้า

บัญชี

เดบิต

พ.ศ.25XX

รายการ

หน้า

บัญชี

เดบิต

เดือน

วัน

ที่

บาท

เดือน

วัน

ที่

บาท

ม.ค.

1

ยอดยกมา

/

15000

-

ธ.ค.

31

ต้นทุนสินค้าที่ขาย

ร.ว.1

15000

-

ธ.ค.

31

ต้นทุนสินค้าที่ขาย

ร.ว.1

24000

ยอดยกไป

/

24000

-

39000

39000

2548

ม.ค.

1

ยอดยกมา

/

24000

-

บัญชีสินค้าคงเหลือ เลขที่ 14

ตัวอย่างการปิดบัญชีในบัญชีแยกประเภททั่วไป

82 of 84

งบทดลองหลังรายการปิดบัญชี

คือ หลังจากกิจการได้ปิดบัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย และหายอดคงเหลือ

ยกไปของบัญชีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของแล้ว การจัดทำงบทดลองหลังรายการปิดบัญชี

(Trial Balance After Closing Entries) จะปรากฏเฉพาะยอดคงเหลือยกไปของบัญชีประเภทสินทรัพย์

หนี้สินและส่วนของเจ้าของเท่านั้นงบที่จัดทำขึ้นด้วยการนำยอดดุลในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ

ไม่ว่าจะอยู่ด้านเดบิต หรือเครดิตก็ตามมาคำนวณหายอดคงเหลือทั้งสองด้าน เพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง

ในการบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีคู่ ในวันใดวันหนึ่ง เช่น ทุกสิ้นเดือน ทุก 3 เดือน หรือเมื่อสิ้นงวดบัญชี

83 of 84

วงจรบัญชี

วงจรบัญชี หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ที่ผู้ทำบัญชีจะต้องปฏิบัติงาน

ทางด้านบัญชีของทุกงวดบัญชี โดยเริ่มจากการจดบันทึกรายการต่าง ๆ

ทางด้านการเงินและจดบันทึกให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อจัดทำรายการทางบัญชี

ในรูปของงบกำไรขาดทุนและงบดุลเสนอกับบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความสนใจ

ได้ทราบข้อมูล เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

84 of 84

ขั้นตอนต่าง ๆ ของวงจรบัญชี มีดงนี้

  • วันเริ่มงวดบัญชีใหม่
  • รายการค้า
  • การวิเคราะห์รายการค้า
  • การบันทึกรายการค้าเกี่ยวกับสินค้าในสมุดรายวันทั่วไป
  • การบันทึกรายการซื้อ-ส่งคืน-ขาย-รับคืนสินค้าในสมุดรายวันเฉพาะ
  • การผ่านรายการค้าไปบัญชีแยกประเภททั่วไป
  • การจัดทำงบทดลอง
  • การบันทึกรายการปรับปรุงบัญชีวันสิ้นงวดบัญชี
  • การจัดทำงบทดลองหลังการปรับปรุงบัญชี
  • การจัดทำกระดาษทำการ 8 ช่อง
  • การจัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล
  • การปิดบัญชีในสมุดรายวันและบัญชีแยกประเภททั่วไปเมื่อวันสิ้นงวดบัญชี