แผนส่วนประกอบของดอก

แผนการจัดการเรียนรู้ที่[a][b][c] ๒

ส่วนต่าง ๆ ของดอก[d][e][f]             

สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต                                     เวลา    ๕    ชั่วโมง

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒   ชีวิตพืช    เรื่อง   ส่วนต่าง ๆ ของดอก                ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

....................................................................................................

๑. สาระสำคัญ

        ดอกของพืชโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ส่วนประกอบที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ คือ เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย

มาตรฐานการเรียน  :  

๒. ตัวชี้วัด

        สังเกตและระบุส่วนประกอบของดอกและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ของพืชดอก

(ว ๑.๑ ป.๕/๑)

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้

        ๑. ระบุส่วนประกอบของดอกไม้ได้ (K)

        ๒. อธิบายส่วนประกอบของดอกที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ได้ (K)

        ๓. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)

        ๔. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)

        ๕. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)

๖. สื่อสารและนำความรู้เรื่องส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)

4. สาระการเรียนรู้

           การสืบพันธุ์ของพืชดอก

                   - ส่วนต่าง ๆ ของดอก

5. แนวทางการบูรณาการ

        ภาษาไทย    สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับส่วนประกอบของดอกไม้ และส่วนของดอกที่ทำหน้าที่ใน

                                การสืบพันธุ์

        ศิลปะ       วาดภาพ ระบายสีดอกไม้ และส่วนประกอบของดอกไม้

        ภาษาต่างประเทศ  ฟัง พูด อ่าน และเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชนิดของดอกไม้และ

                          ส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้

 6. กระบวนการจัดการเรียนรู้

ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อม และพื้นฐานของนักเรียน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

        ๑) ครูนำนักเรียนออกไปสำรวจดูดอกไม้ในบริเวณโรงเรียน แล้วถามนักเรียนว่า

   - รู้จักดอกไม้เหล่านี้หรือไม่ มีชื่อว่าอะไร

   - ทำไมดอกไม้เหล่านี้จึงมีสีสันสวยงาม

   - นักเรียนรู้สึกอย่างไร เมื่ออยู่ใกล้ดอกไม้

๒) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม แล้วจดบันทึกชื่อดอกไม้ที่สำรวจพบลงในสมุด

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้

        จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

        ๑) ขั้นสร้างความสนใจ

         (๑) ครูนำดอกไม้สด 2­3 ชนิดเข้ามาในชั้นเรียน แล้วถามนักเรียนว่า เป็นดอกอะไร

         (๒) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูถามต่อว่านักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่าดอกไม้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ดอกไม้แต่ละชนิดมีส่วนประกอบเหมือนหรือแตกต่างกัน

         (๓) นักเรียนร่วมกันอภิปรายคำตอบของคำถาม ตามประสบการณ์ของนักเรียน

        ๒) ขั้นสำรวจและค้นหา

        (๑) ครูนำอภิปรายว่าพืชเมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะออกดอก ดอกไม้เป็นส่วนสำคัญที่ทำหน้าในการสืบพันธุ์ของพืช

        (๒) นักเรียนแบ่งกลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรม สังเกตส่วนประกอบของดอก แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ ดังนี้

   - สมาชิกในกลุ่มช่วยกันนำดอกไม้ที่หาได้มาสังเกตส่วนประกอบ

   - สังเกตลักษณะของกลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ เกสรเพศเมีย แล้วบันทึกผล

๓) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

(๑) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

(๒) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น

- ดอกไม้ที่นำมาสังเกตมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

- ดอกไม้ชนิดใดบ้างมีส่วนประกอบของดอกครบส่วน

- ส่วนประกอบใดของดอกไม้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์

(๓) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรม และครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจว่า ดอกไม้โดยทั่วไปจะประกอบด้วย กลีบดอก กลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ และเกสรเพศเมีย ดอกไม้บางชนิดเป็นดอกครบส่วน บางชนิดเป็นดอกไม่ครบส่วน บางชนิดเป็นดอกสมบูรณ์เพศ บางชนิดเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ คือ เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย (ครูอาจใช้แผนภาพส่วนประกอบของดอกไม้ประกอบการอธิบาย)

๔) ขั้นขยายความรู้

(1) ครูแนะนำให้นักเรียนสำรวจดอกไม้บริเวณบ้านของตนเอง หรือดอกไม้ที่พบเห็นตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วฝึกจำแนกว่าดอกไม้ชนิดใดเป็นดอกครบส่วน หรือดอกไม่ครบส่วน ดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกไม่สมบูรณ์เพศ

(2) นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับชนิดของดอกไม้และส่วนต่าง ๆ ของดอกไม้ จากหนังสือเรียนภาษาอังกฤษหรืออินเทอร์เน็ต และนำเสนอให้เพื่อนฟัง คัดคำศัพท์พร้อมคำแปลลงในสมุดส่งครู

5) ขั้นประเมิน

(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรมมีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ

        (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างบ้าง

        (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์

        (4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น

        - ดอกไม้มีความสำคัญอย่างไร

        - ส่วนประกอบของดอกไม้แต่ละส่วนมีหน้าที่อะไรบ้าง

        - ยกตัวอย่างดอกไม้ที่เป็นดอกครบส่วน และดอกสมบูรณ์เพศ

ขั้นสรุป

นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบของดอกไม้ และส่วนประกอบของดอกที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ โดยร่วมกันสรุปเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

8. กิจกรรมเสนอแนะ

        ให้นักเรียนเก็บดอกไม้ที่ตนเองชื่นชอบมาสังเกตรายละเอียด แล้ววาดภาพ ระบายสีให้สวยงาม

