แบบสอบถามความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
Sign in to Google to save your progress. Learn more
"เพื่อให้การดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ จึงดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระหว่างวันที่ ๑ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ “
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : กองกฎหมาย ปก.๑ โทร ๕๑๗๓๑
ชื่อ-นามสกุล *
หน่วยงานของท่าน
มาตรา ๕ “ให้มีคณะกรรมการคดีพิเศษ เรียกโดยย่อว่า “กคพ.” ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเก้าคน และในจำนวนนี้ต้องมีบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกฎหมาย อย่างน้อยด้านละหนึ่งคนเป็นกรรมการ
             ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมสอบสวนคดีพิเศษจำนวนไม่เกินสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ”
*
มาตรา ๒๑ วรรคสอง "ในคดีที่มีการกระทำอันเป็น กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท และบทใดบทหนึ่งจะต้องดำเนินการโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ หรือคดีที่มีการกระทำความผิดหลายเรื่องต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกัน และความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะต้องดำเนินการโดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจสืบสวนสอบสวนสำหรับความผิดบทอื่นหรือเรื่องอื่นด้วย และให้ถือว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ ในกรณีมีข้อโต้แย้งหรือข้อสงสัยให้อธิบดีเป็นผู้ชี้ขาด" *
มาตรา ๒๑/๑ "ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดอันเป็นคดีพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดในความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ
          ในคดีพิเศษที่มีการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและบทใดบทหนึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคดีพิเศษที่มีการกระทำความผิดเกี่ยวข้องกันและความผิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการในคราวเดียวกัน ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่
           ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติยังมิได้มีมติอย่างใดอย่างหนึ่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจทำการสอบสวนไปพลางก่อนได้
          ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติรับคดีพิเศษตามวรรคหนึ่งหรือ   วรรคสองไว้ดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนการสอบสวนตามวรรคก่อนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอาจถือสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของการไต่สวนข้อเท็จจริงได้
          ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นสมควรส่งเรื่องตามวรรคสี่ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษเป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยให้ถือว่าเป็นคดีพิเศษที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ และมีอำนาจในส่วนที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเฉพาะเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
          การดำเนินคดีตามวรรคก่อน กรณีพนักงานสอบสวนคดีพิเศษพบการกระทำความผิดในคดีที่มีการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หรือคดี ที่มีการกระทำหลายเรื่องต่อเนื่องหรือเกี่ยวพันกันซึ่งจะต้องดำเนินการสอบสวนในคราวเดียวกัน ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจสอบสวนดำเนินการ โดยให้รายงานให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ"
*
         มาตรา ๒๒ วรรคสี่ "ในกรณีที่พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือตามกฎหมายอื่นได้ทำการสอบสวนคดีอาญาเรื่องใดไปแล้ว แต่ต่อมาปรากฏว่าคดีนั้นเป็นคดีพิเศษ เมื่อพนักงานสอบสวนส่งมอบสำนวนการสอบสวนคดีดังกล่าวให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษตามวิธีปฏิบัติในวรรคหนึ่ง
            (๑) แล้วให้ถือว่าสำนวนการสอบสวนที่ส่งมอบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ"
*
      มาตรา ๒๒/๑ "ในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามตามพระราชบัญญัตินี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษอาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความเหมาะสม
   ให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ ตามสมควรแก่กรณี โดยได้รับค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนอื่นใดที่จำเป็นในการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การดำเนินงานตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ"
*
       มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจหน้าที่ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษมีอำนาจสืบสวนและสอบสวน และเป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี
         ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คดีพิเศษ ตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่คดีพิเศษมีหน้าที่ช่วยเหลือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
         
*
