1 of 15

การเคลื่อนกล้องและศัพท์เทคนิคต่าง ๆ�

2 of 15

���ศัพท์เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ�

  • โปรเจค = ชื่องาน
  • ฟุตเทจ = วัตถุดิบทั้งหลายที่นำมาใช้ในการตัดต่อ
  • แคปเจอร์ = การนำภาพที่ถ่ายทำ มาถ่ายข้อมูลเข้าเครื่อง
  • ทรานสิชั่น = การเปลี่ยนจากช็อตสู่ช็อต
  • เอฟเฟค = การปรับแต่งภาพหรือเสียงให้เปลี่ยนไปจากเดิม
  • มาร์คอิน = จุดเริ่มต้นช็อตที่เราต้องการ
  • มาร์คเอาท์ = จุดสิ้นสุดของช็อตที่เราต้องการ
  • อินเสิร์ท = การนำภาพหนึ่งมาแทรกระหว่างภาพสองภาพที่มีอยู่เดิม
  • โอเวอร์เลย์ = การนำภาพหนึ่งมาทับลงไปบนภาพหนึ่ง
  • โพสสิชั่น = ตำแหน่งของภาพ
  • ออปพาซิตี้ = ความจาง ความเข้มของภาพ
  • ซีเคว้น = ภาพที่มาต่อกันเป็นตอน
  • ไทม์ไลน์ = ที่ ๆ ช็อตมาต่อเนื่องกันตามเงื่อนไขของเวลา

3 of 15

�การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement) �

  • 1. Panning shot คือการเปลี่ยนมุมกล้องเป็นแนวระนาบ จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้าย กล้องจะตั้งอยู่กับที่ การแพนแตกต่างจากธรรมชาติการมองเห็นของคน เพราะเวลาเรากวาดสายตามงอเหตุการณ์ใด          เหตุการณ์หนึ่ง สายตาของเราจะมองจากจุดเริ่มไปจุดสุดท้าย โดยมองข้ามรายละเอียดระหว่างนี้ การ แพน มักใช้เพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของตัวละครให้อยู่ในกรอบภาพ
  • Swish pan คือ การหันกล้องอย่างรวดเร็ว จนภาพในระหว่างนั้นพร่ามัว มักใช้แทนการตัดภาพโดยที่ยังสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์หนึ่งกับเหตุการณ์หนึ่ง
  • 2. Track shot คือการการเปลี่ยนมุมกล้องไปในแนวราบ จากซ้ายไปขวาหรือจากขวาไปซ้าย แตกต่างจาก ตรงที่กล้องเคลื่อนไหวด้วย
  • 3. Dolly คือการการเปลี่ยนมุมกล้องไปในแนวราบไปข้างหน้า หรือถอยหลังก็ได้ โดยกล้องจะเคลื่อนที่ไปด้วย

4 of 15

การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement)ต่อ �

  • 4. Tilt คือ การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง เงยหรือก้ม โดยตัวกล้องอยู่กับที่ ใช้เพื่อรักษาตัวละครที่เคลื่อนไหวในเฟรมภาพ ใช้เพื่อบอกถึงความฉับไว ใช้เพื่อเปิดเผยความจริงบางอย่าง หรือใช้แทนสายตาตัวละครที่มองขึ้นหรือมองลง
  • 5. Crane shot คือ การเคลื่อนไหวกล้องจะออกมาในลักษณะของการเคลื่อนขึ้นหรือลง แต่บางครั้งก็เคลื่อนเหล่านี้เป็นแนวทแยง เคลื่อนที่เข้าหา หรือถอยออก หรือผสมผสานการเคลื่อนเหล่านี้เข้าด้วยกัน
  • 6. hand-held shot คือ ภาพที่ได้ให้ความรู้สึกสั่นไหว และกระตุก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากถ่ายภาพวัตถุหรือตัวละครที่อยู่ในระยะใกล้ บางช็อทใช้เพื่อแทนสายตาตัวละคร เพื่อทำหผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมกับเหตุการณ์มากขึ้น

