Help.ClassStart.org
คู่มือการใช้งาน ClassStart
แพลตฟอร์มการจัดการการเรียนรู้
(Thailand Learning Management System)
ClassStart เป็นบริการของ บริษัท ปิยะวัฒนา จำกัด
สนับสนุนโดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
เราเป็นกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprises)
Email: support@ClassStart.org
Line: @ClassStart
ประวัติความเป็นมา 7
ภาพรวมความสามารถของ ClassStart 8
สำหรับผู้สอน 8
สำหรับผู้เรียน 18
ระบบสำหรับสมาชิก 24
การสมัครสมาชิก 24
การยืนยันการสมัครสมาชิก 26
การเข้าระบบใช้งาน 27
การขอรหัสผ่านใหม่ 27
การแก้ไขข้อมูลสมาชิก 29
การเปลี่ยนพาสเวิร์ดใหม่ 31
การแก้ไขรูปประจำตัว 34
การแก้ไขข้อมูลสถานศึกษา 36
ระบบสำหรับผู้สอน 39
วิชา 39
จุดเด่น 39
การสร้างวิชา 39
การแก้ไขวิชา 41
การเข้าดูวิชาที่สอน 43
การสำเนาวิชาที่สอน 45
การปิดวิชา 47
การยกเลิกการปิดวิชา 50
การอนุมัติผู้เรียนเข้าวิชา 53
การอนุมัติผู้เรียนเข้าวิชา 53
การเพิ่มผู้เรียนในวิชา 54
การลบผู้เรียนออกจากวิชา 59
การกำหนดให้ผู้เรียนพักการเรียน/ดรอปเรียน 62
เอกสารการสอน 65
จุดเด่น 65
การเพิ่มเอกสารการสอน 66
การแก้ไขเอกสารการสอน 69
การลบเอกสารการสอน 71
การเพิ่มไฟล์แนบในเอกสารการสอน 75
การลบไฟล์แนบในเอกสารการสอน 77
การเพิ่มวิดีโอ YouTube ในเอกสารการสอน 80
แผนการเรียนรู้ 84
การสร้างแผนการเรียนรู้ 85
การเพิ่มบันทึกหลังการสอนในแผนการเรียนรู้ 88
การแก้ไขแผนการเรียนรู้ 91
การลบแผนการเรียนรู้ 94
การเพิ่มไฟล์แนบในเแผนการเรียนรู้ 97
การลบไฟล์แนบในแผนการเรียนรู้ 99
แบบฝึกหัด 101
จุดเด่น 102
การสร้างแบบฝึกหัดใหม่ 103
การสร้างแบบฝึกหัดเดี่ยว 103
การสร้างแบบฝึกหัดกลุ่ม 105
การแก้ไขแบบฝึกหัด 108
การเพิ่มไฟล์แนบในแบบฝึกหัด 112
การลบไฟล์แนบในแบบฝึกหัด 113
การลบแบบฝึกหัด 116
การตรวจให้คะแนนแบบฝึกหัด 120
การตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนที่ยังไม่ส่งแบบฝึกหัด 124
คะแนนเก็บ (ชิ้นงานที่ไม่ได้ส่งผ่านระบบ) 127
จุดเด่น 127
การสร้างคะแนนเก็บ 127
การสร้างคะแนนเก็บภายนอกแบบเดี่ยว 127
การสร้างคะแนนเก็บภายนอกแบบกลุ่ม 130
การแก้ไขคะแนนเก็บ 132
การให้คะแนนเก็บ 136
ข่าวประกาศ 139
การเพิ่มข่าวประกาศ 140
การแก้ไขข่าวประกาศ 143
การลบข่าวประกาศ 146
การอ่านข่าวประกาศ 149
บันทึกการเรียนรู้ 152
จุดเด่น 152
การเพิ่มบันทึกการเรียนรู้ของวิชา 152
การเพิ่มไฟล์แนบในบันทึกการเรียนรู้ของวิชา 154
การแก้ไขบันทึกการเรียนรู้ของวิชา 155
การเข้าไปอ่านบันทึกการเรียนรู้ของวิชา 158
การแสดงความเห็นในบันทึกการเรียนรู้ของวิชา 159
การแนบไฟล์ในความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้ 160
สนทนา (Chat) 161
จุดเด่น 161
การคุยสนทนาแบบรวม 161
การคุยสนทนาแบบเฉพาะบุคคล 163
กระทู้ถามตอบ 167
การสร้างกระทู้ถามตอบใหม่ 167
การเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ 169
การเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ 172
การเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ 176
กลุ่มผู้เรียน 178
จุดเด่น 178
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียน 179
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบเปลี่ยนกลุ่มได้ตามชิ้นงาน 179
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 185
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียน 188
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน 189
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 193
การลบกลุ่มผู้เรียน 195
การลบกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน 196
การลบกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 200
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน 204
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มตามชิ้นงาน 204
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 208
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียน 210
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน 211
การลบสมาขิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 214
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่ม 216
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบตามชิ้นงาน 217
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม 221
ผู้ร่วมสอน 223
จุดเด่น 223
การเพิ่มผู้ร่วมสอน 224
การลบผู้ร่วมสอน 227
แบบทดสอบ (Quiz) 229
จุดเด่น 229
การสร้างแบบทดสอบ 230
การแก้ไขแบบทดสอบ 237
การแก้ไขโจทย์คำถาม 240
การแก้ไขตัวเลือก (Choices) พร้อมเฉลย 245
การลบแบบทดสอบ 250
การลบโจทย์คำถาม 254
การลบตัวเลือก (Choices) 258
การเปิดสอบแบบทดสอบ 263
ระบบลงเวลาเรียน 266
จุดเด่น 266
การสร้างใบลงเวลาเรียน 268
การลงเวลาเรียน 270
ระบบใบนับการมีส่วนร่วม 273
จุดเด่น 273
การสร้างใบนับการมีส่วนร่วม 274
การแก้ไขใบนับการมีส่วนร่วม 276
การให้คะแนนการมีส่วนร่วม 279
การเข้าดูรายการการมีส่วนร่วม 283
การดาวน์โหลดข้อมูล 286
จุดเด่น 286
การดาวน์โหลดคะแนนทั้งหมด 287
การดาวน์โหลดใบลงเวลาเรียนทั้งหมด 290
ระบบสำหรับผู้เรียน 293
การขอเข้าร่วมวิชาเรียน 294
แผนการเรียนรู้ 296
การเข้าไปอ่านแผนการเรียนรู้ของวิชา 296
เอกสารการสอน 298
การเข้าไปอ่านเอกสารการสอนของวิชาเรียน 299
ข่าวประกาศ 301
การอ่านข่าวประกาศ 301
บันทึกการเรียนรู้ 304
การเพิ่มบันทึกการเรียนรู้ 304
การเพิ่มไฟล์แนบในบันทึกการเรียนรู้ 306
การแก้ไขบันทึกการเรียนรู้ 306
การเข้าไปอ่านบันทึกการเรียนรู้ของวิชาเรียน 309
การแสดงความคิดเห็นในบันทึกการเรียนรู้ 310
การแนบไฟล์ในความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้ 312
สนทนา (Chat) 312
การคุยสนทนา 312
กระทู้ถามตอบ 315
การสร้างกระทู้ถามตอบใหม่ 315
การเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ 317
การเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ 320
การเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ 324
กลุ่มผู้เรียน 326
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียน 327
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน 330
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียน 334
แบบฝึกหัด 338
การส่งคำตอบแบบฝึกหัด 338
การส่งแบบฝึกหัดงานเดี่ยว 339
การส่งแบบฝึกหัดงานกลุ่ม 341
การแก้ไขคำตอบแบบฝึกหัด 345
การเพิ่มไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด 349
การลบไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด 352
แบบทดสอบ (Quiz) 356
การทำแบบทดสอบ 356
ระบบลงเวลาเรียน 360
การลงเวลาเรียน 360
ระบบใบนับการมีส่วนร่วม 364
การกรอกคะแนนในใบนับการมีส่วนร่วม 365
การดูคะแนนของตนเอง 368
การเขียนเนื้อหาแบบ Markdown 370
การเขียนหัวข้อ (Headers) 372
การใส่ลิงก์เว็บเพจ (Link) 373
การทำข้อความเป็นตัวหนา (Bold) 376
การทำข้อเความเป็นตัวเอียง (Italics) 378
การใส่สัญลักษณ์รายการ (Bullet) 380
การใส่รายการเรียงลำดับเลข 382
การกำหนดข้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ 384
ระบบวิเคราะห์การเรียนรู้ระดับวิชา 388
พฤติกรรมในการเรียน 390
จำนวนชั่วโมงในการเข้าใช้ ClassStart 390
จำนวนการเข้าวิชาเรียน 390
จำนวนบันทึกการเรียนรู้ 391
จำนวนครั้งในการลงเวลาเรียน 391
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 393
คะแนนสอบปรนัย 394
คะแนนอัตนัย 395
คะแนนเก็บ 396
ประวัติความเป็นมา
ClassStart.org เป็นแพลตฟอร์มการจัดการการเรียนการสอน (Learning Management System) ผู้เรียนผู้สอนสามารถใช้งานได้ง่ายเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาจากทั่วทุกมุมโลกเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องติดตั้งและดูแลเว็บไซต์และเครื่องแม่ข่ายเอง มีทั้งระบบการวางแผนและจัดการชั้นเรียน เอกสารการสอน การจัดการแบบฝึกหัด การติดต่อสื่อสาร การทดสอบและการประเมินผล พร้อมให้ผู้เรียนผู้สอนใช้งานได้เองทันที
ClassStart.org พัฒนาขึ้นโดย ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ และ ผศ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ GotoKnow.org มากว่า 14 ปี สนับสนุนโดยมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ClassStart.org ให้บริการฟรี! แก่ผู้เรียนผู้สอนทั่วประเทศ (ห้ามใช้เพื่อการค้าในทุกกรณี) มาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 และ ณ ปัจจุบันนี้ มีสมาชิก 582,507 คน และชั้นเรียน 59,138 รายการ จากสถานศึกษาทั่วไทยจำนวน 4,302 แห่ง (ข้อมูล ณ 18 กรกฎาคม 2564)
ดาวน์โหลด ClassStart Andriod App ได้แล้ววันนี้ที่ (https://play.google.com/store/apps/details?id=org.classstart.classstart)
