กฎหมายว่าด้วยมรดก
- ผู้รับพินัยกรรม
- ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกโดยตรง/ส่วนแบ่ง
- ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกโดยอ้อม/ส่วนแบ่ง
เรื่องที่จะศึกษา
- ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม
- ผลแห่งพินัยกรรม
- ข้อกำหนดและเงื่อนไขในพินัยกรรม
- การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรม
- การจัดการทรัพย์มรดก
- การแบ่งมรดก
- การเสียสิทธิโดยเจตนาของเจ้ามรดก
- การเสียสิทธิโดยเจตนาของทายาท
กองมรดก
ทรัพย์สิน
สิทธิ
หน้าที่
ความรับผิด
ทายาท
โดยธรรม
ผู้รับพินัยกรรม
กองมรดก
มาตรา ๑๖๐๐ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของผู้ตาย
มีอยู่ในเวลาตาย
ไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ปพพ. มิได้กำหนให้ตกทอดโดยประการอื่น
ทรัพย์สิน
ที่ดิน โรงเรือน เครื่องจักร รถยนต์
ทรัพย์สินทางปัญญา
ศพของเจ้ามรดก (ฎ. ๑๑๗๔/๒๕๐๘)
ฎ. ๑๑๗๔/๒๕๐๘ ตามปพพ. ม.๑๖๔๖ นอกจากผู้ตายจะแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนแล้ว ยังแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ แม้จะไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินก็มีผลบังคับได้ตามพินัยกรรมเมื่อตนตายแล้ว และการต่างๆ นั้นก็ไม่จำเป็นจะต้องมีกฎหมายระบุว่าเป็นการใดบ้าง ... ผู้ตายได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับศพของผู้ตาย โดยอุทิศศพของผู้ตายให้แก่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โดยทำถูกต้องตามแบบพินัยกรรมตาม ปพพ. ม. ๑๖๕๖ พินัยกรรมของผู้ตายย่อมสมบูรณ์
สิทธิ
หมายถึง “สิทธิทางหนี้” หรือ “บุคคลสิทธิ”
ได้แก่ สิทธิที่มีมูลมาจากนิติกรรมสัญญา ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ หรือจากนิติเหตุ
มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้
ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ หรือสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์ เพราะเป็นทรัพย์สินอยู่แล้ว
หน้าที่
หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
อาจเกิดจากนิติกรรมหรือนิติเหตุก็ได้
ความรับผิด
หมายถึง ภาระที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีความผูกพันที่จะต้องกระทำการบางอย่าง ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ตนไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ตนมีอยู่ตามสัญญาหรือตามกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องได้รับความเสียหาย
กองมรดกต้องเป็นของเจ้ามรดก
ผู้ตายมีอยู่ในเวลาตาย
กรณีผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิตตายก่อนผู้เอาประกัน
- ผู้รับประโยชน์แสดงเจตนาต่อผู้รับประกันเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตก่อนตนเองตาย หรือหลังตาย
ดำ
AIA
ขาว
ตาย
ตาย
ทายาท
ดอกผลที่เกิดจากแม่ทรัพย์หลังเจ้ามรดกตาย
ฎ.๑๗๑/๒๕๒๑ เมื่อกองมรดกยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาท เงินค่าเช่าที่ได้รับจากผู้เช่าทรัพย์สินกองมรดกย่อมเป็นของกองมรดก เพราะเป็นดอกผลนิตินัยตาม ปพพ. ม.๑๔๘ ซึ่งจะต้องนำไปแบ่งกันระหว่างทายาทภายหลัง
