1 of 57

2 of 57

3 of 57

4.1.1 สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ในการเลือกใช้สายไฟฟ้าแต่ละชนิดต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องกับรูปแบบการติดตั้ง (ดังรายละเอียดในหน่วยที่ 2) สายไฟฟ้าที่ใช้เดินด้วยเข็มขัดรัดสายคือสาย VAF หรือ VAF–G เป็นสายแบนหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง

ตารางที่ 4.1 ขนาดของสาย VAF และ VAF–G

4 of 57

หมายเหตุ การให้ความหมายของตัวเลข

5 of 57

4.1.2 หลอดไฟฟ้า

1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent Lamp: FL) หรือหลอดเรืองแสง มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมเป็นแบบ T12 (T: Tubular, 12: เส้นผ่านศูนย์กลาง 381 มม. (12 หุน)) ที่เรียกว่า หลอดอ้วน ปัจจุบันได้เลิกใช้แล้ว ต่อมาพัฒนาเป็นแบบ T8 ที่เรียกทั่วไปว่า หลอดผอม ซึ่งใช้กันมากที่สุด

โครงสร้างพื้นฐานของหลอดฟลูออเรสเซนต์

6 of 57

ตารางที่ 4.2 หลอดฟลูออเรสเซนต์

7 of 57

นอกจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทรงกระบอกที่กล่าวแล้ว ยังมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทรง-กลมที่ใช้ตามบ้านพักอาศัยทั่วไป ขนาดกำลังไฟฟ้า 22, 30 และ 32 วัตต์ ที่นิยมใช้คือ 32 วัตต์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ ทรงกลม

การประกอบวงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่สำคัญนอกจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ คือ บัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์ (วงจรหลอดฟลูออเรสเซนต์ กล่าวรายละเอียดในหน่วยที่ 6)

(1) บัลลาสต์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าไปที่หลอดให้มีความเหมาะสมและสม่ำเสมอ

8 of 57

ตัวอย่างบัลลาสต์

9 of 57

(2) สตาร์ตเตอร์ (Starter) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่อวงจรเพื่อจุดไส้หลอด ขณะหลอดไม่สว่าง และตัดวงจรออกแบบอัตโนมัติเมื่อหลอดสว่างเพื่อรักษาระดับแรงดันภายในหลอด

ตัวอย่างสตาร์ตเตอร์

10 of 57

2. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent Lamp) หรือเรียกว่า หลอด-ตะเกียบ มีให้เลือกใช้ 2 ชนิด คือ ชนิดใช้บัลลาสต์ภายใน มีขั้วหลอด 2 ชนิด คือชนิดเกลียวและชนิดเขี้ยวและชนิดใช้บัลลาสต์ภายนอก มีขนาดกำลังไฟฟ้า 5, 9, 11, 13, 18 และ 25 วัตต์ นำมาใช้แทนหลอดเผาไส้

ตัวอย่างหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์

11 of 57

3. หลอดเผาไส้ (Incandescent Filament Lamp) หรือเรียกว่า หลอดอินแคนเดสเซนต์ปัจจุบันไม่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยเนื่องจากไม่ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและให้แสงสว่างน้อยกว่าหลอดคอมแพค

ตัวอย่างหลอดเผาไส้

12 of 57

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 กำหนดให้ขั้วรับหลอดชนิดเกลียว ส่วนเกลียวโลหะที่เป็นทางเดินกระแสไฟฟ้าต้องต่อกับสายนิวทรัลเท่านั้น

ตัวอย่างขั้วรับหลอดและการนำไปต่อกับตัวนำ

13 of 57

4. หลอดแอลอีดี (Light Emitting Diode: LED) คือ หลอดที่เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านจะปล่อยแสงสว่างออกมาทันที

ตัวอย่างหลอดแอลอีด

14 of 57

4.1.3 เข็มขัดรัดสายไฟ

เข็มขัดรัดสายไฟ (Clip) ทำจากแผ่นอะลูมิเนียมบาง ๆ มีรูสำหรับใส่ตะปูเดินสายไฟ มีหลายขนาดหรือเบอร์

