1 of 44

2 of 44

แนวปฏิบัติพิธีแต่งงาน

ระหว่างคาทอลิกและผู้ที่นับถือศาสนาอื่น

3 of 44

เนื่องจากพิธีกรรมเป็นคำภาวนาทางการของพระศาสนจักร ดังนั้น พระศาสนจักรจึงกำหนดแนวทางในการประกอบจารีตพิธีต่างๆ รวมทั้งพิธีสมรสด้วย โดยระบุไว้ในหนังสือ “จารีตพิธีสมรส” “Ordo Celebrandi Matrimonium

(ฉบับปี ค.ศ.1969 และปรับปรุง ปี ค.ศ.1991)

4 of 44

กฎหมายพระศาสนจักร

มาตรา 846. วรรค 1

ในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ให้ถือตามหนังสือพิธีกรรมซึ่งผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจได้รับรองแล้วอย่างซื่อสัตย์ ฉะนั้นใครก็ตามไม่อาจเพิ่ม ตัด หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในหนังสือนั้นโดยพลการ

5 of 44

มาตรา 1119

นอกกรณีจำเป็น ในการประกอบพิธีแต่งงาน �ให้ถือตามจารีตที่กำหนดไว้ในหนังสือพิธีกรรม ซึ่งได้รับการรับรองโดยพระศาสนจักร หรือเป็นที่ยอมรับกันโดยประเพณีที่ชอบด้วยกฎหมาย

กฎหมายพระศาสนจักร

6 of 44

ฉบับปี ค.ศ.1969 แปลเป็นภาษาไทยและพิมพ์ ค.ศ. 1983 (1992)

7 of 44

ฉบับปรับปรุง ปี ค.ศ. 1991

8 of 44

สารบัญ

อารัมภบท

บทที่ 1 พิธีศีลสมรสในระหว่างมิสซา

บทที่ 2 พิธีศีลสมรสที่ไม่มีมิสซา

บทที่ 3 พิธีสมรสระหว่างฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก กับอีกฝ่ายหนึ่งที่ ไม่ได้รับศีลล้างบาป

บทที่ 4 มิสซา “สำหรับสามีภรรยา”

ภาคผนวก พิธีสมรสตามประเพณีไทย หลังพิธีทางศาสนา

บทที่ 5 บทอ่านจากพระคัมภีร์

(ฉบับปี ค.ศ.1969 แปลเป็นภาษาไทยและพิมพ์ ค.ศ. 1983 (1992)

9 of 44

(ฉบับปรับปรุง ปี ค.ศ.1991)

สารบัญ

อารัมภบท.................................................................................................... 2

บทที่ 1 จารีตพิธีศีลสมรสภายในพิธีมิสซา (ข้อ 45-78) ................................ 17

บทที่ 2 จารีตพิธีศีลสมรสโดยไม่มีมิสซา (ข้อ 79-117) ................................ 28

บทที่ 3 จารีตพิธีศีลสมรสต่อหน้าประธานที่เป็นฆราวาส............................. 39

บทที่ 4 พิธีสมรสที่ฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคริสตังสำรอง หรือไม่ใช่คริสตชน (ข้อ 152-178) .................................................. 50

บทที่ 5 ตัวบทต่างๆ ที่ใช้ในพิธีศีลสมรส และในมิสซา “เพื่อคู่บ่าวสาว”...... 60

ภาคผนวก

I ตัวอย่างบทภาวนาของมวลชน................................................................... 80

II พิธีอวยพรคู่หมั้น....................................................................................... 82

