1 of 11

แนวคิดเชิงคำนวณ

กลุ่มที่ 4

2 of 11

สมาชิก

1.ด.ญ.อภิญญา จันทนา

2.ด.ญ.กาญจน์เกล้า เทพศาสตรา

3.ด.ญ.ธันยพร สังขวรรณ์

4.ด.ญ ณฤดี เข็มเพ็ช

5.ด.ญชาลิสา ประจำการ

3 of 11

แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่

4 of 11

- การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition)

นำปัญหาหลักมาแบ่งเป็นปัญหาย่อยที่เล็กกว่าและมีขอบเขตเจาะจงมากขึ้น เช่น ปัญหาการส่งออกสินค้าล่าช้าหรือปัญหาความไม่สมดุลย์ในกระบวนการ การวิเคราะห์ปัญหาย่อย: วิเคราะห์แต่ละปัญหาย่อยเพื่อรู้สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา เช่น การวิเคราะห์กระบวนการการส่งออกสินค้าเพื่อระบุปัญหาที่เกี่ยวข้อง

5 of 11

- การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition)

เป็นการวิเคราะห์หาความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันระหว่าง ปัญหาย่อยที่แตกออกมาหรือความคล้ายคลึงกับปัญหาอื่น ๆ ที่มีผู้ออกแบบวิธีการแก้ไขไว้ก่อนแล้ว

6 of 11

- การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)

ใช้ในกระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยในปัญหา หรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็น

7 of 11

- การออกแบบอัลกอริทีม (algorithm)

เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการแก้ปัญหา โดยจะอธิบายการทำงานที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนโปรแกรม ช่วยให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น ช่วยให้โปรแกรมมีข้อผิดพลาดน้อยลง นอกจากนี้ยังช่วยตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม ทำให้ทราบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องดูจากโปรแกรม

8 of 11

เครื่องมือช่วยในการเขียนที่นิยมใช้ 3 แบบ

9 of 11

- บรรยาย (narrative description)

เป็นการแสดงขั้นตอนการทำงานในลักษณะการบรรยายเป็นข้อความด้วยภาษาพูดใด ๆ

10 of 11

- ผังงาน (flowchart)

Flowchart หรือผังงาน เป็นเครื่องมือแสดงขั้นตอน หรือกระบวนการทำงานที่กระชับ เข้าใจง่าย โดยใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และใช้ข้อความสั้น ๆ อธิบายข้อมูล ผลลัพธ์ คำสั่ง หรือจุดตัดสินใจของขั้นตอน และเชื่อมโยงขั้นตอนเหล่านั้นด้วยเส้นที่มีลูกศรชี้ทิศทางการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ1

การเขียนผังงาน

11 of 11

- รหัสเทียม (pseudo code)

ใช้เป็นภาษากลางในการอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมและขั้นตอนวิธี การเขียนรหัสเทียมไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว สำคัญเพียงแต่เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยปกติแล้วจะประยุกต์รูปแบบการเขียนและโครงสร้างมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนรหัสเทียมจะเป็นลักษณะการเขียนคำอธิบายมากกว่าการเขียนเป็นคำสั่งต่าง ๆ และการเขียนรหัสเทียมนั้นมักจะไม่ใส่ใจในรายละเอียดการเขียนมากนัก เช่น อาจไม่มีขั้นตอนการประกาศตัวแปร เป้าหมายสำคัญของการเขียนรหัสเทียมคือทำลายกำแพงของภาษาลงไป การเขียนรหัสเทียมจึงไม่ใส่ใจในการเขียนไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักภาษา แต่จะเป็นไปตามใจของผู้เขียนมากกว่า

รหัสเทียมในอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ผังงาน (flowchart) ซึ่งนำเสนอการทำงานของโปรแกรม และขั้นตอนวิธีในรูปแบบของแผนภาพ