ภาพรวมความสามารถของ ClassStart
เมื่อสมัครเป็นสมาชิก ClassStart.org แล้วทั้งผู้เรียนและผู้สอนจะสามารถเริ่มใช้งานระบบต่างๆ ได้ทันที
สำหรับผู้สอน
- สร้างวิชาได้ไม่จำกัด และมีผู้ร่วมสอนได้
- แต่ละวิชามีผู้เรียนและผู้ร่วมสอนได้เท่าที่ต้องการ
- ส่งข่าวประกาศถึงผู้เรียนทุกคน
- อัปโหลดเอกสารการสอน
- ให้แบบฝึกหัดได้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
- ตรวจและให้คะแนนแบบฝึกหัดออนไลน์
- ออกข้อสอบและจัดสอบออนไลน์
- บันทึกและประกาศคะแนนเก็บ
- สื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านสนทนา
- สื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านกระทู้ถามตอบ
- ตรวจการเข้าเรียนผ่านระบบใบลงเวลาเรียนออนไลน์
- ประมวลผลคะแนนรวมทั้งเทอมเป็นไฟล์ Excel
- สำเนาวิชาทั้งแผนการเรียนรู้ เอกสารการสอน แบบฝึกหัด (อัตนัย) และแบบทดสอบ (ปรนัย) เพื่อสร้างเป็นวิชาใหม่
สำหรับผู้เรียน
- เข้าดูเอกสารการสอน
- อ่านข่าวประกาศ
- ทำแบบฝึกหัด
- ทำข้อสอบ
- ดูคะแนนเก็บทั้งคะแนนแบบฝึกหัด (อัตนัย) คะแนนแบบทดสอบ (ปรนัย) คะแนนเก็บ และรายการลงเวลาเรียน
- สื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านสนทนา
- สื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านกระทู้ถามตอบ
- ลงเวลาเรียนออนไลน์
- เขียนบันทึกการเรียนรู้
ระบบสำหรับสมาชิก
การสมัครสมาชิก
- คลิกเมนู “เข้าระบบ”
- คลิกเมนู “สมัครสมาชิก”
- กรอกข้อมูลในหน้าสมัครสมาชิก จากนั้นคลิกปุ่ม “เก็บข้อมูล”
- ทำการยืนยันการสมัครสมาชิก และทำการคัดลอก (Copy) รหัสที่ระบบแจ้งไปให้ เพื่อนำไปใส่ในระบบสำหรับยืนยันอีเมล
การยืนยันการสมัครสมาชิก
- เข้าไปยังอีเมลที่ใช้ในการสมัครสมาชิก จากนั้นเปิดอีเมลที่ระบบแจ้งยืนยันการสมัครสมาชิก และทำการคัดลอก (Copy) รหัสที่ระบบแจ้งไปให้ เพื่อจะนำไปใส่ในระบบสำหรับยืนยันอีเมล
- นำรหัสที่คัดลอกจากอีเมลมาใส่ในช่อง “โค้ดยืนยัน” จากนั้นคลิกปุ่ม “ยืนยันอีเมล”
- เข้าใช้งานระบบโดยการกรอก “อีเมล” และ “พาสเวิร์ด” ที่สร้างขึ้นตอนสมัครสมาชิก
การเข้าระบบใช้งาน
- เข้าเว็บไซต์ ClassStart.org แล้วกรอก “อีเมล” และ “พาสเวิร์ด” จากนั้นคลิกปุ่ม “เข้าระบบ”
การขอรหัสผ่านใหม่
- คลิกเลือกเมนู “ลืมพาสเวิร์ด?” ที่อยู่ด้านล่างของเว็บไซต์
- กรอก “อีเมล” หลังจากนั้นคลิกปุ่ม “ส่งอีเมลวิธีการเปลี่ยนพาสเวิร์ดมาให้ฉัน”
- เปิดอีเมลที่ระบบส่งไปให้ จากนั้นคลิกที่ลิงค์ “เปลี่ยนรหัสผ่าน”
- กรอกรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดใหม่ จากนั้นคลิกปุ่ม “เปลี่ยนพาสเวิร์ด”
การแก้ไขข้อมูลสมาชิก
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “ข้อมูลของฉัน”
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไขข้อมูลของฉัน”
- กรอกข้อมูลที่ต้องการแก้ไข จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การเปลี่ยนพาสเวิร์ดใหม่
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “ข้อมูลของฉัน”
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เปลี่ยนพาสเวิร์ด”
- กรอกพาสเวิร์ดปัจจุบันและพาสเวิร์ดใหม่ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขรูปประจำตัว
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “ข้อมูลของฉัน”
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไขรูปถ่ายประจำตัว”
- คลิกปุ่ม “เลือกรูปถ่าย” จากนั้นเลือกไฟล์รูปที่ต้องการ
การแก้ไขข้อมูลสถานศึกษา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “สถานศึกษาของฉัน”
- คลิกปุ่ม เพื่อแก้ไขข้อมูลสถานศึกษา
- แก้ไขข้อมูลสถานศึกษา จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
ระบบสำหรับผู้สอน
วิชา
จุดเด่น
- ใช้ bandwidth ต่ำ รวดเร็ว เครือข่ายโทรศัพท์มือถือก็สามารถใช้งานได้ ไม่ต้องต่อ WIFI
- รองรับการใช้งานอุปกรณ์หลากหลายทั้งเดสก์ทอป แท็บเล็ต โทรศัพท์
- รองรับผู้เรียนได้ไม่จำกัดจำนวน
- ผู้เรียนมาจากหลากหลายสถาบันได้
- ไม่จำกัดพื้นที่เก็บข้อมูล
- ให้บริการผ่าน Cloud computing providers ระดับโลก
- สำเนาวิชาที่สอนได้
- ปิดรายวิชาเมื่อสิ้นเทอมได้ เก็บไว้เป็นประวัติ
- ร่วมสอนกันหลายคนได้
- ผู้เรียนเข้าดูเอกสารการสอน ทำแบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบ ได้ทุกที่ทุกเวลา
- ผู้สอนตรวจงานและให้คะแนนได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนได้รับคะแนนทันที
- สนทนา Chat แบบรายบุคคลกับผู้สอน และทั้งคลาส
- ดาวน์โหลดไฟล์คะแนนในรูปแบบ Spreadsheet ทั้ง .xls, .csv
- New! ดาวน์โหลดไฟล์เช็คชื่อเข้าเรียน (ขาด มา ลา สาย)
- New! วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการเรียน
- New! ดาวน์โหลดไฟล์ Clickstream (Premium Service)
การสร้างวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างวิชาที่สอน
- กรอกข้อมูลของวิชาที่สอน จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะทำการแก้ไข
- เลือกเมนู “ข้อมูลวิชา”
- คลิกปุ่ม เพื่อแก้ไขวิชา
- ทำการแก้ไขข้อมูลวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การเข้าดูวิชาที่สอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- ระบบจะทำการแสดงวิชาที่สอนทั้งหมดมาให้
หมายเหตุ: ผู้สอนไม่สามารถลบวิชาที่สอนได้ แต่สามารถปิดวิชาและเปิดขึ้นมาอีกครั้งได้
การสำเนาวิชาที่สอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะทำสำเนา
- เลือกเมนู “สำเนาวิชา”
- พิมพ์ชื่อวิชาใหม่ และเลือกรายการที่จะสำเนา ไม่ว่าจะเป็นแผนการเรียนรู้ เอกสารการสอน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ จากนั้นคลิกปุ่ม “สำเนาวิชา”
หมายเหตุ: วิชาใหม่จะใช้งานไม่ได้ทันทีหลังจากคลิกปุ่มสำเนาวิชา เพราะระบบจะใช้เวลาประมวลผลในการสำเนาวิชาใหม่ เมื่อระบบประมวลผลเสร็จแล้ววิชาใหม่จะปรากฎในหน้าวิชาที่สอนโดยอัตโนมัติในภายหลัง
การปิดวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะปิด
- เลือกเมนู “ข้อมูลวิชา”
- คลิกปุ่ม
- ติ๊กรายการ “ปิดวิชา” จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล” ระบบก็จะทำการปิดวิชานั้นทันที
การยกเลิกการปิดวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกเมนู “วิชาที่ปิดอยู่”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะยกเลิกการปิด
- เลือกเมนู “ข้อมูลวิชา”
- คลิกปุ่ม เพื่อเข้าไปยกเลิกการปิดวิชา
- คลิกเอาเครื่องหมายถูกออกจากรายการ “ปิดวิชา” จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล” ระบบก็จะทำการยกเลิกการปิดวิชานั้นทันที
การอนุมัติผู้เรียนเข้าวิชา
การอนุมัติผู้เรียนเข้าวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “รายการรออนุมัติเข้าวิชา”
- คลิกรายชื่อผู้เรียนที่ขอเข้าร่วมวิชา จากนั้นเลือกเมนู “อนุมัติ” เพื่ออนุมัติผู้เรียนเข้าวิชา
การเพิ่มผู้เรียนในวิชา
การเพิ่มผู้เรียนในวิชาสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
- การเพิ่มผู้เรียนโดยการบอกหมายเลขของวิชา (Class ID)
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมาขอเข้าร่วม
- นำหมายเลขประจำวิชา (Class Code) ไปบอกผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนนำไปขอเข้าร่วมวิชา
- การเพิ่มผู้เรียนโดยตรงจากผู้สอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มผู้เรียน
- เลือกเมนู “ผู้เรียน”
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการเพิ่มผู้เรียน
- กรอก “อีเมล” ของผู้เรียน จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่ม” โดยผู้เรียนจะต้องใช้อีเมลนั้นสมัครเป็นสมาชิกใน ClassStart ไว้ก่อนแล้ว ทั้งนี้ การเพิ่มผู้เรียนโดยตรงจากผู้สอน จะต้องรอให้ผู้เรียนตอบรับเข้าเรียนก่อน จึงจะสามารถเข้าเรียนในวิชานั้นได้
การลบผู้เรียนออกจากวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบผู้เรียนออก
- เลือกเมนู “ผู้เรียน”
- เลือกรายชื่อผู้เรียนที่ต้องการจะลบออก
- คลิกปุ่ม
- คลิกปุ่ม “ยกเลิกผู้เรียน”
(NEW) การกำหนดให้ผู้เรียนพักการเรียน/ดรอปเรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะให้ผู้เรียนพักการเรียน/ดรอปเรียน
- เลือกเมนู “ผู้เรียน”
- เลือกรายชื่อผู้เรียนที่ต้องการจะให้พักการเรียน/ดรอปเรียน
- คลิกปุ่ม
- คลิกปุ่ม “Deactivate Student” เพื่อพักการเรียน/ดรอปเรียนของผู้เรียนรายนั้น
เอกสารการสอน