III พิธีอวยพรคู่สมรสระหว่างมิสซาในโอกาสครบรอบการแต่งงาน.............. 87

10 of 44

อารัมภบท

ข้อควรทราบเกี่ยวกับพิธีศีลสมรส

ความสำคัญและศักดิ์ศรีของศีลสมรส

พิธีที่ใช้ (8-11) ข้อ 8

การแต่งหนังสือพิธีสำหรับท้องถิ่น

สิทธิที่จะแต่งพิธีพิเศษ

11 of 44

อารัมภบท

ข้อควรทราบเกี่ยวกับพิธีศีลสมรส

I. ความสำคัญและศักดิ์ศรีของศีลสมรส

II. บทบาทหน้าที่และศาสนบริการ

IV. การปรับปรุงพิธีที่สภาพระสังฆราชต้องจัดเตรียม

III. การประกอบพิธีสมรส

. การเตรียม

. การเลือกรูปแบบพิธี (ข้อ 33-38) ข้อ 36

12 of 44

ข้อ 36. ถ้าประกอบพิธีสมรส ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก และอีกฝ่ายหนึ่งได้รับศีลล้างบาป แต่ไม่เป็นคาทอลิก �ต้องใช้จารีตพิธีสมรสโดยไม่มีมิสซา �(ข้อ 79-117) แต่ถ้าสถานการณ์เรียกร้องและผู้ปกครองท้องถิ่นเห็นชอบด้วย ก็ใช้พิธีสมรสในมิสซา ได้ �(ข้อ 45-78) สำหรับการอนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิกเข้ารับศีลมหาสนิทนั้น ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับกรณีต่างๆ (*)กฎหมาย�พระศาสนจักร มาตร 844. วรรค 3).......

ข้อ 8. ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก และอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่คาทอลิก แต่ได้รับศีลล้างบาปแล้วให้ใช้พิธีสำหรับประกอบพิธีสมรสที่ไม่มีมิสซา (เลข 39-54). �แต่ถ้าเห็นสมควรและสมณะผู้ปกครองท้องที่อนุมัติเห็นชอบ �จะใช้พิธีสำหรับประกอบพิธีสมรสในระหว่างมิสซาก็ได้ �(เลข 19-38) แต่ไม่ให้ฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิกรับศีลมหาสนิทตามกฎหมายทั่วไป...........

PRENOTANDA – อารัมภบท ข้อ 8 (1969) ข้อ 36 (1991)

13 of 44

.....ถ้ามีการสมรสระหว่างฝ่ายคาทอลิกกับฝ่ายที่เป็นคริสตังสำรอง หรือฝ่ายที่ไม่ใช่ คริสตชน �ก็ให้ใช้พิธีที่มีอยู่ในส่วนต่อไป (ข้อ152-178) โดยใช้รายละเอียดที่กำหนดไว้สำหรับกรณีต่างๆ

......ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป ต้องใช้พิธีที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า (เลข 55-66).

14 of 44

ฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก และอีกฝ่ายหนึ่งได้รับศีลล้างบาป แต่ไม่เป็นคาทอลิก

การประกอบพิธีสมรส

กรณี ที่ 1/1

15 of 44

“ต้องใช้จารีตพิธีสมรสโดยไม่มีมิสซา (ข้อ 79-117)”

บทที่ 2

จารีตพิธีศีลสมรสโดยไม่มีมิสซา

ขอ 79-117

พิธีศีลสมรส

ฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี ค.ศ. 1991

16 of 44

พิธีสมรสที่จัดขึ้นนี้ถือเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์

โดยโครงสร้างของพิธีประกอบด้วย

1. เริ่มพิธี

- พิธีต้อนรับคู่บ่าวสาว

2. วจนพิธีกรรม

- บทอ่านที่ 1

- บทสร้อย บทเพลงสดุดี

- บทอ่านที่ 2

- บทอัลเลลูยา และ สร้อยก่อนพระวรสาร

- บทพระวรสาร

- บทเทศน์

17 of 44

3. พิธีสมรส

- คำถามก่อนแสดงความสมัครใจ

- การแสดงความสมัครใจ

- การรับความสมัครใจ

- การเสกและมอบแหวนแก่คู่บ่าวสาว

- บทภาวนาของมวลชน - บทข้าแต่พระบิดา

- บทอวยพรคู่สมรส

- การรับศีลมหาสนิท (*) กฎหมายพระศาสนจักร มาตร 844. วรรค 3

4. ปิดพิธี

- อวยพรประชาชน

ลงนามในทะเบียนสมรส (แต่อย่าทำบนพระแท่น)

18 of 44

ฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิก และอีกฝ่ายหนึ่งได้รับศีลล้างบาป แต่ไม่เป็นคาทอลิก

การประกอบพิธีสมรส

กรณี ที่ 1/2

19 of 44

“แต่ถ้าสถานการณ์เรียกร้องและผู้ปกครองท้องถิ่นเห็นชอบด้วย ก็ใช้พิธีสมรสในมิสซา (ข้อ 45-78) ได้”

บทที่ 1

จารีตพิธีศีลสมรสภายในมิสซา

ขอ 45-78

พิธีศีลสมรส

ฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี ค.ศ. 1991

20 of 44

“สำหรับการอนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่ใช่คาทอลิกเข้ารับศีลมหาสนิทนั้น ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้สำหรับกรณีต่างๆ

(*)กฎหมายพระศาสนจักร มาตร 844. วรรค 3)....”