5 of 15

จุดมุ่งหมายของการเคลื่อนกล้อง

  • 1. ตอนที่มีการเคลื่อนกล้องขึ้นมาก็เพื่อแสดงการเคลื่อนไหวของตัวละคร (Travelling shot) แต่หลังจากนั้นก็เริ่มมีการนำเอาการเคลื่อนกล้องไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น
  • 2. ใช้เคลื่อนกล้องเพื่อจะนำคนดูเข้าสู่เนื้อเรื่องของหนัง หรือไม่ก็นำออกมาจากเนื้อเรื่อง เรียกว่า Lead In และ Lead Out ตัวอย่างเช่นกล้องจับภาพถนนสายหนึ่งแล้วเลื่อนเข้าไปใกล้จนถึงบ้านหลังหนึ่ง คือการ Lead In ในทำนองเดียวกันการ Lead Out ก็เริ่มจากภาพในระยะใกล้และถอยออก ทั้งนี้จำเป็นว่าจะต้องใช้เฉพาะในช่วงเปิด-ปิดเรื่องเท่านั้นแต่จะใช้ตอนไหนก็ได้
  • 3. ใช้เพื่อเล่าเรื่อง () ที่เห็นกันบ่อยก็คือ ตัวละครเดินเข้ามาในห้องจากนั้นก็จะตัดภาพแทนสายตาตัวละครมองกวาดไปรอบๆ ห้องว่ามีอะไรอยู่บ้าง

การใช้กล้องเพื่อสร้างอารมณ์ร่วม ()

6 of 15

ขนาดภาพ

  • ภาพไกลมาก (Extreme Long Shot หรือ ELS)
  • ขนาดภาพลักษณะนี้กล้องจะตั้งอยู่ไกลจากสิ่งที่ถ่ายมาก  ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นภาพมุม-กว้าง  ผู้ชมสามารถมองเห็นองค์-ประกอบของฉากได้ทั้งหมด  สามรถมองเห็นสิ่งที่ถ่ายได้เต็มสัดส่วน  แม้สิ่งที่ถ่ายนั้นจะมีขนาดเล็กก็ตาม  ซึ่งภาพลักษณะนี้  จะใช้เป็นภาพแนะนำ-สถานที่  เหมาะสำหรับการปูเรื่อง  เริ่มเรื่อง  ซึ่งภาพยนตร์ในต่างประเทศนิยมใส่ไตเติ้ลส่วนหัวไว้ในฉากประเภทนี้ตอนที่ภาพยนตร์ริ่มเข้าเนื้อเรื่อง�ภาพขนาดไกลนี้จะสร้างความรู้สึกโอ่อ่า  อลังการ  แสดงออกถึงความใหญ่โตของสถานที่  ความน่าเกรงขาม  ความยิ่งใหญ่  และยังสามารถสร้างความประทับใจรวมถึงสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้อีกด้วย  �เช่น  กลุ่มเรือโจรสลัดกำลังแล่นเรือออกสู่ทะเลกว้างโดยมีเรือของหัวหน้าโจรสลัดแล่นออกเป็นลำหน้า  ตามด้วยกลุ่มเรือลูกน้องอีกนับ 10ลำ  โดยใช้ภาพขนาดไกลมาก  ตั้งกล้องในมุมสูงทำให้ผู้ชมเห็นถึงความยิ่งใหญ่และน่าเกรงขามของโจรสลัดกลุ่มนี้  �เป็นต้น

7 of 15

  • ภาพไกล (Long Shot หรือ LS)�     ขนาดภาพแบบนี้ไม่สามารถกำหนดระยะห่างระหว่างกล้องกับสิ่งที่ถ่ายได้  แต่จะกำหนดโดยประมาณว่าสิ่งที่ถ่ายจะอยู่ในกรอบภาพ (Frame) พอดี  ถ้าเป็นคน  ศีรษะจะพอดีกับกรอบภาพด้านบน  ส่วนกรอบภาพด้านล่างก็จะพอดีกับเท้า  ซึ่งสามารถเห็นบุคลิก�อากัปกิริยาการแสดง  การเคลื่อนไหว  ตำแหน่งที่อยู่ในการแสดงหรือในฉาก  ด้วยเหตุนี้จึงสามารถใช้เป็นภาพแนะนำตัวละคร หรือเริ่มฉากใหม่ได้  บางครั้งอาจใช้เป็นภาพในฉากเริ่มเรื่องได้เช่นเยวกันกับภาพขนาดไกลมาก  และบางครั้งภาพขนาดไกลยังมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เอสทาบริชชิง ช็อต (Establishing Shot)  ส่วนองค์ประกอบรอบข้างผู้ชมจะได้เห็นรายละเอียดชัดเจนมากขึ้น