ตัวอย่างเข็มขัดสายไฟและขนาดเบอร์

15 of 57

4.1.4 ตะปูตอกเข็มขัดรัดสายไฟ

ตะปูเดินสายไฟ มีขนาด 6, 8, 10 และ 13 มม. สำหรับขนาด 6, 8 และ 10 มม. จะใช้ตอกบนผนังปูน ส่วนขนาด 10 และ 13 มม. จะใช้สำหรับตอกบนผนังที่เป็นไม้

ตัวอย่างตะปูเดินสายไฟ

16 of 57

4.1.5 สวิตช์

สวิตช์ (Switch: SW) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเปิด–ปิดวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วงจรหลอดฟลูออ–เรสเซนต์ การนำไปใช้งานมีหลากหลาย เช่น สวิตช์หรี่ไฟ สวิตช์กดปิด–เปิด สวิตช์ทำงานด้วยแสง เป็นต้น บ่งชนิดได้ดังนี้

1. สวิตช์ขั้วเดียวทางเดียว (Single–Pole, Single–Throw: SPST) เรียกทั่วไปว่า สวิตช์ทาง–เดียว ใช้สำหรับควบคุมการเปิด–ปิดวงจร หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเพียงจุดเดียว

2. สวิตช์ขั้วเดียวสองทาง (Single–Pole, Double–Throw: SPDT) เรียกทั่วไปว่า สวิตช์สอง–ทาง ใช้สำหรับควบคุมหลอดไฟหรืออุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าจากที่ควบคุม 2 ตำแหน่งได้ด้วยการใช้สวิตช์สองทาง 2 ตัวต่อร่วมกัน อาจจะเรียกชื่อหนึ่งว่า “สวิตช์บันได”

3. สวิตช์สองขั้วทางเดียว (Double–Pole, Single–Throw: DPST) เรียกทั่วไปว่า คัตเอาต์

4. สวิตช์สองขั้วสองทาง (Double–Pole, Double–Throw: DPDT) เรียกทั่วไปว่า สวิตช์กากบาท ใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้า 3 ตำแหน่งหรือมากกว่า

17 of 57

ตัวอย่างสวิตช์

4.1.6 เต้ารับ

เต้ารับ (Receptacle) คือ อุปกรณ์หน้าสัมผัสซึ่งติดตั้งกับจุดจ่ายไฟ ใช้สำหรับการต่อกับเต้าเสีย

18 of 57

ตัวอย่างเต้ารับ

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 กำหนดให้เต้ารับที่ใช้งานต้องมีพิกัดกระแส แรงดัน และประเภทเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน เต้ารับที่ใช้กลางแจ้งต้องเป็นชนิดป้องกันน้ำ

19 of 57

ขั้วสายเต้ารับชนิดมีสายดินตาม มอก. 166–2549 จะต้องมีการเรียงขั้วเฟส นิวทรัลและสายดินแบบทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากด้านหน้า

ขั้วสายของเต้ารับมีขั้วสายดิน เมื่อมองจากด้านหน้า

20 of 57

4.1.7 เต้าเสียบ

เต้าเสียบ (Attachment Plug) คือ อุปกรณ์ที่สอดเข้าไปในเต้ารับแล้วทำให้เกิดการต่อระหว่างตัวนำของสายอ่อนที่ติดเต้าเสียบกับตัวนำที่ต่ออย่างถาวรกับเต้ารับ

ตัวอย่างเต้าเสียบ

21 of 57

มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 กำหนดให้ขาเสียบเต้าเสียบชนิดมีสายดินตาม มอก. 166–2549 จะต้องมีการเรียงขั้วเฟส นิวทรัลและสายดินแบบตามเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากด้านหน้า ตัวอย่างการต่อเต้าเสียบไว้ใช้งานในงานติดตั้งไฟฟ้า