21 of 44

กฎหมายพระศาสนจักร มาตร 844. วรรค 3

ศาสนบริกรคาทอลิกบริการศีลอภัยบาป ศีลมหาสนิท และศีลเจิมคนไข้ได้โดยชอบธรรมแก่สมาชิกของ�พระศาสนจักรตะวันออก ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับพระศาสนจักรคาทอลิก ถ้าพวกเขามาขอรับศีลด้วยความสมัครใจ และอยู่ในสภาพพร้อมที่เหมาะสม เช่นเดียวกัน เรื่องนี้ประยุกต์ใช้กับสมาชิกศาสนจักรอื่นๆ ซึ่งสันตะสำนักวินิจฉัยแล้วว่า อยู่ในฐานะเทียบเท่าศาสนจักรตะวันออกดังที่กล่าวมาในเรื่องเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์

22 of 44

“หากมีอันตรายใกล้ตายหรือ มีความจำเป็นอื่นๆ ที่รุนแรงและเร่งรัดตามคำตัดสินของ พระสังฆราช�สังฆมณฑล หรือของสภาพระสังฆราช ศาสนบริกรคาทอลิกบริการศีลศักดิ์สิทธิ์เดียวกันนั้นได้โดยชอบแก่คริสตชนอื่นๆ ที่ไม่มีความสัมพันธ์เต็มรูปแบบกับ�พระศาสนจักรคาทอลิก ผู้ซึ่งไม่สามารถเข้าหาศาสน�บริกรของชุมชนของตนได้ และมาขอรับด้วยตนเองเพียงแต่ให้แสดงความเชื่อคาทอลิกเกี่ยวกับศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และอยู่ในสภาพพร้อมที่เหมาะสม”

กฎหมายพระศาสนจักร มาตร 844. วรรค 4:

23 of 44

24 of 44

.....ถ้ามีการสมรสระหว่างฝ่ายคาทอลิกกับฝ่ายที่เป็นคริสตังสำรอง หรือฝ่ายที่ไม่ใช่ คริสตชน ก็ให้ใช้พิธีที่มีอยู่ในส่วนต่อไป (ข้อ 152-178) โดยใช้รายละเอียดที่กำหนดไว้สำหรับกรณีต่างๆ

การประกอบพิธีสมรส

กรณี ที่ 2

........ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ไม่ได้รับศีลล้างบาป ต้องใช้พิธีที่จะกล่าวต่อไปข้างหน้า �(เลข 55-66)

25 of 44

ถ้ามีการสมรสระหว่าง............

- ทั้งคู่บ่าวสาวเป็นคริสตังสำรอง

- ฝ่ายคาทอลิกกับฝ่ายที่เป็นคริสตังสำรอง

- ฝ่ายคาทอลิกกับฝ่ายที่ไม่ใช่คริสตชน

ในข้อ 152 มีเพิ่มด้วยว่า........

26 of 44

บทที่ 4

พิธีศีลสมรสที่ฝ่ายหนึ่งเป็นคาทอลิกอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคริสตังสำรอง หรือไม่เป็นคริสตชน

ข้อ 152-178

พิธีศีลสมรส

ฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี ค.ศ. 1991

27 of 44

1. เริ่มพิธี

- พิธีต้อนรับคู่บ่าวสาว

2. วจนพิธีกรรม

- บทอ่านที่ 1

- บทสร้อย บทเพลงสดุดี

- บทอ่านที่ 2

- บทอัลเลลูยา และ สร้อยก่อนพระวรสาร

- บทพระวรสาร

- บทเทศน์

28 of 44

3. พิธีศีลสมรส

- คำถามก่อนแสดงความสมัครใจ

- การแสดงความสมัครใจ

- การรับความสมัครใจ

- การเสกและมอบแหวนแก่คู่บ่าวสาว

- บทภาวนาของมวลชน - บทข้าแต่พระบิดา

- บทอวยพรคู่สมรส

4. ปิดพิธี

- อวยพรประชาชน

ลงนามในทะเบียนสมรส (แต่อย่าทำบนพระแท่น)