8 of 15

  • ภาพปานกลาง Medium Shot หรือ MS)�     ขนาดภาพลักษณะนี้ถ้าเป็นภาพบุคคล  ผู้ชมจะได้เห็นตั้งแต่เอวของนักแสดงขั้นไปจนถึงศีรษะ  ขนาดภาพแบบนี้ผู้ชมสามารถเห็นการเคลื่อนไหวของนักแสดง  และรายละเอียดของฉากหลังพอสมควร  ซึ่งพอที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆได้  จึงถือได้ว่าเป็นภาพที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ในเรื่องได้ดีขนาดภาพปานกลาง  เป็นขนาดภาพที่นิยมใช้มากที่สุด  เพราะใช้เป็นภาพเชื่อมต่อ  กล่าวคือ  การเปลี่ยนขนาดภาพจากภาพไกลมาเป็น� ภาพไกล้หรือจากภาพใกล้มาเป็นภาพไกลก็ตาม  จะต้องเปลี่ยนมาเป็นภาพขนาดปานกลางเสียก่อน  ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ชม� เนื่องจากภาพจะกระโดด�  นอกจากนี้ภาพขนาดปานกลางยังนิยมใช้ถ่ายภาพบุคคล 2 คนในฉากเดียวกัน  หรือที่เรียกกันว่า  ภาพ Two Shot ซึ่งนิยมใช้กันมาก� ในภาพยนตร์บันเทิง

9 of 15

  • ภาพใกล้ (Close-Up หรือ CU,  Close Shot หรือ CS) �     ภาพใกล้  ผู้ชมจะมองเห็นนักแสดงตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป  เป็นขนาดภาพที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ของนักแสดงได้มากที่สุด  เพราะการใช้ภาพขนาดใกล้ถ่ายบริเวณใบหน้าของนักแสดง  จะสามารถภ่ายถอดรายละเอียด  เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในของนักแสดงได้อย่างชัดเจนมาก  นอกจากนี้ยังจะทำให้ผู้ชมได้รู้สึกใกล้ชิดกับสิ่งที่ถ่ายอีกด้วยทั้งนี้เพื่อทำให้เข้าใจถึงรายละเอียดของวัตถุต่างๆ  ตามเนื้อหาที่กำลังนำเสนอ  และ�ภาพขนาดใกล้นี้ยังสามารถบังคับให้ผู้ชมสนใจในวัตถุที่กล้องกำลังถ่าย  หรือสิ่งที่กำลังนำเสนอ

10 of 15

  • ภาพใกล้มาก (Extreme Close-Up Shot หรือ ECU, Big Close-Up Shot หรือ BCU)�     เป็นภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มากๆ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่ถ่าย  เพื่อให้ผู้ชมเห็นรายละเอียดของวัตถุ  หรือเพื่อเพิ่มความเข้าใจในกรณีที่วัตถุมีขนาดเล็กมากๆ  เช่น  การถ่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นหรือถ้าถ่ายใบหน้านักแสดง  ก็เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ของนักแสดงเช่น  จับภาพที่ดวงตาของนักแสดง  ทำให้เห็นน้ำตาที่กำลังใหลออกจากดวงตา  เป็นต้นและทั้งหมดนี้ก็เป็นขนาดภาพที่นิยมนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของภาพยนตร์  ซึ่งตมความเป็นจริงแล้ว  เราสามารถที่จะประยุกต์หรือดัดแปลงขนาดภาพไปเป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ผิดอะไร  เพียงแต่ทั้งหมดนี้เป็นขนาดภาพสากลที่ทำให้เรา (ทีมงานถ่ายทำภาพยนตร์) เข้าใจตรงกันว่าต้องการให้ภาพออกมาในลักษณะใดเท่านั้น  นอกจากนี้อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้ชมจะได้รับขณะชมภาพยนตร์  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดภาพเพียงย่างเดียว  แต่ต้องอาศัยองค์ประกอบของภาพยนตร์อื่นๆ  เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ  และความเป็นภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น