ตัวอย่างการต่อเต้าเสียบไว้ใช้งาน

22 of 57

4.1.8 กล่องลอยพลาสติก

กล่องลอยพลาสติก (Flush–Mounted Box) ใช้ร่วมกับฝาปิดและรองรับการติดตั้งสวิตช์และเต้ารับเมื่อติดตั้งแบบเดินเกาะผนัง มีหลายขนาดให้เลือกใช้และหลายยี่ห้อ ขนาดที่นิยมใช้ กว้าง × ยาว �× สูง

ตัวอย่างกล่องลอยพลาสติก

23 of 57

4.1.9 กล่องฝังพลาสติก

กล่องฝังพลาสติก (Flush–Mounted Box) ใช้ร่วมกับฝาปิดและรองรับการติดตั้งสวิตช์และเต้ารับเมื่อเดินสายไฟฟ้าแบบเดินเกาะผนัง

ตัวอย่างกล่องฝังพลาสติก

24 of 57

4.1.10 ฝาปิด

ฝาปิด (Cover Plate) พร้อมกับตะแกรงที่ติดกับฝาปิดจะใช้ยึดสวิตช์หรือเต้ารับก่อนนำไปยึดติดกับกล่องลอยพลาสติกหรือกล่องฝังพลาสติก ฝาปิดจะเรียกตามจำนวนอุปกรณ์ที่ติดตั้ง

ตัวอย่างฝาปิด

25 of 57

4.1.10 พุก

พุก (Anchor) หรือเรียกว่า ปุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับฝังไปในผนังปูนเพื่อจับยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แข็งแรง มีหลากหลายชนิดและขนาดตามการใช้งาน

ตัวอย่างพุก

26 of 57

4.1.11 สกรูเกลียวเหล็ก

สกรูเกลียวเหล็ก (Self Tapping Screw) หรือเรียกว่า สกรูเกลียวปล่อย ใช้งานร่วมกับพุก �ใช้ขันยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ขันยึดฝาปิดกับกล่องลอยหรือกล่องฝัง การใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

ตัวอย่างสกรูเกลียวเหล็ก

27 of 57

วัสดุและอุปกรณ์ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย ประกอบด้วยสายไฟฟ้า ท่อที่ใช้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ท่อโลหะและท่ออโลหะ และอุปกรณ์ประกอบท่อ (ข้อกำหนดการติดตั้งท่อ ศึกษารายละเอียดในหน่วยที่ 5)

4.2.1 สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าที่ใช้ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย ตามมาตรฐาน มอก. 11–2531 เรียกว่า สาย THW มีขนาดสายตั้งแต่ 0.5–500 ตร.มม. (ตามตารางที่ 2.1 และ 2.8) และมาตรฐาน มอก. 11–2553 เรียกว่า 60227 IEC 01

4.2.2 ท่อโลหะ

1. ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing: EMT) หรือเรียกว่า ท่อ EMT ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายในและภายนอกท่อ มีความมันวาว ปลายท่อเรียบทั้ง 2 ด้าน าตรฐานกำหนดให้ใช้อักษรสีเขียวระบุขนาดและชนิดของท่อ

28 of 57

ตัวอย่างท่อโลหะบาง

2. ท่อโลหะหนาปานกลาง (Intermediate Metal Conduit: IMC) หรือเรียกว่า ท่อ IMC ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี ผิวภายในเคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ผิวท่อเรียบทั้งภายในและภายนอกท่อ มีความมันวาว มาตรฐานกำหนดให้ใช้อักษรสีส้มระบุขนาดและชนิดของท่อ

ตัวอย่างท่อโลหะหนาปานกลาง

29 of 57

3. ท่อโลหะหนา (Rigid Metal Conduit: RMC) หรือเรียกว่า ท่อ RMC ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีทั้งผิวภายในและภายนอกท่อ ผิวจะด้านกว่าท่อ EMT และท่อ IMC ปลายท่อทำเกลียวไว้ทั้ง 2 ด้าน มาตรฐานกำหนดให้ใช้อักษรสีดำระบุขนาดและชนิดของท่อ