มาตรา ๒๓/๑ “ในการสืบสวนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ผู้สืบสวนเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องที่สืบสวนและเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องที่สืบสวนดังกล่าว” *
       มาตรา ๒๓/๒   “บุคคลซึ่งมีส่วนร่วมกับการกระทำความผิดในคดีพิเศษ หากได้ให้ถ้อยคำหรือแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลที่สำคัญในระหว่างการสอบสวนและเป็นประโยชน์ที่จะสามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนที่สำคัญ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษอาจเสนอให้กันบุคคลนั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีก็ได้
ในกรณีที่บุคคลซึ่งมีส่วนร่วมกับการกระทำความผิดในคดีพิเศษประสงค์จะเสนอตนเอง เพื่อจะแจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษบันทึกข้อมูลดังกล่าว ไว้ในสำนวนการสอบสวน และอาจเสนอกันบุคคลนั้นไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดีก็ได้
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการกันไว้เป็นพยานตามมาตรานี้ให้เป็นไปตามที่ กคพ. กำหนด”
*
มาตรา ๒๓/๓   “ในกรณีที่มีการฟ้องคดีแล้ว             หากการให้ข้อมูลตามมาตรา ๒๓/๒ ได้กระทำในระหว่าง    การพิจารณาคดีของศาล ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจออกคำสั่งถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา หรือไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา
ในความผิดของบุคคลที่ทั้งหมดหรือบางส่วน แล้วแต่กรณีทั้งนี้ ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา”
*
มาตรา ๒๓/๔  “เมื่ออธิบดีหรืออัยการสูงสุดพิจารณาให้ความเห็นชอบให้กันบุคคลใดไว้เป็นพยานแล้ว      มิให้ดำเนินคดีอาญาหรือดำเนินการทางวินัยกับบุคคลนั้น และบุคคลนั้นอาจได้รับความช่วยเหลือและคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดจนคดีถึงที่สุด เว้นแต่บุคคลนั้นฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการกันไว้เป็นพยาน ตามข้อบังคับที่ กคพ. กำหนด” *
มาตรา ๒๓/๕  “หากบุคคลตามมาตรา ๒๓/๒ ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือไม่ไปเบิกความ หรือไปเบิกความแต่ไม่เป็นไปตามที่ให้การหรือให้ถ้อยคำไว้ หรือไปเบิกความแต่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี หรือเป็นปฏิปักษ์ให้การกันไว้เป็นพยานของบุคคลนั้นสิ้นสุดลงและให้ดำเนินคดีกับบุคคลนั้นตามความผิดที่ได้ร่วมกระทำต่อไป” *

มาตรา ๒๓/๖ "ถ้าศาลเห็นว่าผู้ร่วมกระทำผิดรายใดให้ถ้อยคำหรือข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปสู่การดำเนินคดีกับตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนที่สำคัญในคดีพิเศษ ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้”
             
 
*
มาตรา ๒๓/๗  "ในกรณีที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ หรือบุคคลใดที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษถูกดำเนินคดีไม่ว่าเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีปกครอง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ และไม่ว่าจะถูกฟ้องในขณะดำรงตำแหน่งหรือเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้วให้กรมสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้คดีแก่บุคคลดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานอัยการมิใช่เป็นผู้ฟ้องอาจขอให้พนักงานอัยการเข้าแก้ต่างให้บุคคลเหล่านั้นก็ได้การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวให้รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความด้วย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ กคพ. กำหนด
          ในการปฏิบัติหน้าที่และการใช้ดุลยพินิจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่คดีพิเศษ หรือบุคคลใดตามวรรคแรก ในการมีความเห็น มติ คำสั่ง ในการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน หรือมีความเห็นทางคดีตามกฎหมาย ซึ่งได้แสดงเหตุผลอันสมควรประกอบแล้ว และได้กระทำไปโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครอง”
*
มาตรา ๒๔ "เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย
           (๑) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น เมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีบุคคลที่มีเหตุสงสัยว่ากระทำความผิดหลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทำลาย หรือทำให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
          (๒) ค้นบุคคล หรือยานพาหนะที่มีเหตุสงสัยตามสมควรว่ามีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้"
*
มาตรา ๒๔ วรรคสาม "เฉพาะการใช้อำนาจตามวรรคหนึ่ง (๑) นอกจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษต้องดำเนินการเกี่ยวกับวิธีการค้นตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษแสดงความบริสุทธิ์ก่อนการเข้าค้น รายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป และบันทึกเหตุสงสัยตามสมควรและเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหสถานหรือสถานที่ค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้นให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งมอบสำเนาหนังสือนั้นให้แก่ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้และหากเป็นการเข้าค้นในเวลากลางคืนภายหลังพระอาทิตย์ตก พนักงานสอบสวนคดีพิเศษผู้เป็นหัวหน้าในการเข้าค้นต้องเป็นข้าราชการพลเรือนตำแหน่งตั้งแต่ระดับชำนาญการขึ้นไปด้วย" *