ไม่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย
จะโอนกันไม่ได้แม้ทางมรดก ม.๑๔๐๔, ๑๔๑๘
การเช่าทรัพย์สิน - คุณสมบัติของผู้เช่าถือเป็นสาระสำคัญ หากผู้เช่าตาย สัญญาเช่าระงับ ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิใช้ดุลพินิจให้ผู้อื่นเช่าต่อไปได้ ทายาทของผู้เช่าเดิมจะเรียกร้องให้โอนสิทธิการเช่าให้แก่ตนไม่ได้ (ฎ.๑๐๐/๒๕๓๑)
หน้าที่ในการคืนทรัพย์ที่เช่าในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัว จึงถือเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท
แม้สัญญาเช่าจะระงับด้วยความตายของผู้เช่า แต่สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดตามสัญญาเช่าตกทอดมาตาม ม.๑๕๙๙ และ ๑๖๐๐
ฎ.๑๑๒๔/๒๕๑๑ (ปชญ.) มารดาโจทก์เช่าที่ดินมาและให้จำเลยอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่เช่าบางส่วน แม้ต่อมามารดาโจทก์ตายและสัญญาเช่าระงับก็ตาม แต่โจทก์ยังคงมีสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ตามสัญญาเช่าตกทอดมาจากมารดาโจทก์ ตามม.๑๕๙๙ และ ๑๖๐๐ เมื่อโจทก์เป็น
ผู้ครอบครองที่ดินอยู่ และต่อมาได้ทำสัญญาเช่าที่ดินจากผู้ให้เช่าต่อไปอีก โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยผู้ให้เช่าไม่จำต้องส่งมอบที่ดินให้โจทก์อีก
สิทธิตาม “สัญญาเช่าต่างตอบแทนเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา” ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าไม่ระงับ ตกทอดเป็นมรดก
สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่สิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าซื้อ ถ้าผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อมาระยะหนึ่งแล้วตายลง ทายาทก็สืบสิทธิของผู้เช่าซื้อโดยการชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจนครบกำหนดตามเงื่อนไขของสัญญา และย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้ให้เช่าซื้อโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ตนได้ (ฎ.๔๘๔/๒๕๓๓)
สิทธิการฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เสียหายตายสิทธิเหล่านี้ย่อมระงับลง ดังนั้นกรณีใดบ้างที่ผู้อื่นมีสิทธิดำเนินคดีอาญาแทนผู้ตายจึงต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
ปพพ. มิได้บัญญัติให้ตกทอดโดยประการอื่น
ฎ.๓๓๕๑/๒๕๓๑ จำเลยอยู่ในฐานะทายาทผู้ตาย จะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รับมรดก หรือไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตัดฟ้องของโจทก์ไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
การตกทอดของมรดก
ตาย
ธรรมชาติ
กฎหมาย
ไม่หายใจ
สมองตาย
การตายโดยธรรมชาติ
กรณีบุคคลหลายคนตายพร้อมกัน
นายดำและนายแดงเป็นพี่น้องร่วมบิดาและมารดาเดียวกัน เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่โดยสายการบินไทย ปรากฏว่าเครื่องบินที่นายดำและนายแดงโดยสารไปประสบอุบัติเหตุตกขณะกำลังร่อนลงจอดที่สนามบินนานาชาติเชียงใหม่ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายดำซึ่งไม่มีทายาทอื่นใดนอกจากนายแดง มีทรัพย์สินรวมมูลค่าทั้งสิ้นจำนวนสองพันล้านบาท ส่วนนายแดงมีภริยาชอบด้วยกฎหมายหนึ่งคนชื่อนางเหลือง