ตัวอย่างท่อโลหะหนา

30 of 57

4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit: FMC) หรือเรียกว่า ท่อ FMC ทำด้วยแผ่นเหล็กกล้าเคลือบสังกะสี มีความอ่อนตัวและโค้งงอไปมาได้ เหมาะสำหรับต่อเข้าเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือน

ตัวอย่างท่อโลหะอ่อน

31 of 57

4.2.3 ท่ออโลหะ

1. ท่อพีวีซี (Polyvinyl Chloride: PVC) ทำด้วยพลาสติกพอลิไวนีลคลอไรด์ มีคุณสมบัติด้านเปลวไฟ แต่ไม่ทนต่อแสงแดดเป็นเวลานานทำให้ท่อกรอบ ที่ใช้ในงานติดตั้งไฟฟ้ามีท่อสีเหลือง ท่อสีขาวและท่อสีเทา นิยมใช้มากเป็นท่อสีเหลืองและสีขาว

ตัวอย่างท่ออโลหะ

32 of 57

2. ท่อเอชดีพีอี (High Density Polyethylene: HDPE) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ท่อ PE ทำด้วยพลาสติก Polyethylene มีความแข็งแรงสูง ยืดหยุ่นตัวได้ดี มีทั้งแบบผิวเรียบและแบบลูกฟูก จะนิยมใช้แบบลูกฟูก

ตัวอย่างท่อ HDPE

33 of 57

4.2.4 วัสดุและอุปกรณ์ประกอบท่อโลหะ

เครื่องประกอบ (Fitting) หรือเรียกว่า ฟิตติง เป็นวัสดุและอุปกรณ์ใช้ประกอบกับท่อโลหะมีหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ ตัวอย่างดังนี้

1. แฮนดีบอกซ์ (Handy Box) ทำด้วยเหล็กอาบสังกะสี มีขนาดประมาณ 51 × 102 มม. (2 × 4 นิ้ว) ใช้สำหรับติดตั้งสวิตช์และเต้ารับ แบบลอยหรือฝังผนังได้

ตัวอย่างแฮนดีบอกซ์และฝาปิด

34 of 57

2. สแควร์บอกซ์ (Square Box) หรือเรียกว่า กล่องสี่เหลี่ยม ทำด้วยเหล็กอาบสังกะสี มีขนาด ประมาณ 102 × 102 มม. (4 × 4 นิ้ว) ใช้สำหรับติดตั้งสวิตช์ เต้ารับ และเป็นกล่องแยกสาย

ตัวอย่างสแควร์บอกซ์และฝาปิด

35 of 57

3. ยูโรปาบอกซ์ (Europa Box) ทำด้วยเหล็กอาบสังกะสี ทั่วไปมีขนาดประมาณ 64 × 102 มม. ใช้สำหรับติดตั้งสวิตช์ เต้ารับ และเป็นกล่องแยกสาย

ตัวอย่างยูโรปาบอกซ์และฝาปิด

36 of 57

4. ออกตากอนบอกซ์ (Octagon Box) หรือเรียกว่า กล่องแปดเหลี่ยม ทำด้วยเหล็กอาบสังกะสีใช้สำหรับติดตั้งโคมไฟและเป็นกล่องแยกสาย

ตัวอย่างออกตากอนบอกซ์และฝาปิด

37 of 57

5. เอฟเอสบอกซ์ (FS Box) มีขนาดประมาณ 51 × 102 มม., 102 × 102 มม. และ 76 × 127 มม. (2 × 4 นิ้ว, 4 × 4 นิ้ว และ 3 × 5 นิ้ว ตามลำดับ) ทำด้วยอะลูมิเนียมหล่อ ใช้สำหรับติดตั้งสวิตช์ เต้ารับ และเป็นกล่องแยกสาย