         มาตรา ๒๕  "ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสารหรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการสื่อสารสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อทางเทคโนโลยีสารสนเทศใด ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด พนักงานสอบสวน          คดีพิเศษซึ่งได้รับอนุมัติจากอธิบดีเป็นหนังสือจะยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวก็ได้
            การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลหรือสิทธิอื่นใดประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นดังต่อไปนี้
          (๑) มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดหรือจะมีการกระทำความผิด
          (๒) มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะได้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดจากการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าว
         (๓) ไม่อาจใช้วิธีการอื่นใดที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าได้การอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสั่งอนุญาตได้คราวละไม่เกินเก้าสิบวันโดยกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ และให้ผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารในสิ่งสื่อสารตามคำสั่งดังกล่าวจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้ ภายหลังที่มีคำสั่งอนุญาต  หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าเหตุผลความจำเป็นไม่เป็นไปตามที่ระบุหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้รายงานการดำเนินการให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาทราบ บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ได้มาตามวรรคหนึ่งให้เก็บรักษาเฉพาะข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งได้รับอนุญาตตามวรรคหนึ่ง และให้ใช้ประโยชน์ในการสืบสวนหรือใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในการดำเนินคดีดังกล่าวเท่านั้น ส่วนข้อมูลข่าวสารอื่นให้ทำลายเสียทั้งสิ้น ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่ กคพ. กำหนด"
*
มาตรา ๒๖  "ห้ามมิให้บุคคลใดเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ได้มาเนื่องจากการดำเนินการตามมาตรา ๒๕ เว้นแต่เป็นข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดซึ่งได้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๕ และเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่หรือตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาล” *
มาตรา ๒๘ "ให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษมีอำนาจเก็บรักษาของกลางหรือมอบหมายหรือว่าจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้เก็บรักษา
                    ในกรณีที่ของกลางนั้นไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษา หรือเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการ ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งให้นำของกลางนั้น ออกขายทอดตลาดหรือนำไปใช้ประโยชน์ของทางราชการ โดยอาจหักค่าใช้จ่ายได้ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกำหนด"
*
มาตรา ๓๐ "ในการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นพิเศษ อธิบดีอาจแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้นเป็นที่ปรึกษาคดีพิเศษได้" *
มาตรา ๓๒ "ในกรณีที่อธิบดีเห็นว่า เพื่อประสิทธิภาพในการปราบปรามการกระทำความผิดคดีพิเศษ อธิบดีจะให้ความเห็นชอบให้คดีพิเศษคดีหนึ่งคดีใดหรือคดีประเภทใดต้องมีพนักงานอัยการหรืออัยการทหาร แล้วแต่กรณี มาสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเพื่อให้คำแนะนำและตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่ชั้นเริ่มการสอบสวน แล้วแต่กรณีก็ได้ เว้นแต่การสอบสวนคดีพิเศษที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง (๑) (ค) หรือ (ง) ต้องมีพนักงานอัยการหรืออัยการทหารมาสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษทุกคดี แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การสอบสวนร่วมกันหรือการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันดังกล่าวให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ กคพ. กำหนด” *
มาตรา ๒๓ "ให้ยกเลิกบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้บัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน"   *
มาตรา ๒๔ "ให้บรรดาคดีพิเศษตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ๒๕๔๗ เดิม ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ยังคงเป็นคดีพิเศษซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด" *
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม *
Submit
Clear form
Never submit passwords through Google Forms.
This content is neither created nor endorsed by Google. Report Abuse - Terms of Service - Privacy Policy