ClassStart.org มีระบบเอกสารการสอนที่ช่วยให้ผู้สอนสามารถวางแผนการเรียนการสอนได้อย่างมีลำดับขั้นตอน ผู้สอนสามารถให้เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนแก่ผู้เรียนไว้ก่อนล่วงหน้าทั้งหมดในรูปแบบสื่ออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ข้อมูลประเภทต่างๆ ไฟล์รูป และวิดีโอคลิป ซึ่งจะเป็นการสร้างผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารและถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งด้วยศักยภาพของสื่อสาธารณะทางสังคมในโลกอินเทอร์เน็ต (Social media) ที่ส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่เนื้อหาความรู้ได้อย่างสะดวก ระบบเอกสารการสอนสำหรับชั้นเรียนของ ClassStart.org สามารถรองรับสื่อเหล่านี้ได้ถูกประเภทอย่างสมบูรณ์แบบทำให้ผู้เรียนสามารถได้รับความรู้ที่เป็นปัจจุบันเท่าทันผู้เรียนในประเทศชั้นนำของโลกได้
นอกจากนี้ หากผู้สอนสามารถผลิตไฟล์เสียงหรือไฟล์วิดีโอของการสอนได้ก่อนล่วงหน้าและนำมาเผยแพร่ไว้ในชั้นเรียนของผู้สอนใน ClassStart.org ไว้ก่อนจะทำให้ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหาการสอนได้ทั้งก่อนและหลังการเข้าชั้นเรียน ทำให้ผู้สอนสามารถใช้ชั่วโมงในชั้นเรียนเน้นไปที่การพูดคุยซักถามปัญหาข้อสงสัยในเนื้อหาหรือทำกิจกรรมเสริมการเรียนในชั้นเรียนได้มากยิ่งขึ้น
จุดเด่น
- จำกัดขนาดไฟล์เอกสาร 32 MB
- รองรับไฟล์ทุกประเภท
- ไม่จำกัดพื้นที่ในการจัดเก็บ
- ใส่รูปและคลิปวิดีโอได้ไม่จำกัด
การเพิ่มเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มเอกสารการสอน
- กรอกรายละเอียดของเอกสารการสอน จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- เลือกเอกสารการสอนที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการแก้ไขเอกสารการสอน
- แก้ไขเอกสารการสอน จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การลบเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- เลือกเอกสารการสอนที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม เพื่อเข้าไปลบเอกสารการสอน
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการลบเอกสารการสอน
การเพิ่มไฟล์แนบในเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- เลือกเอกสารการสอนที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นไฟล์ก็จะปรากฏขึ้นมาในระบบ
การลบไฟล์แนบในเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบไฟล์แนบในเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- เลือกเอกสารการสอนที่ต้องการจะลบไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม ของไฟล์แนบที่ต้องการจะลบ
การเพิ่มวิดีโอ YouTube ในเอกสารการสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มวิดีโอจาก YouTube ในเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มวิดีโอจาก YouTube ในเอกสารการสอน
- กรอก “หัวข้อ” ของเอกสารการสอน และในส่วนของ “เนื้อหา” ที่จะทำการใส่วิดีโอจาก YouTube นั้น ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ https://www.youtube.com
- เลือกวิดีโอ YouTube ที่ต้องการจะเพิ่มในเอกสารการสอน จากนั้นเลือกเมนู “แชร์” หรือ “Share”
- เลือกเมนู “ฝัง” หรือ “Embedded”
- คัดลอก Code จาก YouTube เพื่อนำไปใส่ในเว็บไซต์ ClassStart
- นำ Code ที่คัดลอกจาก YouTube มาวางในเว็บไซต์ ClassStart แล้วกดปุ่ม “สร้าง” จากนั้นระบบก็จะแสดงวิดีโอที่มาจาก YouTube ขึ้นมาให้
แผนการเรียนรู้
การสร้างแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างแผนการเรียนรู้
- กรอกรายละเอียดของแผนการเรียนรู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มบันทึกหลังการสอนในแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มบันทึกหลังการสอนในแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะเพิ่มบันทึกหลังการสอน
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการเพิ่มบันทึกหลังการสอนในแผนการเรียนรู้
- เพิ่มบันทึกหลังการสอนในแผนการเรียนรู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการแก้ไขแผนการเรียนรู้
- แก้ไขแผนการเรียนรู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การลบแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม เพื่อเข้าไปลบแผนการเรียนรู้
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการลบแผนการเรียนรู้
การเพิ่มไฟล์แนบในเแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นไฟล์ก็จะปรากฏขึ้นมาในระบบ
การลบไฟล์แนบในแผนการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบไฟล์แนบในแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะลบไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม ของไฟล์แนบที่ต้องการจะลบ
แบบฝึกหัด
ภาระงานพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้สอน คือ การตรวจการบ้านหรือแบบฝึกหัดที่เป็นทั้งแบบงานเดี่ยวและงานกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบฝึกหัดในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียน กรณีศึกษาหรือแม้แต่การทำโครงงานที่มีการส่งงานเป็นระยะๆ
การมีเทคโนโลยีอย่าง ClassStart.org เข้ามาเอื้ออำนวยการประเมินผลแบบฝึกหัดจะทำให้เป็นการลดภาระงานส่วนนี้แก่ผู้สอนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการตรวจประเมินผลแบบฝึกหัดผ่าน ClassStart.org ในรูปแบบของแบบฝึกหัดแบบไร้กระดาษ (Paperless assignments) สามารถทำได้สะดวกรวดเร็ว ตรวจได้ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ จึงเป็นการให้ข้อมูลป้อนกลับของคะแนนแก่ผู้เรียนเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ได้อย่างทันท่วงที
โดยการให้โจทย์แบบฝึกหัดนั้นผู้เขียนสามารถกำหนดเวลาที่ยืดหยุ่นได้ทั้งวันเวลาเริ่มและวันเวลาสิ้นสุดการทำแบบฝึกหัด และผู้สอนสามารถแนบไฟล์ประกอบสำหรับการทำแบบฝึกหัดได้อีกด้วย ส่วนผู้เรียนจะมีเวลาทำแบบฝึกหัดนั้นๆ ตามกำหนดเท่านั้น หากพ้นกำหนดเวลาไปแล้วจะไม่สามารถส่งงานทางระบบได้ ช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบสวนตัวได้เป็นอย่างดี โดยการส่งงานสามารถส่งได้ทั้งในรูปแบบของข้อความหรือไฟล์แนบได้ทุกประเภท
จุดเด่น
- รองรับการทำงานแบบเดื่ยวและแบบกลุ่ม
- ใส่รูปและคลิปวิดีโอได้
- แยกให้คะแนนสมาชิกกลุ่มแต่ละคนได้
- ซ่อนคะแนนไม่ให้ผู้เรียนได้เห็น
- เปลี่ยนแปลงวันเวลาส่งคำตอบได้
- ให้ความคิดเห็นประกอบการให้คะแนนได้
- ตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนที่ยังไม่ส่งแบบฝึกหัดได้
- ให้คะแนนเป็นจุดทศนิยมได้
การสร้างแบบฝึกหัดใหม่
การสร้างแบบฝึกหัดเดี่ยว
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มแบบฝึกหัดใหม่
- กรอกรายละเอียดของแบบฝึกหัด กำหนดคะแนนเต็ม วันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด และเลือกประเภทแบบฝึกหัดเป็น “งานเดี่ยว” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การสร้างแบบฝึกหัดกลุ่ม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มแบบฝึกหัดใหม่
- กรอกรายละเอียดของแบบฝึกหัด กำหนดคะแนนเต็ม เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด และเลือกประเภทแบบฝึกหัดเป็น “งานกลุ่ม ” พร้อมทั้งเลือกประเภทกลุ่มผู้เรียน คือ “กลุ่มถาวร” หรือ “กลุ่มเฉพาะงาน” กรณีที่กำหนดเป็นกลุ่มเฉพาะงาน ให้ทำการกรอกจำนวนผู้เรียนในกลุ่มด้วย จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
หมายเหตุ:
- ผู้สอนจะต้องจัดกลุ่มผู้เรียนให้เรียบร้อยก่อนจึงจะสามารถสร้างแบบฝึกหัดแบบงานกลุ่มได้
- แบบฝึกหัดประเภทกลุ่มนั้นผู้เรียนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มเท่านั้นที่สามารถส่งคำตอบแบบฝึกหัดได้ และคะแนนของแบบฝึกหัดงานกลุ่มนั้น ผู้เรียนจะได้คะแนนเท่ากันทุกคนในกลุ่ม
การแก้ไขแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลของแบบฝึกหัด จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การเพิ่มไฟล์แนบในแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ
การลบไฟล์แนบในแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบไฟล์แนบในแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะลบไฟล์แนบ
- คลิกปุ่ม ของไฟล์แนบที่ต้องการจะลบ
การลบแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- คลิกปุ่ม เพื่อลบแบบฝึกหัดนั้น
การตรวจให้คะแนนแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะตรวจให้คะแนนแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะตรวจให้คะแนน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ดูรายการคำตอบ”
- เปิดดูคำตอบโดยการคลิกที่รายชื่อผู้เรียน
- ตรวจคำตอบของผู้เรียน จากนั้นให้คะแนนแบบฝึกหัด โดยคลิกที่ปุ่ม “ให้คะแนน”
- ใส่คะแนนและคำอธิบายการให้คะแนน (ถ้ามี) จากนั้นคลิกปุ่ม “ปรับปรุงขัอมูล”
การตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนที่ยังไม่ส่งแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนที่ยังไม่ส่งแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะตรวจสอบรายชื่อผู้เรียนที่ยังไม่ส่ง