และมีลูกชายหนึ่งคนชื่อด.ช. เขียว นายแดงมีทรัพย์สินทั้งหมดมูลค่าสิบล้านบาท ให้แบ่งมรดกของนายดำและนายแดง
กรณีนายดำตายก่อนนายแดง
เหลือง
เขียว
กรณีนายแดงตายก่อนนายดำ
เหลือง
เขียว
แผ่นดิน
กรณีนายแดงไม่มีลูก และนายแดงตายก่อนนายดำ
เหลือง
แผ่นดิน
กรณีนายแดงไม่มีลูกและนายดำตายก่อนนายแดง
เหลือง
กรณีนายแดงไม่มีลูกและตายพร้อมกัน
เหลือง
แผ่นดิน
ตายโดยสาปสูญ (มาตรา ๖๑)
นางแดงมีบุตรสองคนคือนายขาวและนายเหลือง นายขาวยังเป็นโสด ส่วนนายเหลืองสมรสกับนางแสด นางแดงได้ไปจากภูมิลำเนาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๐โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีประการใด� ก. ถ้านายเหลืองตายเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๕ ผู้ใดจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นางแดงเป็นคนสาปสูญ และร้องขอได้ตั้งแต่วันใด และหากศาลมีคำสั่งให้นางแดงเป็นคนสาปสูญ ผู้ใดมีสิทธิในมรดกของนางแดง
ข. หากหลังจากศาลได้มีคำสั่งให้นางแดงเป็นคนสาปสูญแล้ว มีการพิสูจน์ได้ว่านางแดงตายโดยธรรมชาติตั้งแต่วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ � ดังนี้ ให้ท่านแนะนำนายขาวและนางแสดว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ฝ่ายตนเองได้ประโยชน์จากกองมรดกของนางแดง
ผู้มีสิทธิรับมรดก
- ผู้รับพินัยกรรม
ความหมายของทายาท
ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ที่ไม่มีสิทธิรับมรดกไม่ใช่ทายาท
สภาพและฐานะของทายาทโดยธรรม
สภาพและฐานะของผู้รับพินัยกรรม
ประเภทของทายาทโดยธรรม
ทายาท
โดยธรรม
โดยตรง
โดยอ้อม
ญาติ
คู่สมรส
รับมรดก
แทนที่
สืบมรดก
(ม.๑๖๑๕)
ลำดับของทายาทโดยธรรม
ผู้สืบสันดาน
บิดา มารดา
พี่น้องร่วมบิดามารดา
พี่น้องร่วมบิดา / มารดา
ปู่ ย่า ตา ยาย
ลุง ป้า
น้า อา
คู่สมรส
ลำดับในการรับมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
ผู้สืบสันดาน
ผู้สืบสันดานชั้นบุตร
เจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ต่อมาในวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ นายดำได้ฟ้องศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาว่าตนเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่านายดำเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ หลังจากนั้นนายดำจึงมาฟ้องขอแบ่งมรดก ให้วินิจฉัยว่านายดำขอแบ่งมรดกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ดูมาตรา ๑๕๕๘ หากฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายในอายุความมรดก แม้ศาลจะมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรภายหลังหมดอายุความมรดก เด็กนั้นก็มีสิทธิรับมรดกได้
นายดำจดทะเบียนรับด.ช.แดงเป็นบุตรบุญธรรม โดยนายดำมีนางเขียวเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมานางเขียวถึงแก่ความตาย ดังนี้ ด.ช. แดงรับมรดกของนางเขียวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ด.ช. แดงไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะไม่ใช่ผู้สืบสันดานของนางเขียว เนื่องจากการรับบุตรบุญธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่มีผลถึงผู้อื่น (ฎ. ๕๙๑/๒๕๑๖ ปชญ.)