ตัวอย่างเอฟเอสบอกซ์และฝาปิด

38 of 57

(ต่อ) ตัวอย่างเอฟเอสบอกซ์และฝาปิด

39 of 57

(ต่อ) ตัวอย่างเอฟเอสบอกซ์และฝาปิด

40 of 57

6. จังก์ชันบอกซ์ (Junction Box) หรือบอกซ์กลมกันน้ำ ใช้สำหรับเป็นกล่องแยกสาย

ตัวอย่างจังก์ชันบอกซ์

7. คอนดูตเอาต์เลตบอกซ์ (Conduit Outlet Box) หรือเรียกว่า คอนดูเลต (Condulet) �ใช้สำหรับเป็นกล่องเดินสายเข้ามุม ข้ามเสา ข้ามคานของท่อโลหะหนา

ตัวอย่างคอนดูตเอาต์เลตบอกซ์

41 of 57

8. คัปปลิง (Coupling) หรือเรียกว่า ข้อต่อหรือคู่ต่อ ใช้สำหรับต่อระหว่างท่อด้วยกัน

ตัวอย่างคัปปลิง

42 of 57

9. คอนเนกเตอร์ (Connector) หรือเรียกว่า ข้อต่อยึด ใช้สำหรับต่อระหว่างท่อกับกล่องต่อ-สาย (Box)

ตัวอย่างข้อต่อยึดหรือคอนเนกเตอร์

43 of 57

10. บุชชิง (Bushing) และล็อกนัต (Lock Nut) โดยบุชชิงใช้ร่วมกับคอนเนกเตอร์ เพื่อป้องกันฉนวนของสายไฟขูดกับท่อร้อยสาย ล็อกนัตใช้ร่วมกับคอนเนกเตอร์ เข้ากล่องต่อสาย

ตัวอย่างบุชชิงและล็อกนัต

44 of 57

11. แสตร็ป (Strap) หรือเรียกว่า แถบรัด ใช้สำหรับยึดท่อให้แนบกับผนัง

ตัวอย่างแสตร็ป

45 of 57

12. รางตัวซี (C–Channel) ใช้สำหรับจับยึดท่อจำนวนหลาย ๆ ท่อนบนรางตัวซีเดียว มีขนาด ประมาณ 25 × 40 มม. และ 40 × 40 มม. ยาวท่อนละ 1,200 มม. (12 ม.)

ตัวอย่างรางตัวซี

46 of 57

13. แคลมป์ประกับ (Conduit Clip for C–Channel) ใช้ร่วมกับรางตัวซี เป็นแคลมป์ประกับท่อโลหะบาง มีขนาดประมาณ 13–51 มม. หรือแคลมป์ประกับท่อโลหะหนา

ตัวอย่างแคลมป์ประกับ

47 of 57

14. แคลมป์อื่น ๆ เช่น แคลมป์วงเดือน แคลมป์แขวน แคลมป์ฟันจระเข้ และแคลมป์ยึด เพื่อใช้ยึดท่อโลหะให้เลือกใช้ตามต้องการ

ตัวอย่างแคลมป์

48 of 57

15. ยู–โบลต์ (U-Bolt) มีขนาดประมาณ 6 × 22 มม. –10 × 216 มม. ใช้กับท่อขนาดประมาณ 13–203 มม.

ตัวอย่างยู–โบลต์

16. สกรูแขวนรางตัวซี ข้อต่อสกรู และนอต รางแขวนรางตัวซี มีขนาดยาว 1,000–1,500 มม.

ตัวอย่างรางตัวซีและอุปกรณ์ประกอบ

49 of 57

17. หัวงูเห่า (Service Entrance Cap) หรือเรียกว่า จุดทางเข้าสายไฟฟ้า มีขนาดประมาณ 13, 19, 25, 32, 38, 51, 64, 76, 89, 102, 127 และ 152 มม. ใช้สำหรับสวมท่อที่นำสายไฟฟ้าภายนอกเข้ามาภายในอาคาร เพื่อป้องกันน้ำเข้าท่อ

ตัวอย่างหัวงูเห่า

50 of 57

18. เอลโบว์ (Elbow) หรือเรียกว่า ข้องอหรือข้อเลี้ยว เป็นข้องอสำเร็จรูปใช้ร่วมกับท่อ �เพื่อความสะดวกโดยไม่ต้องดัดท่อ