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ดูรายการคำตอบ”
- เลือกเมนู “ผู้เรียนที่ไม่ได้ส่งคำตอบ” ทั้งนี้ สามารถเลือกดูรายชื่อผู้เรียนที่ส่งคำตอบแล้ว หรือดูรายชื่อผู้เรียนทั้งหมดได้ด้วยเช่นกัน
คะแนนเก็บ (ชิ้นงานที่ไม่ได้ส่งผ่านระบบ)
จุดเด่น
- ประกาศคะแนนให้ทราบเฉพาะเจ้าของคะแนน ไม่แสดงคะแนนให้ผู้เรียนคนอื่นเห็น
- ให้คะแนนเป็นจุดทศนิยมได้
- ประกาศคะแนนได้ทั้งแบบงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
การสร้างคะแนนเก็บ
การสร้างคะแนนเก็บภายนอกแบบเดี่ยว
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างคะแนนเก็บ
- เลือกเมนู “คะแนนเก็บ”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างคะแนนเก็บ
- กรอกรายละเอียดของคะแนนเก็บ และเลือกประเภทคะแนนเก็บเป็น “งานเดี่ยว ” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การสร้างคะแนนเก็บภายนอกแบบกลุ่ม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างคะแนนเก็บ
- เลือกเมนู “คะแนนเก็บ”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างคะแนนเก็บ
- กรอกรายละเอียดคะแนนเก็บ และเลือกประเภทคะแนนเก็บเป็น “งานกลุ่ม ” พร้อมทั้งเลือกประเภทกลุ่มผู้เรียน คือ “กลุ่มถาวร” หรือ “กลุ่มเฉพาะงาน” กรณีที่กำหนดเป็นกลุ่มเฉพาะงาน ให้ทำการกรอกจำนวนผู้เรียนในกลุ่มด้วย จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขคะแนนเก็บ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขคะแนนเก็บ
- เลือกเมนู “คะแนนเก็บ”
- เลือกรายการคะแนนเก็บที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลคะแนนเก็บ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การให้คะแนนเก็บ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะให้คะแนนเก็บ
- เลือกเมนู “คะแนนเก็บ”
- เลือกรายการคะแนนเก็บที่ต้องการจะให้คะแนน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ให้คะแนน”
- ใส่คะแนนเก็บของผู้เรียนแต่ละคนในกรณีที่เป็นประเภทงานเดี่ยว หรือใส่คะแนนเก็บของผู้เรียนแต่ละกลุ่มในกรณีที่เป็นประเภทงานกลุ่ม (การใส่คะแนนเก็บในแต่ละครั้ง ระบบจะบันทึกข้อมูลให้โดยทันที)
ข่าวประกาศ
ด้วยระบบข่าวประกาศสำหรับชั้นเรียน ผู้สอนสามารถประกาศข้อความแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนได้อย่างสะดวกโดยสามารถเลือกวันเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการแสดงข่าวประกาศนั้นๆ ได้ และเลือกส่งข่าวนี้ผ่านทางอีเมลแก่ผู้เรียนทุกคนได้อีกด้วย ทำให้ผู้เรียนไม่พลาดข่าวสารข้อความสำคัญที่ผู้สอนต้องการสื่อสารไปถึงแม้จะเร่งด่วนเพียงใดก็ตาม
การเพิ่มข่าวประกาศ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มข่าวประกาศ
- เลือกเมนู “ข่าวประกาศ”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มข่าวประกาศ
- กรอกรายละเอียดของข่าวประกาศ พร้อมกับกำหนดวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขข่าวประกาศ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มข่าวประกาศ
- เลือกเมนู “ข่าวประกาศ”
- เลือกข่าวประกาศที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม เพื่อแก้ไขข่าวประกาศ
- แก้ไขข้อมูลข่าวประกาศ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การลบข่าวประกาศ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบข่าวประกาศ
- เลือกเมนู “ข่าวประกาศ”
- เลือกข่าวประกาศที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม เพื่อลบข่าวประกาศ
การอ่านข่าวประกาศ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะอ่านข่าวประกาศ
- เลือกเมนู “ข่าวประกาศ”
- เลือกข่าวประกาศที่ต้องการจะอ่าน
บันทึกการเรียนรู้
บันทีกการเรียนรู้ (Reflective journal) เป็นการบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในรูปแบบการถ่ายทอดที่เป็นตัวของตัวเอง กลวิธีนี้กำลังเพิ่มความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น เนื่องจากการฝึกถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมีความสำคัญไม่ย่ิงหย่อนไปกว่าเนื้อหาที่ได้รับจากการเรียนรู้ อีกทั้งการถ่ายทอดอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอันจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อหาและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ClassStart.org อำนวยให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถเขียนบันทึกการเรียนรู้ได้ โดยบันทึกที่เขียนไปแล้วสามารถแก้ไขหรือลบออกได้ และเลือกแสดงเป็นบันทึกส่วนตัวซึ่งผู้อื่นจะไม่สามารถอ่านได้ หรือแสดงเป็นบันทึกสำหรับชั้นเรียนที่เกี่ยวข้องได้ นอกจากนี้สามารถคลิกปุ่มถูกใจบันทึกที่ชอบได้อีกด้วยซึ่งเป็นการสร้างกำลังใจแก่ผู้เขียนได้เป็นอย่างดี
ผู้สอนสามารถใช้ระบบนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผู้สอนอาจจะกำหนดกับผู้เรียนในหัวข้อที่ผู้เรียนจะต้องเขียนบันทึกหลังจากการเรียน เช่น ทบทวนประเด็นที่ได้รับจากการเรียนรู้ ประเด็นที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม ประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับจากผู้เรียนได้อย่างต่อเนื่องทำให้ผู้สอนสามารถวางแผนการสอนเพื่อซ่อมเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย
จุดเด่น
- คลิก Like และให้ความเห็นต่อยอดในบันทึกได้
- เป็นคลังความรู้ที่ผู้เรียนร่วมกันสร้างขึ้น
- ใส่รูปและคลิปวิดีโอได้
- ซ่อนเป็นบันทึกส่วนตัวได้
- เลือกบันทึกลงในวิชาที่เรียนได้
- ในไฟล์คะแนนรวม มีสรุปจำนวนบันทึก จำนวนบันทึกที่ผู้เรียนด้วยกันคลิก Like จำนวนบันทึกที่ผู้สอนคลิก Like
การเพิ่มบันทึกการเรียนรู้ของวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มบันทึกการเรียนรู้
- พิมพ์เนื้อหาบันทึกการเรียนรู้ แล้วเลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มบันทึกการเรียนรู้นั้น หรืออาจเก็บเป็นบันทึกส่วนตัวโดยไม่ปรากฏในรายวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “เก็บข้อมูล”
การเพิ่มไฟล์แนบในบันทึกการเรียนรู้ของวิชา
- เมื่อทำการเพิ่มบันทึกการเรียนรู้เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” จากนั้นเลือกไฟล์ที่ต้องการแนบ
การแก้ไขบันทึกการเรียนรู้ของวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขบันทึกการเรียนรู้
- เลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- คลิกปุ่ม “แก้ไข” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแก้ไข
- แก้ไขบันทึกการเรียนรู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “เก็บข้อมูล”
การเข้าไปอ่านบันทึกการเรียนรู้ของวิชา
- เข้าไปยังหน้าวิชาที่ต้องการจะอ่านบันทึกการเรียนรู้ จากนั้นเลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- จากนั้นระบบจะทำการแสดงบันทึกการเรียนรู้ทั้งหมดของวิชานั้นมาให้
การแสดงความเห็นในบันทึกการเรียนรู้ของวิชา
- เข้าไปยังหน้าบันทึกการเรียนรู้ของวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “ความเห็น” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแสดงความคิดเห็น
- แสดงความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้นั้น จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
การแนบไฟล์ในความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้
- เข้าไปยังหน้าบันทึกการเรียนรู้ของวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “ความเห็น” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแนบไฟล์ในความคิดเห็น
- คลิกปุ่ม “เลือกไฟล์” แล้วเลือกไฟล์แนบที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
สนทนา (Chat)
จุดเด่น
- วางอยู่ในทุกหน้าการใช้งานเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสอบถามพูดคุยกับผู้สอนและผู้เรียนในวิชา
- มีสัญลักษณ์จำนวนข้อสนทนาใหม่แสดงขึ้นมาให้เป็นจุดสังเกต
- เลือกสนทนาได้ในทั้งวิชาเรียน หรือสนทนาแบบเดี่ยวระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้
- ส่งรูปและไฟล์ประเภทอื่นลงในสนทนาได้
การคุยสนทนาแบบรวม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะคุยสนทนาแบบรวม
- เลือกเมนู “สนทนา”
- พิมพ์ข้อความสนทนา จากนั้นคลิกปุ่ม
การคุยสนทนาแบบเฉพาะบุคคล
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะคุยสนทนาเฉพาะบุคคล
- เลือกเมนู “ผู้เรียน”
- เลือกผู้เรียนที่ต้องการจะคุยสนทนา
- คลิกที่ชื่อผู้เรียน
- คลิกปุ่ม “สนทนา” เพื่อเข้าไปยังหน้าสนทนาเฉพาะบุคคล
- พิมพ์ข้อความสนทนา จากนั้นคลิกปุ่ม
กระทู้ถามตอบ
หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น ผู้สอนจะมีหน้าที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมที่จะเรียนเพื่อการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ระบบเว็บบอร์ดสำหรับชั้นเรียนใน ClassStart.org สามารถเข้ามาช่วยเหลือผู้สอนให้สามารถการดำเนินการลักษณะนี้ได้อย่างต่อเนื่องไม่ขึ้นกับเวลาและสถานที่ โดยผู้สอนจะสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับและสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีแก่ผู้เรียนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็วทั้งในและนอกชั้นเรียนอันเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น
ผู้เรียนหรือผู้สอนสามารถเป็นผู้ตั้งต้นข้อสนทนาได้ หากผู้สอนเป็นผู้สร้างข้อสนทนา ผู้สอนจะสามารถส่งอีเมลแจ้งตรงไปยังผู้เรียนทุกคนได้อีกด้วยทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เรียนจะได้รับข้อมูลนี้ทุกคน นอกจากนี้ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนทุกคนในชั้นเรียนจะสามารถตอบกลับข้อสนทนานั้นๆ ได้ อีกทั้งการสนทนายังสามารถแนบไฟล์ประกอบได้อีกด้วย และหากข้อสนทนาไม่เหมาะสมหรือผู้สอนเห็นควรแก่การปิดข้อสนทนาก็สามารถทำการปิดข้อสนทนานั้นๆ ได้เอง แต่ผู้เรียนจะไม่สามารถทำการปิดข้อสนทนาใดๆ ได้
การสร้างกระทู้ถามตอบใหม่
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างกระทู้ถามตอบ
- กรอกรายละเอียดของกระทู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- คลิกปุ่ม
- กรอกรายละเอียดของกระทู้ คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- เลือกกระทู้ที่ต้องการจะแสดงความเห็น
- พิมพ์ความเห็นในช่องข้อความ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
การเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- เลือกกระทู้ที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในความเห็น
- พิมพ์ความเห็นในช่องข้อความ และคลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
กลุ่มผู้เรียน
ด้วยระบบกลุ่มผู้เรียนในชั้นเรียนของ ClassStart.org ผู้สอนสามารถกำหนดกลุ่มผู้เรียน ตัวแทนกลุ่มและสมาชิกของกลุ่มได้เพื่อเอื้อต่อการให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาหรือทำโครงงาน (Cooperative learning) และผู้เรียนสามารถส่งแบบฝึกหัดหรือการบ้านของกลุ่มได้ โดยผู้สอนจะให้คะแนนเป็นกลุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มจะได้คะแนนเท่ากันทุกคน ระบบนี้ยังคงได้รับการพัฒนาต่อไปเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มของผู้เรียนทางออนไลน์ อันจะเป็นการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโครงงานและพัฒนาทักษะการสื่อสารการคิดเชิงเคราะห์และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
จุดเด่น
- เลือกจัดกลุ่มผู้เรียนได้ทั้งแบบเดิมทั้งเทอมหรือแบบรายชิ้นงาน
- เปลี่ยนตัวแทนกลุ่มได้ตลอด
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียน
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบเปลี่ยนกลุ่มได้ตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มแบบฝึกหัดใหม่
- สร้างแบบฝึกหัดกลุ่มผู้เรียนตามชิ้นงาน โดยกรอกรายละเอียดของแบบฝึกหัด กำหนดคะแนนเต็ม เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
- เลือกประเภทแบบฝึกหัดเป็น “งานกลุ่ม ” แล้วเลือกประเภทกลุ่มผู้เรียนเป็น “กลุ่มเฉพาะงาน”
- กรอกจำนวนผู้เรียนในกลุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- พิมพ์ชื่อกลุ่ม และเพิ่มรายชื่อหัวหน้ากลุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
หมายเหตุ: หัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้ส่งคำตอบแบบฝึกหัดประเภทกลุ่มแทนสมาชิกคนอื่นในกลุ่มนั้นๆ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มผู้เรียน”
- เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยการเลือกรายชื่อในช่อง “ผู้เรียน” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- พิมพ์ชื่อกลุ่ม และเพิ่มรายชื่อหัวหน้ากลุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
หมายเหตุ: หัวหน้ากลุ่มจะเป็นผู้ส่งคำตอบแบบฝึกหัดประเภทกลุ่มแทนสมาชิกคนอื่นในกลุ่มนั้นๆ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มผู้เรียน”
- เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยการเลือกรายชื่อในช่อง “ผู้เรียน” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียน
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มแบบตามชิ้นงานที่ต้องการจะแก้ไขกลุ่มผู้เรียน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลกลุ่มผู้เรียน จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลกลุ่มผู้เรียน จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การลบกลุ่มผู้เรียน
การลบกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มแบบตามชิ้นงานที่ต้องการจะลบกลุ่มผู้เรียน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- คลิกปุ่ม เพื่อลบกลุ่มผู้เรียน
การลบกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- คลิกปุ่ม เพื่อลบกลุ่มผู้เรียน
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มแบบตามชิ้นงานที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มผู้เรียน”
- เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยการเลือกรายชื่อในช่อง “ผู้เรียน” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มผู้เรียน”
- เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยการเลือกรายชื่อในช่อง “ผู้เรียน” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียน
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มแบบตามชิ้นงานที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่ม
- คลิกเครื่องหมายกากบาทที่ท้ายรายชื่อของสมาชิกที่ต้องการจะลบออกจากกลุ่ม
การลบสมาขิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียนแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่ม
- คลิกเครื่องหมายกากบาทที่ท้ายรายชื่อของสมาชิกที่ต้องการจะลบออกจากกลุ่ม
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่ม
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบตามชิ้นงาน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบตามชิ้นงาน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มแบบตามชิ้นงานที่ต้องการจะแก้ไขหัวหน้ากลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะแก้ไขหัวหน้ากลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขหัวหน้ากลุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขหัวหน้ากลุ่มแบบกลุ่มเดิมทั้งเทอม
- เลือกเมนู “กลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะแก้ไขหัวหน้ากลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขหัวหน้ากลุ่ม จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
ผู้ร่วมสอน
จุดเด่น
- เพิ่มผู้ร่วมสอนจากต่างสถาบันได้
- เพิ่มผู้ร่วมสอนได้ไม่จำกัด
การเพิ่มผู้ร่วมสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มผู้ร่วมสอน
- เลือกเมนู “ผู้ร่วมสอน”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มผู้ร่วมสอน
- กรอกอีเมลของผู้ร่วมสอนลงไป แล้วคลิกปุ่ม “เพิ่มผู้ร่วมสอน” จากนั้นรอผู้ร่วมสอนตอบรับการเข้าร่วมสอนในวิชาดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ร่วมสอนจะต้องใช้อีเมลดังกล่าวในการสมัครเป็นสมาชิก ClassStart เสร็จสิ้นก่อนแล้ว
การลบผู้ร่วมสอน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มผู้ร่วมสอน
- เลือกเมนู “ผู้ร่วมสอน”
- คลิกเครื่องหมายกากบาท เพื่อลบผู้ร่วมสอนออกจากวิชาดังกล่าว
แบบทดสอบ (Quiz)
จุดเด่น
- เฉลยอัตโนมัติหลังทำแบบทดสอบเสร็จ
- มีคำอธิบายเฉลย
- แสดงคะแนนทันทีหลังทำแบบทดสอบเสร็จ
- มีคะแนนสูงสุด ต่ำสุด เฉลี่ย
- สำเนาแบบทดสอบได้
- สุ่มแสดงโจทย์และตัวเลือกได้
- ใส่รูปและคลิปวิดีโอได้ทั้งในโจทย์และตัวเลือก
การสร้างแบบทดสอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- ทำการคลิกปุ่ม เพื่อสร้างแบบทดสอบใหม่
- กรอกรายละเอียดแบบทดสอบ เช่น ชื่อแบบทดสอบ คำอธิบาย คำสั่ง วันเวลาเริ่มต้นและ
สิ้นสุดการทำแบบทดสอบ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการคำถาม”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างคำถามใหม่
- พิมพ์รายการคำถามในช่อง “โจทย์” จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มคำตอบใหม่”
- ใส่ตัวเลือกคำตอบ โดยใส่ทีละ 1 ตัวเลือก จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มคำตอบใหม่” เพื่อทำการเพิ่มตัวเลือกคำตอบถัดไป โดยทำการเพิ่มไปเรื่อยๆ จนครบจำนวนตัวเลือกคำตอบที่ต้องการ
หมายเหตุ: โจทย์และตัวเลือกจะถูกสุ่มแสดงให้แก่ผู้เรียนแต่ละคนโดยอัตโนมัติ ผู้สอนไม่ต้องทำการใส่หมายเลขข้อของโจทย์และตัวเลือกคำตอบ