29 of 44

อาภรณ์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนบริกรในกรณีพิธีสมรสแบบไม่มีมิสซา (ข้อ 153)

  • ถ้าเป็นพระสงฆ์ สวมเสื้ออัลบาและสโตลา หรือสวมเสื้อคลุมยาว (Pluviale) สีขาวหรือสีประจำวันฉลอง

30 of 44

  • ถ้าเป็นสังฆานุกรก็สวมเสื้ออัลบาและสโตลา หรือ เสื้อดัลมาติกา สีขาวหรือสีประจำวันฉลอง

31 of 44

การตอบจาก

สมณกระทรวงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์

เอกสารหมายเลข 259/18 17 กรกฎาคม 2018

ลงนาม โดยพระอัครสังฆราช

+ Arthur Roche

เลขาธิการสมณกระทรวงฯ

32 of 44

1. สมณกระทรวงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ได้พิจารณาคำ ขอร้องของพระคุณเจ้าอย่างรอบคอบ

2. ขอชมความเอาใจใส่ด้านอภิบาลที่บรรดาพระสังฆราชแสดงออก แม้ว่าชาวคาทอลิกจะมีอัตราส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ

3. แต่ในอีกด้านหนึ่ง จำเป็นต้องระลึกอยู่เสมอว่า การปฏิรูปของสภาสังคายนาและหลังสภาสังคายนากำหนดให้ประกอบพิธีสมรสภายในมิสซาได้ โดยสันนิษฐานว่า คู่สมรสทั้งสองฝ่ายเป็นคาทอลิก และดังนี้จึงอาจร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณได้อย่างสมบูรณ์

ย่อหน้าที่ 2

33 of 44

เป็นที่น่ายินดีว่า การปฏิรูปด้านพิธีกรรมและจารีตพิธีสมรสเองได้เกิดผลอย่างยิ่งในการเรียกร้องความเอาใจใส่ของคู่สมรส รวมทั้งความเอาใจใส่ของประชากรของพระเจ้า ให้มีต่อความสัมพันธ์ของศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง (คือศีลมหาสนิทและศีลสมรส) เพราะเหตุเช่นนี้ ภาษาที่ใช้ในพิธีสมรสภายในมิสซาจึงกล่าวพาดพิงอย่างมากถึงศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท

ย่อหน้าที่ 3

34 of 44

กฎเกณฑ์การประกอบพิธีศีลสมรส ข้อ 36 ที่สภา�พระสังฆราชอ้างถึงนั้นได้คาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วถึงกรณีต่างๆที่การสมรสระหว่างชาวคาทอลิกกับผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วแต่ไม่ใช่คาทอลิก ซึ่งสมณประมุขของท้องถิ่นอาจอนุญาตให้ประกอบพิธีสมรสได้ระหว่างพิธีมิสซา �ดังนั้น จึงดูเหมือนจะเป็นการชัดเจนว่า ในกรณีนี้พันธะการสมรสได้รวมบุคคลทั้งสองไว้ในศีลสมรส การประกอบพิธีสมรสภายในพิธีมิสซาจึงมีหลักฐานสมบูรณ์ นั่นคือการสมรสที่เกิดขึ้นนับได้ว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ (sacramental)

ย่อหน้าที่ 4

35 of 44

ส่วนการสมรสระหว่างชาวคาทอลิกกับผู้กำลังเรียนคำสอนเตรียมเป็นคาทอลิก (catechumen - “คริสตังสำรอง”) หรือกับผู้ที่ไม่เป็นคาทอลิกต้องถือว่า ไม่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ เหตุผลของการปฏิรูป (ของสภาสังคายนา) ก็เพื่อกำหนดโครงสร้างของพิธีให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงด้านอภิบาลให้มากที่สุดโดยที่ไม่ต้องสร้างภาพให้เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบพิธีสมรสจึงต้องปฏิบัติตามข้อ 152-178 ของหนังสือพิธีนี้ (นั่นคือ “พิธีสมรสระหว่างชาวคาทอลิกกับผู้กำลังเรียนคำสอนเตรียมเป็นคาทอลิก หรือกับผู้ที่ไม่เป็นคาทอลิก”) โดยไม่มีข้อยกเว้น