ผู้สืบสันดาน
ชั้นบุตร
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมาย
ที่บิดารับรอง
บุตรบุญธรรม
บิดา มารดา
แต่ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน ตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกองมรดกเสร็จสิ้นแล้ว (ม.๑๕๙๘/๓๐)
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
ฎ.๔๘๒๘/๒๕๒๙ บิดามารดาของโจทก์และผู้ตายจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ความเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของโจทก์และผู้ตายเปลี่ยนแปลงไป เพราะกฎหมายมิได้กำหนดว่าการเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโดยชอบด้วยกฎหมายต้องให้บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน จึงต้องถือตามความเป็นจริง
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
ปู่ ย่า ตา ยาย
บิดา
มารดา
พ่อ
แม่
พ่อ
แม่
ลุง ป้า น้า อา
ฎ.๑๐๖๓/๒๔๙๓
บิดา
มารดา
พี่
น้อง
น้อง
บิดา
บิดา
(ปู่เจ้ามรดก)
น้องบิดา
(น้องปู่)
ลูก
(อา)
ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส
นายดำและนางเขียวจดทะเบียนสมรสกัน ต่อมานายดำได้นางสาวเหลืองเป็นภริยาน้อย และพานางสาวเหลืองเข้ามาอยู่บ้านเดียวกันร่วมกับนางเขียว ดังนี้หากนายดำตาย นางสาวเหลืองจะมีส่วนในมรดกของนายดำหรือไม่
ขั้นตอนการแบ่งมรดกของผู้ตายที่มีคู่สมรส
นาย ก. สมรสกับนาง ข. เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ ก่อนสมรสกันนาย ก. มีรถยนต์ ๑ คันมูลค่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท นาง ข. มีบ้านพร้อมที่ดินราคา หนึ่งล้านบาท นาย ก.ตายเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ ปรากฏว่าระหว่างวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๙ ถึงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ นาย ก. และ
นาง ข. ทำมาหาได้คนละ ๕๐,๐๐๐ บาท และ ๓๐,๐๐๐ บาท ตามลำดับ นอกจากนั้นแล้ว นาง ข. ยังได้นำบ้านพร้อมที่ดินออกให้ผู้อื่นเช่า ได้ค่าเช่าถึงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ จำนวน ๖๐,๐๐๐ บาท �ให้แบ่งปันทรัพย์สินที่จะตกเป็นมรดกของนาย ก. ว่ามีเพียงใด
สินส่วนตัว
สินสมรส
ทรัพย์สินที่เหลือจากการแบ่ง
นาย ก.
นาง ข.
กรณีจะเป็นอย่างไรถ้านาย ก. ได้นำสินสมรสไปเล่นการพนันและเสียพนันไป ๔๐,๐๐๐ บาท�หากก่อนตายนาย ก. นำสินสมรสไปเล่นการพนันและเสียพนันไป ๑๔๐,๐๐๐ บาท
สินสมรส
สินสมรส
หากนาย ก. ได้กู้เงินจากธนาคาร ๒๐,๐๐๐ บาทเพื่อซื้อเครื่องปรับอากาศให้ภรรยาน้อย และยังกู้อีกส่วนหนึ่งจำนวน ๓๐,๐๐๐ บาทเพื่อซื้อตู้เย็นไว้ใช้ในครอบครัว ส่วนนาง ข. ก็เงินจากนาง ค. เพื่อเล่นการพนัน �ดังนี้ หนี้ของนาย ก. จะตกทอดเป็นมรดกจำนวนเท่าใด และนาง ข. จะต้องรับผิดในหนี้เหล่านี้เพียงใด
สิทธิและส่วนแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรม
ส่วนแบ่งระหว่างทายาทโดยธรรมประเภทญาติกับคู่สมรส (ม. ๑๖๓๕)
การรับมรดกแทนที่
นายดำเป็นเจ้ามรดก มีนางแดง และนางขาวเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนายดำ นางขาวมีลูกหนึ่งคนชื่อนางม่วง และนางม่วงมีลูกหนึ่งคนชื่อนางสาวแสด ต่อมานางขาวตายก่อนนายดำ หากเมื่อนายดำตายมีทรัพย์มรดกทั้งสิ้นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้แบ่งทรัพย์มรดกของนายดำ
นางแดงได้ ๕๐,๐๐๐ บาท นางม่วงได้ ๕๐,๐๐๐ บาท (รับมรดกแทนที่) นางสาวแสดไม่ได้
นาง ก. มีบุตรชายคือนาย ข. สมรสกับนาง ค. นาย ข. และนาง ค. มีบุตรด้วยกันคือ ด.ช. ง. ต่อมาศาลพิพากษาจำคุกนาย ข. ฐานพยายามฆ่านาง ก. เมื่อวันที่ ๑ ส.ค. ๓๐ หลังจากนั้นนาง ก. ตายในวันที่ ๕ พ.ย. ๔๐ และ ด.ช. ง. ตกน้ำตายเมื่อ ๒๐ พ.ย. ๔๐ ต่อมานาง ค. คลอด ด.ญ. จ. เมื่อ ๑ มี.ค. ๔๑ หากนาง ก. มีทรัพย์มรดกทั้งสิ้นจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท ให้แบ่งมรดกของนาง ก.