- เพิ่มตัวเลือกคำตอบไปเรื่อยๆ จนครบ เมื่อครบแล้วให้เลือกเฉลยหรือคำตอบที่ถูกต้อง โดยคลิกปุ่ม “คำตอบที่ถูกต้อง” ของรายการคำตอบนั้น จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง” ทั้งนี้ เฉลยจะแสดงให้ผู้เรียนเห็นเมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น
- ทำการสร้างคำถามข้อถัดไปเรื่อยๆ จนครบ โดยในหน้ารายการคำถามให้คลิกปุ่ม เพื่อสร้างคำถามข้อถัดไป จากนั้นสร้างโจทย์และตัวเลือกคำตอบจนครบทั้งหมด
การแก้ไขแบบทดสอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขแบบทดสอบ จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขโจทย์คำถาม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขโจทย์คำถามของแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะแก้ไขโจทย์คำถาม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการคำถาม”
- เลือกโจทย์คำถามที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม เพื่อแก้ไขโจทย์คำถาม
- แก้ไขโจทย์คำถามในช่อง “โจทย์” จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การแก้ไขตัวเลือก (Choices) พร้อมเฉลย
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขตัวเลือก (Choices) ของโจทย์คำถามในแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะแก้ไขตัวเลือก (Choices) ของโจทย์คำถาม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการคำถาม”
- เลือกโจทย์คำถามที่ต้องการจะแก้ไขตัวเลือก (Choices)
- คลิกปุ่ม เพื่อเข้าไปแก้ไขตัวเลือก (Choices)
- แก้ไขตัวเลือก (Choices) ในช่อง “คำตอบ” จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล” นอกจากนี้ ยังสามารถแก้ไขเฉลยหรือตัวเลือกที่ถูกต้องใหม่ได้ โดยการคลิกที่ปุ่ม “คำตอบที่ถูกต้อง” ของตัวเลือกที่เป็นข้อที่ถูกต้อง
การลบแบบทดสอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการลบแบบทดสอบ
การลบโจทย์คำถาม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบโจทย์คำถามของแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะลบโจทย์คำถาม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการคำถาม”
- เลือกโจทย์คำถามที่ต้องการจะลบ
- คลิกปุ่ม เพื่อลบโจทย์คำถาม
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการลบโจทย์คำถาม
การลบตัวเลือก (Choices)
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบตัวเลือก (Choices) ของโจทย์คำถามในแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะลบตัวเลือก (Choices) ของโจทย์คำถาม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการคำถาม”
- เลือกโจทย์คำถามที่ต้องการจะลบตัวเลือก (Choices)
- คลิกปุ่ม เพื่อเข้าไปลบตัวเลือก (Choices)
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการลบตัวเลือก (Choices) จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขขอมูล”
การเปิดสอบแบบทดสอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเปิดสอบแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะเปิดสอบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- คลิกเลือกรายการ “เปิดให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบได้” จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
ระบบลงเวลาเรียน
จุดเด่น
- ผู้เรียนลงเวลาเรียนเองได้ด้วยการเซลฟี่
- มีตัวเลือกหลัก คือ ขาด มา ลา สาย
- สรุปการลงเวลาเรียนไว้ในไฟล์คะแนนรวม
การสร้างใบลงเวลาเรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างใบลงเวลาเรียน
- เลือกเมนู “ใบลงเวลาเรียน”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างระบบลงเวลาเรียน
- ใส่หัวข้อ กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสำหรับการลงเวลาเรียน จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การลงเวลาเรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลงเวลาเรียน
- เลือกเมนู “ใบลงเวลาเรียน”
- เลือกใบลงเวลาที่ต้องการจะลงเวลาเรียน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการลงเวลาเรียน”
- คลิกที่รายชื่อผู้เรียนแต่ละคน จากนั้นระบบก็จะแสดงสถานะการลงเวลาเรียนมาให้ ซึ่งได้แก่ “มาเรียน” “ขาดเรียน” “ลาเรียน” และ “มาสาย” เมื่อเลือกสถานะเสร็จให้คลิกปุ่ม
“แก้ไขข้อมูล” เพื่อบันทึกการลงเวลาเรียน
ระบบใบนับการมีส่วนร่วม
จุดเด่น
- ผู้เรียนคลิกคะแนนเองได้หลังจากแสดงการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในห้องเรียนจริง
การสร้างใบนับการมีส่วนร่วม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างใบนับการมีส่วนร่วม
- เลือกเมนู “ใบนับการมีส่วนร่วม”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างใบนับการมีส่วนร่วม
- ใส่ชื่อหัวข้อ พร้อมกับกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุด จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขใบนับการมีส่วนร่วม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขใบนับการมีส่วนร่วม
- เลือกเมนู “ใบนับการมีส่วนร่วม”
- เลือกใบนับการมีส่วนร่วมที่ต้องการจะแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลใบนับการมีส่วนร่วม จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การให้คะแนนการมีส่วนร่วม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะให้คะแนนการมีส่วนร่วม
- เลือกเมนู “ใบนับการมีส่วนร่วม”
- เลือกใบนับการมีส่วนร่วมที่ต้องการจะให้คะแนน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการการมีส่วนร่วม”
- เลือกรายชื่อผู้เรียนที่จะให้คะแนนการมีส่วนร่วม
- คลิกปุ่มเครื่องหมายบวกเพื่อให้คะแนน จากนั้นคลิกปุ่ม “ปิด” ทั้งนี้ นอกจากผู้สอนจะสามารถเพิ่มคะแนนการมีส่วนร่วมจากการเรียนรู้ในห้องเรียนจริงแล้ว ผู้เรียนก็ยังสามารถเพิ่มคะแนนได้เองอีกด้วย
การเข้าดูรายการการมีส่วนร่วม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะดูรายการการมีส่วนร่วม
- เลือกเมนู “ใบนับการมีส่วนร่วม”
- เลือกใบนับการมีส่วนร่วมที่ต้องการจะดู
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการการมีส่วนร่วม”
- ระบบแสดงรายการการมีส่วนร่วมขึ้นมาให้
การดาวน์โหลดข้อมูล
จุดเด่น
- ดาวน์โหลดคะแนนของผู้เรียนทั้งหมดได้
- ดาวน์โหลดใบลงเวลาเรียนของผู้เรียนทั้งหมดได้
การดาวน์โหลดคะแนนทั้งหมด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะดาวน์โหลดคะแนน
- เลือกเมนู “ดาวน์โหลดข้อมูล”
- คลิกปุ่ม เพื่อดาวน์โหลดคะแนน
- คลิกเลือกในส่วนของชื่องานเป็น “คะแนนทั้งหมด” และเลือกชนิดของไฟล์ โดยสามารถเลือก ชนิดของไฟล์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ .XLS หรือ .CVS ก็ได้ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
- คลิกเลือกไฟล์ล่าสุด จากนั้นข้อมูลคะแนนทั้งหมดก็จะถูกดาวน์โหลดออกมาตามชนิดของไฟล์ที่เลือก
(NEW) การดาวน์โหลดใบลงเวลาเรียนทั้งหมด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันสอน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะดาวน์โหลดใบลงเวลาเรียน
- เลือกเมนู “ดาวน์โหลดข้อมูล”
- คลิกปุ่ม เพื่อดาวน์โหลดใบลงเวลาเรียน
- คลิกเลือกในส่วนของชื่องานเป็น “ใบลงเวลาเรียน” และเลือกชนิดของไฟล์ โดยสามารถเลือก ชนิดของไฟล์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ .XLS หรือ .CVS ก็ได้ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
- คลิกเลือกไฟล์ล่าสุด จากนั้นข้อมูลใบลงเวลาเรียนทั้งหมดก็จะถูกดาวน์โหลดออกมาตามชนิดของไฟล์ที่เลือก
ระบบสำหรับผู้เรียน
การขอเข้าร่วมวิชาเรียน
- ผู้สอนจะบอกหมายเลขประจำวิชา (Class Code) ให้แก่ผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนนำหมายเลขดังกล่าวไปค้นหาเพื่อทำการขอเข้าร่วมวิชา โดยในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- ใส่หมายเลขประจำวิชา (Class Code) ในช่องค้นหา จากนั้นคลิกปุ่ม “ค้นหา”
- คลิกปุ่ม “ขอเข้าร่วมวิชา” และเมื่อผู้เรียนทำการขอเข้าร่วมวิชาเรียบร้อยแล้ว ระบบก็จะทำการส่งคำขอไปยังผู้สอนทันที หลังจากนั้นผู้สอนก็จะทำการอนุมัติให้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนในวิชานั้นได้
แผนการเรียนรู้
การเข้าไปอ่านแผนการเรียนรู้ของวิชา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะอ่านแผนการเรียนรู้
- เลือกเมนู “แผนการเรียนรู้”
- เลือกแผนการเรียนรู้ที่ต้องการจะอ่าน
เอกสารการสอน
การเข้าไปอ่านเอกสารการสอนของวิชาเรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะอ่านเอกสารการสอน
- เลือกเมนู “เอกสารการสอน”
- เลือกเอกสารการสอนที่ต้องการจะอ่าน
ข่าวประกาศ
การอ่านข่าวประกาศ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะอ่านข่าวประกาศ