11 of 15

มุมกล้อง

  • มุมกล้อง (Camera Angle)�    มุมกล้องจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการจัดองค์ประกอบเพื่อการถ่าภาพยนตร์  ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดภาพด้วย  หากสังเกตุจากบทภาพยนตร์โดยทั่วไปนั้น  จะเห็นว่า�รายละเอียดเรื่องของขนาดภาพและมุมกล้องต้องถูดเขียนมาควบคู่กัน  ซึ่งบางครั้งอาจจะรวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่ของกล้องอีกด้วย�    มุมกล้องเกิดจากความสัมพันธ์กันระหว่างระดับการตั้งกล้องภาพยนตร์กับวัตถุที่ถ่าย  การเลือกใช้มุมกล้องในระดับต่างๆจะทำให้เกิดผลด้านภาพ�ที่แตกต่างกันไป  รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมที่จะแตกต่างกันออกไปด้วย�หากจะแบ่งมุมกล้องในระดับต่างๆโดยเริ่มจากระดับสูงก่อนสามารถแบ่งได้ดังนี้�

12 of 15

มุมกล้อง

1.  มุมกล้องระดับสายตานก (Bird's eye view)�  เป็นการตั้งกล้องในระดับเหนือศีรษะหรือเหนือวัตถุที่ถ่าย  ภาพที่ถูกบันทึก�  จะเหมือนกับภาพที่นกมองลงมาด้านล่าง  เมื่อผู้ชมเห็น ภาพแบบนี้จะทำ�  ให้ดูเหมือนกำลังเฝ้ามองเหตุการณ์จากด้านบน  มุมกล้องในลักษณะนี้      �  จะทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช่วยเหลือ�  ตัวเองไม่ได้  เวิ้งว้าง  ไร้อำนาจ  ตกอยู่ในภาวะคับขัน  ไม่มีทางรอด  �  เพราะตามหลักความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราจะเคยชินกับการยืน นั่ง นอน เดิน  �   หรือใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนพื้นโลกมากกว่าที่จะเดินเหินยู่บนที่สูง  และด้วยความ�   ที่มุมภาพในระดับนี้ไม่สามารถมองเห็นรายละเอียดในฉากได้ครบ�   เพราะเป็นภาพที่มองตรงลงมา  จึงทำให้ภาพรู้สึกลึกลับ  น่ากลัว  เหมาะกับ�   เรื่องราวที่ยังไม่อยากเปิดเผยตัวละครหรือเป็นภาพยนตร์สยองขวัญ�

13 of 15

มุมกล้อง

  •  2. มุมกล้องระดับสูง (Hight Angle)�ตำแหน่งของกล้องมุมมนี้จะอยู่สูงกว่าสิ่งที่ถ่าย  การบันทึกภาพในลักษณะนี้ จะทำให้เห็นรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเท่ากันโดย ตลอด  จึงทำให้ภาพในระดับนี้มีความสวยงามทางด้านศิลปะมากกว่าภาพใน�ระดับอื่น  นอกจากนี้สิ่งที่ถูกถ่ายด้วยกล้องระดับนี้มักจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่�ถ่ายมีความต่ำต้อย  ไร้ค่า  ไร้ความหมาย สิ้นหวัง  ความพ่ายแพ้�

14 of 15

มุมกล้อง

  • 3. มุมกล้องระดับสายตา (Eye Level)�มุมล้องในระดับนี้เป็นมุมกล้องในระดับสายตาคน  ซึ่งเป็นการเลียนแบบมาจากการมองเห็นของคน  ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนเราจะมองออกมาในระดับสายตาตัวเอง  ทำให้ภาพที่ผู้ชมเห็นรู้สึกมีความเป็นกันเอง  เสมอภาค  และเหมือนตัวเองได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วยแต่รายละเอียดของภาพในระดับนี้จะสามารถมองเห็นได้แต่ด้านหน้าเท่านั้น�

15 of 15

มุมกล้อง

4. มุมกล้องระดับต่ำ (Low Angle)

เป็นการตั้งกล้องในระดับที่ต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย  เวลาบันภาพต้องเงยกล้องขึ้นภาพมุมต่ำนี้ก็มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชมได้เช่นเดียวกันซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่ายนั้นมีอำนาจ  มีค่า  น่าเกรงขาม  มีความยิ่งใหญ่ซึ่งจะตรงข้ามกับภาพมุมสูง  นิยมถ่ายภาพโบราณสถาน  สถาปัตยกรรมแสดงถึงความสง่างาม  ชัยชนะ  และใช้เป็นการเน้นจุดสนใจของภาพได้ด้วย