ย่อหน้าที่ 4

36 of 44

ดังนั้น สมณกระทรวงนี้จึงไม่มีทางจะเห็นด้วยกับคำขอร้องนี้ และยังขอร้องให้บรรดาพระสังฆราชได้มุ่งไปให้ความสำคัญในการริเริ่มงานอภิบาลที่อาจส่งเสริมบรรดาผู้อภิบาลให้คิดถึงการกำหนดให้มีมิสซา บางทีในวันก่อนพิธีสมรส หรือแม้กระทั่งก่อนพิธีสมรสในวันนั้นด้วย เช่นเดียวกัน ยังนับได้ว่าเป็นการเตรียมพิธีสมรสไว้ล่วงหน้านานๆ บรรดาพระสังฆราชอาจคิดถึงการริเริ่มที่อาจช่วยส่งเสริมการสมรสของชาวคาทอลิกกับชาวคาทอลิกกันด้วย

ย่อหน้าที่ 5

37 of 44

38 of 44

ประมวลกฎหมายพระศาสนจักกร มาตรา ๗๓๖

วรรค เป็นหน้าที่ของสภาพระสังฆราช ที่จะจัดแปล และพิมพ์หนังสือพิธีกรรมเป็นภาษาท้องถิ่น โดยประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือพิธีกรรมเอง โดยได้รับการรับรองจาก สันตะสำนักก่อน

39 of 44

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย �ในการประชุมสมัยสามัญ ครั้ง 2/2008 วันที่ 2-4 กันยายน ค.ศ. 2008 มีมติ

“ขอให้หนังสือพิธีกรรมต่างๆ และการจัดพิมพ์หนังสือพิธีกรรมตามที่สมณกระทรวงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์กำหนด เป็นลิขสิทธิ์ของคณะ กรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม ในการเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ”

40 of 44

3.จารีตพิธีศีลสมรสต่อหน้าประธานที่เป็นฆราวาส (หนังสือพิธีสมรสบทที่ 3 ข้อ 118-151)

(จารีตพิธีศีลสมรสต่อหน้าประธานที่เป็นฆราวาสไม่มีใน Ordo Celebrandi Matrimonium ฉบับปี ค.ศ.1969 �แต่มีในฉบับปรับปรุง ปี ค.ศ.1990 โดยสอดคล้องกับกฎหมาย�พระศาสนจักรมาตรา 1112

41 of 44

มาตรา ๑๑๑๒ วรรค ๑

อนุญาตแล้วที่ใดที่ขาดพระสงฆ์และสังฆานุกร �พระสังฆราชสังฆมณฑลสามารถมอบอำนาจให้แก่ฆราวาสประกอบพิธีแต่งงานได้

ถ้าสภาพระสังฆราชได้เห็นชอบและสันตะสำนักได้

วรรค ๒

ต้องเลือกฆราวาสที่เหมาะสมที่สามารถให้การอบรมบุคคลที่จะแต่งงาน และมีคุณสมบัติที่จะประกอบพิธีกรรม การแต่งงานได้อย่างถูกต้อง”

42 of 44

พิธีแบบนี้สำหรับคู่สมรสที่ทั้งสองฝ่ายเป็นคาทอลิก แต่ไม่สามารถหาศาสนบริกรที่ได้รับศีลบวชเป็นประธานในการประกอบพิธีได้ ก็สามารถให้ฆราวาสคนหนึ่งซึ่งได้รับอำนาจจากพระสังฆราชของสังฆมณฑลเป็นประธานประกอบพิธีศีลสมรสได้ �พิธีสมรสที่จัดขึ้นนี้ถือเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยโครงสร้างของพิธีประกอบด้วย

43 of 44

44 of 44