- เลือกเมนู “ข่าวประกาศ”
- เลือกข่าวประกาศที่ต้องการจะอ่าน
บันทึกการเรียนรู้
การเพิ่มบันทึกการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- คลิกปุ่ม เพื่อเพิ่มบันทึกการเรียนรู้
- พิมพ์เนื้อหาบันทึกการเรียนรู้ แล้วเลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มบันทึกการเรียนรู้นั้น หรืออาจเก็บเป็นบันทึกส่วนตัวโดยไม่ปรากฏในรายวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “เก็บข้อมูล”
การเพิ่มไฟล์แนบในบันทึกการเรียนรู้
- เมื่อทำการเพิ่มบันทึกการเรียนรู้เรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” จากนั้นเลือกไฟล์ที่ต้องการแนบ
การแก้ไขบันทึกการเรียนรู้
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขบันทึกการเรียนรู้
- เลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- คลิกปุ่ม “แก้ไข” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแก้ไข
- แก้ไขบันทึกการเรียนรู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “เก็บข้อมูล”
การเข้าไปอ่านบันทึกการเรียนรู้ของวิชาเรียน
- เข้าไปยังหน้าวิชาที่ต้องการจะอ่านบันทึกการเรียนรู้ จากนั้นเลือกเมนู “บันทึกการเรียนรู้”
- จากนั้นระบบจะทำการแสดงบันทึกการเรียนรู้ทั้งหมดของวิชานั้นมาให้
การแสดงความคิดเห็นในบันทึกการเรียนรู้
- เข้าไปยังหน้าบันทึกการเรียนรู้ของวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “ความเห็น” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแสดงความคิดเห็น
- แสดงความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้นั้น จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
การแนบไฟล์ในความคิดเห็นของบันทึกการเรียนรู้
- เข้าไปยังหน้าบันทึกการเรียนรู้ของวิชา จากนั้นคลิกปุ่ม “ความเห็น” ของบันทึกการเรียนรู้ที่ต้องการจะแนบไฟล์ในความคิดเห็น
- คลิกปุ่ม “เลือกไฟล์” แล้วเลือกไฟล์แนบที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
สนทนา (Chat)
การคุยสนทนา
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะคุยสนทนา
- เลือกเมนู “สนทนา”
- พิมพ์ข้อความสนทนา จากนั้นคลิกปุ่ม
กระทู้ถามตอบ
การสร้างกระทู้ถามตอบใหม่
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะสร้างกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- คลิกปุ่ม เพื่อสร้างกระทู้ถามตอบ
- กรอกรายละเอียดของกระทู้ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- คลิกปุ่ม
- กรอกรายละเอียดของกระทู้ คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ
- เข้าในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มความเห็นในกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- เลือกกระทู้ที่ต้องการจะแสดงความเห็น
- พิมพ์ความเห็นในช่องข้อความ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
การเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในความเห็นของกระทู้ถามตอบ
- เลือกเมนู “กระทู้ถามตอบ”
- เลือกกระทู้ที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในความเห็น
- พิมพ์ความเห็นในช่องข้อความ คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม “เพิ่มความเห็นใหม่”
กลุ่มผู้เรียน
การแก้ไขกลุ่มผู้เรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะแก้ไขกลุ่มผู้เรียน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มที่ต้องการจะแก้ไขกลุ่มผู้เรียน
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มของตนเองเพื่อแก้ไข
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “แก้ไข”
- แก้ไขข้อมูลกลุ่มผู้เรียน จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่ม
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “เพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มผู้เรียน”
- เพิ่มสมาชิกในกลุ่ม โดยการเลือกรายชื่อในช่อง “ผู้เรียน” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การลบสมาชิกออกจากกลุ่มผู้เรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มที่ต้องการจะลบสมาชิกในกลุ่มออก
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “รายการกลุ่มผู้เรียน”
- เลือกกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการจะลบสมาชิกออกจากกลุ่ม
- คลิกเครื่องหมายกากบาทที่ท้ายรายชื่อของสมาชิกที่ต้องการจะลบออกจากกลุ่ม
แบบฝึกหัด
การส่งคำตอบแบบฝึกหัด
การส่งแบบฝึกหัดงานเดี่ยว
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานเดี่ยวที่ต้องการจะส่ง
- คลิกปุ่ม “ส่งคำตอบ”
- พิมพ์คำตอบลงไปในช่อง “เนื้อหา” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การส่งแบบฝึกหัดงานกลุ่ม
การส่งแบบฝึกหัดงานกลุ่ม ผู้เรียนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มเท่านั้นที่สามารถส่งคำตอบแบบฝึกหัดได้ และคะแนนของแบบฝึกหัดงานกลุ่มนั้น ผู้เรียนจะได้คะแนนเท่ากันทุกคนในกลุ่ม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดงานกลุ่มที่ต้องการจะส่ง
- คลิกปุ่ม “ส่งคำตอบ”
- พิมพ์คำตอบลงไปในช่อง “เนื้อหา” จากนั้นคลิกปุ่ม “สร้าง”
การแก้ไขคำตอบแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะส่งแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะแก้ไขคำตอบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ดูคำตอบ”
- คลิกปุ่ม เพื่อทำการแก้ไขคำตอบแบบฝึกหัด
- แก้ไขคำตอบแบบฝึกหัด จากนั้นคลิกปุ่ม “แก้ไขข้อมูล”
การเพิ่มไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะเพิ่มไฟล์แนบในคำตอบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ดูคำตอบ”
- คลิกปุ่ม “เพิ่มไฟล์แนบ” แล้วเลือกไฟล์แนบที่ต้องการ
การลบไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลบไฟล์แนบในคำตอบแบบฝึกหัด
- เลือกเมนู “แบบฝึกหัด (อัตนัย)”
- เลือกแบบฝึกหัดที่ต้องการจะลบไฟล์แนบในคำตอบ
- คลิกปุ่ม จากนั้นเลือกเมนู “ดูคำตอบ”
- คลิกปุ่ม ของไฟล์แนบที่ต้องการจะลบ
แบบทดสอบ (Quiz)
การทำแบบทดสอบ
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะทำแบบทดสอบ
- เลือกเมนู “แบบทดสอบ (ปรนัย)”
- เลือกแบบทดสอบที่ต้องการจะทำ โดยแบบทดสอบที่สามารถเข้าไปทำได้ จะแสดงคำว่า
“กำลังสอบ”
- คลิกปุ่ม “ทำแบบทดสอบ”
- เริ่มทำแบบทดสอบ โดยการคลิกเลือกตัวเลือกที่ต้องการจะตอบ ในขณะที่เส้นเวลาในการสอบจะเดินไปเรื่อยๆ จนหมดเวลา หรือเมื่อทำแบบทดสอบเสร็จแล้ว ให้คลิกที่ปุ่ม “ทำเสร็จแล้ว” กรณีที่คลิกปุ่มทำเสร็จแล้ว จะไม่สามารถดูคำถามและคำตอบได้จนกว่าจะหมดเวลาในการทำแบบทดสอบ
- เมื่อหมดเวลาในการสอบ ระบบจะแสดงข้อความ “หมดเวลาสอบ” ทั้งนี้ ผู้เรียนสามารถดูเฉลยและคะแนนได้โดยคลิกปุ่ม จากนั้นคลิกเมนู “รายการคำตอบ”
- ระบบแสดงเฉลยและคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบ
ระบบลงเวลาเรียน
การลงเวลาเรียน
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะลงเวลาเรียน
- เลือกเมนู “ใบลงเวลาเรียน”
- เลือกใบลงเวลาที่ต้องการจะลงเวลาเรียน
- คลิกปุ่ม “ลงเวลาเรียน”
- เลือกสถานะการลงเวลาเรียน ได้แก่ “มาเรียน” “ขาดเรียน” “ลาเรียน” และ “มาสาย” เมื่อเลือกสถานะเสร็จให้คลิกปุ่ม “สร้าง” ทั้งนี้ ผู้เรียนสามารถพิมพ์ข้อความหรือแนบไฟล์ได้อีกด้วย
ระบบใบนับการมีส่วนร่วม
การกรอกคะแนนในใบนับการมีส่วนร่วม
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะกรอกคะแนนใบนับการมีส่วนร่วม
- เลือกเมนู “ใบนับการมีส่วนร่วม”
- เลือกใบนับการมีส่วนร่วมที่ต้องการจะกรอกคะแนน
- คลิกปุ่ม จากนั้นคลิกปุ่มเครื่องหมายบวกเพื่อให้คะแนน แล้วคลิกปุ่ม “ปิด” ทั้งนี้ นอกจากผู้เรียนจะสามารถเพิ่มคะแนนการมีส่วนร่วมจากการเรียนรู้ในห้องเรียนจริงได้เองแล้ว ผู้สอนก็ยังสามารถเพิ่มคะแนนให้กับผู้เรียนได้อีกด้วย
การดูคะแนนของตนเอง
- ในหน้าแรกทำการเลือกเมนู “วิชาที่ฉันเรียน”
- เลือกวิชาที่ต้องการจะดูคะแนนของตนเอง
- เลือกเมนู “คะแนนของฉัน”
- เลือกคลิกดูคะแนนของแต่ละรายการ ไม่ว่าจะเป็นคะแนนแบบฝึกหัด (อัตนัย) แบบทดสอบ (ปรนัย) คะแนนเก็บ และรายการลงเวลาเรียน
การเขียนเนื้อหาแบบ Markdown
การเขียนหัวข้อ (Headers)
- การเขียนหัวข้อ (Headers) แบบ Markdown ทำการเขียนโดยใช้เครื่องหมาย # (Hashtag) ซึ่งมีทั้งหมด 6 ระดับ คือ ระดับที่ 1 ใช้เครื่องหมาย # 1 ตัว ระดับที่ 2 ใช้เครื่องหมาย # 2 ตัว ระดับที่ 3 ใช้เครื่องหมาย # 3 ตัว ระดับที่ 4 ใช้เครื่องหมาย # 4 ตัว ระดับที่ 5 ใช้เครื่องหมาย # 5 ตัว และระดับที่ 6 ใช้เครื่องหมาย # 6 ตัว การใส่เครื่องหมายให้ทำการใส่ไว้หน้าข้อความที่ต้องการจะทำหัวข้อ โดยใส่ไว้ในช่อง
“เนื้อหา” ในแท๊บ “เขียน” เช่น