นาย ก. มีลูกหนึ่งคนคือนาย ข. ซึ่งแต่งงานกับนาง ค. มีบุตรด้วยกันสองคนคือ นาย ง. และนาย จ. ต่อมานาย ข. ตาย นาย จ. สละมรดกของนาย ข. �ใครมีสิทธิรับมรดกของนาย ข.� หากต่อมานาย ก. ตาย ใครมีสิทธิรับมรดกของนาย ก.
ถ้าก่อนที่นาย ข. ตายได้แสดงเจตนาตัดมิให้นาย ง. รับมรดกของตนโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้ให้แก่นายอำเภอ และเมื่อนาย ข. ตายนาย จ. ได้ปลอมพินัยกรรมของนาย ข.�ใครมีสิทธิรับมรดกของนาย ข.�
ถ้าต่อมาหลังจากนาย ข. ตาย นาย ก. ก็ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ใครมีสิทธิรับมรดกของนาย ก.
การเสียสิทธิในการรับมรดก
(มาตรา ๑๖๐๕)
- ฐานเป็นผู้ไม่สมควร (มาตรา ๑๖๐๖)
- ตัดโดยปริยาย (มาตรา ๑๖๐๘ ว. ท้าย)
การถูกกำจัดฐานยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดก
- ด้วยเจตนาฉ้อฉล หรือโดยรู้ว่าทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น
การถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร
การตัดมิให้รับมรดก
- ทำเป็นหนังสือมอบให้นายอำเภอ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมด
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ภริยากับบุตรของภริยา และมีข้อความว่า “นอกจากสองคนนี้ไม่ปลงใจยกให้แก่ญาติพี่น้องหรือบุตรคนหนึ่งคนใดเป็นอันขาด”
ฎ.๕๗๗/๒๔๘๘ ถือเป็นการตัดทายาทโดยธรรมมิให้รับมรดกโดยชัดแจ้ง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมว่า “เมื่อข้าพเจ้าถึงแก่ความตายแล้ว บรรดาทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้ามีอยู่มากน้อยเท่าใดขอยกให้เป็นสิทธิแก่ ร. และ ส. บุตรสามีข้าพเจ้าทั้งสิ้น โดยให้ได้คนละเท่าๆ กัน ผู้อื่นนอกจาก ร. และ ส. จะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์สมบัติของข้าพเจ้าไม่ได้เป็นอันขาด”
ต่อมา ร. ตายก่อนเจ้ามรดก ดังนี้มรดกส่วนที่จะตกได้แก่ ร. จะตกได้แก่ใคร
ผลของการตัดมิให้รับมรดก
เช่น เจ้ามรดกตัด ก. ซึ่งเป็นบุตรมิให้รับมรดก แม้ ก. จะมี ข. เป็นผู้สืบสันดาน ดังนี้ ข. ก็ไม่สามารถรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกในส่วนของ ก. ที่ถูกตัดได้
หากตัดโดยพินัยกรรม เพิกถอนโดยพินัยกรรม
หากตัดโดยทำเป็นหนังสือ เพิกถอนโดยพินัยกรรมหรือหนังสือก็ได้
การสละมรดก
แบบของการสละมรดก (มาตรา ๑๖๑๒)
นาย ก. นาย ข. และนาย ค. มีสิทธิรับมรดกร่วมกัน ต่อมานาย ก. ตกลงกับนาย ข. และนาย ค. ว่านาย ก. ตกลงสละมรดก และนาย ข. กับนาย ค. จะจ่ายเงินให้ ๒ ล้านบาท
แต่ถ้านาย ก. ตกลงรับเงินจากนาย ข. และยอมให้นาย ข. ได้มรดกส่วนของนาย ก.
แต่ถ้านาย ข. และนาย ค. ตกลงยกที่ดินมรดกให้แก่นาย ก. โดยนาย ก. ตกลงจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกอื่น
ผลของการสละมรดก
การเพิกถอนการสละมรดก