ตัวอย่างเอลโบว์

51 of 57

4.2.5 วัสดุและอุปกรณ์ประกอบท่ออโลหะ

วัสดุและอุปกรณ์ประกอบท่ออโลหะ ใช้ประกอบท่ออโลหะ เช่น ท่อพีวีซี ใช้ในงานเดินสายไฟ ด้วยท่อร้อยสาย

ตัวอย่างอุปกรณ์ประกอบท่อพีวีซี

52 of 57

(ต่อ) ตัวอย่างอุปกรณ์ประกอบท่อพีวีซี

4.2.6 วัสดุและอุปกรณ์อื่นในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย

วัสดุและอุปกรณ์อื่นนอกจากเครื่องประกอบ (Fitting) ที่ใช้ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย เป็นตัวอย่างดังนี้

1. สวิตช์และเต้ารับ (Switch and Receptacle) ที่ใช้ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย นอกจากที่กล่าวถึงในข้อ 4.1.5 และข้อ 4.1.6 แล้ว ยังมีสวิตช์และเต้ารับอีกแบบหนึ่งที่ใช้มากในอาคารและโรงงาน

53 of 57

ตัวอย่างสวิตช์และเต้ารับ

54 of 57

2. หางปลา (Electrical Terminal Lug) หรือเรียกว่า หูสาย มีขนาดให้เลือกใช้ตามขนาดสายไฟฟ้า ส่วนใหญ่เป็นสายขนาดเล็ก มีทั้งแบบหัวกลม หัวแฉก หัวเสียบตัวเมีย และหัวเสียบตัวผู้ เป็นต้น

ตัวอย่างหางปลา

55 of 57

3. ไวร์นัต (Wire Nut) หรือเรียกว่า จุกเกลียวต่อสาย ทำด้วยพลาสติก ภายในเป็นเกลียวโลหะนำไปใช้โดยบิดสายให้เป็นเกลียวตามเข็มนาฬิกา แล้วใช้ไวร์นัตขันให้แน่น

ตัวอย่างไวร์นัต

56 of 57

4. เทปพันสายไฟฟ้า (Tape) ใช้พันรอยต่อสายไฟฟ้าแทนฉนวนที่ถูกปอกออกไป

ตัวอย่างเทปพันสายไฟ

57 of 57

1. วัสดุและอุปกรณ์ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย เช่น (1) สายไฟฟ้า เป็นชนิด VAF หรือ VAF-G (2) หลอดไฟฟ้า มีหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หลอดเผาไส้ (3) บัลลาสต์แกนเหล็ก บัลลาสต์โลลอส บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ (4) เข็มขัดรัดสายไฟ (5) ตะปูเดินสายไฟสำหรับตอกผนังปูน ตอกผนังไม้ (6) สวิตช์ทางเดียว สวิตช์สองทาง (7) เต้ารับมีขั้วสายดิน เต้ารับไม่มีขั้วสายดิน (8) เต้าเสียบมีขั้วสายดิน เต้าเสียบไม่มีขั้วสายดิน (9) กล่องลอย กล่องฝังทั้งแบบพลาสติกและโลหะ (10) ฝาปิดพร้อมตะแกรง (11) พุกพลาสติก พุกเหล็ก และ (12) สกรูเกลียวเหล็ก เป็นต้น

2. วัสดุและอุปกรณ์ในงานเดินสายไฟฟ้าด้วยท่อร้อยสาย เช่น (1) สายไฟฟ้า THW (2) ท่อ EMT (3) ท่อ IMC (4) ท่อ RMC (5) ท่อ FMC (6) ท่อ PVC (7) ท่อ PE (8) แฮนดีบอกซ์ (9) สแควร์บอกซ์ (10) ยูโรปาบอกซ์(11) ออกตากอนบอกซ์ (12) เอฟเอสบอกซ์ (13) คอนเนกเตอร์ (14) บุชชิง (15) ล็อกนัต (16) แสตร็ป (17) เอลโบว์ และ (18) หัวงูเห่า เป็นต้น