# หัวข้อระดับ 1
## หัวข้อระดับ 2
### หัวข้อระดับ 3
#### หัวข้อระดับ 4
##### หัวข้อระดับ 5
###### หัวข้อระดับ 6
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การใส่ลิงก์เว็บเพจ (Link)
- การใส่ลิงก์เว็บเพจ (Link) ทำการเขียนโดยใส่ชื่อข้อความที่จะใช้ในการลิงก์ซึ่งอยู่ภายในเครื่องหมาย [ ] และตามด้วยที่อยู่ของเว็บเพจที่จะลิงก์ไปซึ่งอยู่ภายในเครื่องหมาย ( ) โดยใส่ไว้ในช่อง “เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ “เขียน”
เช่น
[ระบบห้องเรียนออนไลน์ ClassStart](https://www.classstart.org)
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การทำข้อความเป็นตัวหนา (Bold)
- การทำข้อความเป็นตัวหนา (Bold) ทำการเขียนโดยใส่ชื่อข้อความที่ต้องการจะทำให้เป็นตัวหนาซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมาย * (ดอกจันทร์) 2 ตัว โดยใส่ในช่อง“เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ “เขียน”
เช่น
**เว็บไซต์ ClassStart.org**
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การทำข้อเความเป็นตัวเอียง (Italics)
- การทำข้อความเป็นตัวเอียง (Italics) ทำการเขียนโดยใส่ชื่อข้อความที่ต้องการจะทำให้เป็นตัวเอียงซึ่งอยู่ภายใต้เครื่องหมาย * (ดอกจันทร์) 1 ตัว โดยใส่ในช่อง “เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ
“เขียน”
เช่น
*เว็บไซต์ ClassStart.org*
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การใส่สัญลักษณ์รายการ (Bullet)
- การใส่สัญลักษณ์รายการ (Bullet) ทำการเขียนโดยใส่เครื่องหมาย - (ขีดกลาง) ไว้หน้าข้อความ โดยใส่ในช่อง “เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ “เขียน” ทั้งนี้ ทำการใส่ข้อความของแต่ละรายการให้อยู่คนละบรรทัดกัน
เช่น
- เว็บไซต์ ClassStart.org
- เว็บไซต์ GotoKnow.org
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การใส่รายการเรียงลำดับเลข
- การใส่รายการเรียงลำดับเลข ทำการเขียนโดยใส่ตัวเลขที่สอดคล้องกันไว้หน้าข้อความ โดยใส่ในช่อง “เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ “เขียน” ทั้งนี้ ทำการใส่ข้อความของแต่ละรายการให้อยู่คนละบรรทัดกัน
เช่น
1. เว็บไซต์ ClassStart.org
1. เว็บไซต์ GotoKnow.org
1. เว็บไซต์ ClassStart.org
1. เว็บไซต์ GotoKnow.org
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
การกำหนดข้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่
- การกำหนดข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ ให้ทำการเว้นช่องว่าง 2 ช่อง หรือ การเว้นวรรค 2 ครั้ง
ไว้หลังข้อความที่จะให้สิ้นสุดในบรรทัดนั้น แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ในบรรทัดถัดมา โดยใส่ในช่อง “เนื้อหา” ในส่วนของแท๊บ “เขียน”
เช่น
ClassStart เป็นระบบห้องเรียนออนไลน์ระดับประเทศ (ตามด้วยวรรค 2 ครั้ง)
มีการจัดการเรียนการสอนได้ง่าย (ตามด้วยวรรค 2 ครั้ง)
ไม่ต้องติดตั้งระบบเอง (ตามด้วยวรรค 2 ครั้ง)
เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา (ตามด้วยวรรค 2 ครั้ง)
- การดูตัวอย่างผลลัพธ์จากการเขียนแบบ Markdown สามารถดูได้ที่แท๊บ “พรีวิว” และเมื่อใส่เนื้อหาเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม “สร้าง”
- จากนั้นระบบก็จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนมาให้
ระบบวิเคราะห์การเรียนรู้ระดับวิชา
ระบบนี้ได้รับการพัฒนาให้ผู้สอน ผู้ร่วมสอน และผู้เรียน ได้เห็นการวิเคราะห์ข้อมูลการเรียนรู้ของข้อมูลพฤติกรรมในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรูปแบบของกราฟและตารางสรุปของค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ผลรวม ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ ค่าเบี่ยงเบนเฉลี่ย โดยข้อมูลพฤติกรรมในการเรียน ประกอบด้วย จำนวนชั่วโมงในการเข้าใช้ ClassStart จำนวนบันทึกการเรียนรู้ และ จำนวนครั้งในการลงเวลาเรียนในห้องเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ คะแนนสอบปรนัย คะแนนแบบฝึกหัดอัตนัย และ คะแนนเก็บ
รูปที่ 1 หน้าหลักของวิชา
ผู้สอน ผู้ร่วมสอน และผู้เรียน สามารถเข้าสู่หน้าวิเคราะห์การเรียนรู้ได้ผ่านทางหน้าหลักของวิชาด้วยการคลิกปุ่มรายงานทั้งหมดดังรูปที่ 1
รูปที่ 2 หน้าภาพรวมการวิเคราะห์การเรียนรู้ของวิชา
หน้าข้อมูลการวิเคราะห์การเรียนรู้ของวิชาดังรูปที่ 2 ประกอบด้วยกราฟและข้อมูลสรุปของพฤติกรรมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหัวข้อดังต่อไปนี้คือ เวลาในวิชาเรียน จำนวนการเข้าวิชาเรียน บันทึกการเรียนรู้ การลงเวลาเรียน คะแนนแบบทดสอบ (ปรนัย) คะแนนแบบฝึกหัด (อัตนัย) และคะแนนเก็บ
พฤติกรรมในการเรียน
จำนวนชั่วโมงในการเข้าใช้ ClassStart
รูปที่ 3 เวลาในวิชาเรียน
เวลาในวิชาเรียนจะนำเสนอในรูปตารางซึ่งคำนวณเวลาที่เข้าใช้ ClassStart ของผู้เรียนทั้งหมดรวมกันดังรูปที่ 3 ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนชั่วโมงรวมของผู้เรียนทั้งหมด ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงต่อผู้เรียนหนึ่งคนและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนชั่วโมงสูงสุดและต่ำสุดของผู้เรียนในวิชา
จำนวนการเข้าวิชาเรียน
รูปที่ 4 จำนวนการเข้าวิชาเรียน
จำนวนการเข้าวิชาเรียน หมายถึงจำนวนครั้งรวมของผู้เรียนทั้งหมดในการเข้ามาในระบบแล้วเปิดหน้าเพจวิชาดังรูปที่ 4 ประกอบด้วยข้อมูลจำนวนครั้งรวมในการเข้าวิชา จำนวนครั้งเฉลี่ยต่อคนและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนครั้งรวมสูงสุดและต่ำสุด
จำนวนบันทึกการเรียนรู้
รูปที่ 5 จำนวนบันทึกการเรียนรู้
จำนวนบันทึกการเรียนรู้ดังรูปที่ 5 ประกอบด้วยจำนวนบันทึกการเรียนรู้รวมของผู้เรียนทั้งหมด จำนวนบันทึกเฉลี่ยต่อคนและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนบันทึกสูงสุดและต่ำสุด
จำนวนครั้งในการลงเวลาเรียน
รูปที่ 6 การลงเวลาเรียนในภาพรวมของวิชา
รูปที่ 7 การลงเวลาเรียนในแต่ละครั้ง
จำนวนครั้งในการลงเวลาเรียน แบ่งเป็นข้อมูลแบบภาพรวมทั้งหมดของการลงเวลาเรียนดังรูปที่ 6 และข้อมูลการลงเวลาเรียนในแต่ละครั้งดังรูปที่ 7 โดยข้อมูลทั้งสองแบบแสดงข้อมูลทั้งตารางสรุปและกราฟ ในส่วนของตารางสรุปแบ่งเป็นจำนวนครั้งรวม จำนวนครั้งเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จำนวนครั้งสูงสุดและต่ำสุดของการมาเรียน มาสาย ลาเรียน และขาดเรียน ส่วนกราฟวงกลมแสดงสัดส่วนจำนวนของผู้เรียนในการมาเรียน มาสาย ลาเรียน และขาดเรียน
รูปที่ 8 การลงเวลาเรียนรายบุคคล
นอกจากนี้ผู้เรียน ผู้สอน และผู้ร่วมสอนในรายวิชาสามารถเข้าดูการลงเวลาเรียนรวมของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ดังแสดงในรูปที่ 8
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คะแนนสอบปรนัย
รูปที่ 9 คะแนนสอบปรนัยในภาพรวมของวิชา
รูปที่ 10 คะแนนสอบปรนัยแต่ละครั้ง
สำหรับคะแนนสอบปรนัย แบ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบภาพรวมทั้งหมดของคะแนนสอบปรนัยของวิชา ดังรูปที่ 9 และข้อมูลคะแนนสอบปรนัยในแต่ละครั้งดังรูปที่ 10 โดยข้อมูลทั้งสองแบบแสดงข้อมูลทั้งตารางสรุปและกราฟ ในส่วนของตารางสรุปแบ่งตามสัดส่วนคะแนน 4 กลุ่ม ได้แก่ คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 25 คะแนนในช่วงร้อยละ 25-50 คะแนนในช่วง 50-75 และคะแนนมากกว่าร้อยละ 75 โดยแสดงจำนวนผู้เรียนรวมและจำนวนเฉลี่ยในแต่ละช่วงร้อยละ ส่วนกราฟวงกลมแสดงสัดส่วนจำนวนของผู้เรียนในแต่ละช่วงคะแนน
คะแนนอัตนัย
รูปที่ 11 คะแนนสอบอัตนัยในภาพรวมของวิชา
รูปที่ 12 คะแนนสอบอัตนัยแต่ละครั้ง
สำหรับคะแนนสอบอัตนัย แบ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบภาพรวมทั้งหมดของคะแนนสอบอัตนัยของวิชาดังรูปที่ 11 และข้อมูลคะแนนสอบอัตนัยในแต่ละครั้งดังรูปที่ 12 โดยข้อมูลทั้งสองแบบแสดงข้อมูลทั้งตารางสรุปและกราฟ ในส่วนของตารางสรุปแบ่งตามสัดส่วนคะแนน 4 กลุ่ม ได้แก่ คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 25 คะแนนในช่วงร้อยละ 25-50 คะแนนในช่วง 50-75 และคะแนนมากกว่าร้อยละ 75 โดยแสดงจำนวนผู้เรียนรวมและจำนวนเฉลี่ยในแต่ละช่วงร้อยละ ส่วนกราฟวงกลมแสดงสัดส่วนจำนวนของผู้เรียนในแต่ละช่วงคะแนน
คะแนนเก็บ
รูปที่ 13 คะแนนเก็บในภาพรวมของวิชา
รูปที่ 14 คะแนนเก็บแต่ละครั้ง
สำหรับคะแนนเก็บ แบ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบภาพรวมทั้งหมดของคะแนนเก็บของวิชาดังรูปที่ 13 และข้อมูลคะแนนเก็บในแต่ละครั้งดังรูปที่ 14 โดยข้อมูลทั้งสองแบบแสดงข้อมูลทั้งตารางสรุปและกราฟ ในส่วนของตารางสรุปแบ่งตามสัดส่วนคะแนน 4 กลุ่ม ได้แก่ คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 25 คะแนนในช่วงร้อยละ 25-50 คะแนนในช่วง 50-75 และคะแนนมากกว่าร้อยละ 75 โดยแสดงจำนวนผู้เรียนรวมและจำนวนเฉลี่ยในแต่ละช่วงร้อยละ ส่วนกราฟวงกลมแสดงสัดส่วนจำนวนของผู้เรียนในแต่ละช่วงคะแนน