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

        1) ดอกไม้ในบริเวณโรงเรียน เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกกุหลาบ

        2) ใบงานที่ 3 สังเกต ส่วนประกอบของดอก

        3) ดอกไม้ เช่น ชบา กุหลาบ

        4) แบบฝึกทักษะ

10. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

ด้านคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (A)

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

๑. ซักถามความรู้เรื่องส่วน   ต่าง ๆ ของดอกไม้

๒. ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน

๓. แบบทดสอบก่อนเรียน

๑. ประเมินเจตคติทาง

   วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล

๒. ประเมินเจตคติต่อ

   วิทยาศาสตร์เป็นรายบุคคล

๑. ประเมินทักษะกระบวนการ

   ทางวิทยาศาสตร์

๒. ประเมินทักษะการคิด

๓. ประเมินทักษะการแก้ปัญหา

๔. ประเมินพฤติกรรมใน

   การปฏิบัติกิจกรรมเป็น

   รายบุคคลหรือรายกลุ่ม

๑๑.  บันทึกหลังสอน

ผลการสอน...................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

ปัญหา / อุปสรรค.........................................................................................................................................

......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

แนวทางแก้ไข...............................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................................

   

(ลงชื่อ..........................................ครูผู้สอน                ลงชื่อ...........................................ผู้รับรอง

        (.............................................)                              (...........................................)

ครูโรงเรียน.....................................        ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน.........................................

                                                                               

                                                    ส่วนประกอบของดอกไม้
ดอก (Flower) คือ ส่วนของพืชที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะพิเศษ เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ดอกเกิดจากตาดอก (Flowering bud) ดอกไม้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายกัน

ดอก (Flower) คือ ส่วนของพืชที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะพิเศษ เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ดอกเกิดจากตาดอก (Flowering bud) ดอกไม้แต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายกัน

ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกได้แก่

http://4.bp.blogspot.com/--F2G8hGD5_M/UQ9LDBDh9eI/AAAAAAAAACI/S6Zx_uacm-Q/s320/123.jpg

1. กลีบเลี้ยง (Sepal) วงกลีบเลี้ยง (Calyx) เป็นวงนอกสุดของดอก ส่วนใหญ่มีสีเขียวทำหน้าที่หุ้มและป้องกันดอกตูม พืชบางชนิดมีกลีบเลี้ยงแยก บางชนิดมีกลีบเลี้ยงเชื่อมต่อกัน

2. กลีบดอก  (Petal)  วงกลีบดอก (Corolla) อยู่ถัดจากวงกลีบเลียงเข้าไป ลักษณะบางกว่ากลีบเลี้ยง มีสีสันต่างๆ พืชบางชนิดมีกลีบดอกแยก บางชนิดมีกลีบดอกเชื่อมต่อกัน การเชื่อมกันของกลีบดอกมีหลายแบบ ดังนี้

3. เกสรตัวผู้  (Stamen) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ อยู่ถัดจากวงกลีบดอกเข้าไป เกสรตัวผู้แต่ละอัน มีโครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อับเรณู (Anther) ซึ่งภายในมีถุงอับเรณู (Pollen sac) และก้านเกสรตัวผู้ (Filament) เกสรตัวผู้จัดเป็นวงชั้นที่ 3 ของดอกไม้ เรียกว่า Androecium

4. เกสรตัวเมีย  (Pistil)  ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มักมีเมือกเหนียวเพื่อคอยดักละอองเรณู และก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เกสรตัวเมียจัดเป็นวงในสุดของดอกไม้ เรียกว่า Gynoecium รังไข่ (Ovary) ภายในรังไข่มีออวุล (Ovule) รังไข่ทำหน้าที่สร้างไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การจำแนกชนิดของรังไข่โดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 3 ชนิด ได้แก่

5. ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก แผ่ออกไปทำหน้าที่รองรับส่วนต่างๆ ของดอก

6. ก้านดอกย่อย (Pedicel) เป็นก้านของดอกย่อยที่อยู่ในช่อดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอกที่อยู่ต่อจากฐานดอกในดอกเดี่ยว

7. ก้านดอก (Peduncle) เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือเป็นส่วนก้านช่อดอก

ชนิดของดอก

การจำแนกตามส่วนประกอบของดอก

1. ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ

2.ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)

การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาเฉพาะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ชบา

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว หรือต่างดอกกัน คือ ดอกเพศผู้ (Staminate flower) ดอกเพศเมีย (Pistillate flower)

* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) เช่น ดอกฟักทอง ดอกข้าวโพด
* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น (Dioecious plant) เช่น ดอกมะละกอ ดอกตาล

การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจากจำนวนดอกบนหนึ่งก้าน

1. ดอกเดี่ยว (Solitary flower) หมายถึง ดอกไม้ที่มีอยู่เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ จำปี บัว ผักบุ้ง

2. ดอกช่อ (Inflorescence flower) หมายถึง ดอกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ดอกบนก้านดอกเดียวกัน ดอกแต่ละดอก เรียกว่า ดอกย่อย (Floret) ก้านดอกย่อย เรียกว่า Pedicel ส่วนแกนกลางที่ยาวต่อจากก้านดอกซึ่งมีดอกย่อยแยกออกมา เรียกว่า Rachis

3. ดอกรวม (Composite flower) เป็นดอกช่อชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมาก มีก้านชูดอกอันเดียวกัน ลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว เช่น ดาวเรือง ทานตะวัน โดยมีดอกย่อย 2 ชนิดคือ

- Rey flower อยู่รอบนอก มีกลีบดอกยาวหลายกลีบเชื่อมติดกันหมดและแผ่ออก ส่วนมากเป็นหมันหรือเป็นดอกตัวเมีย
- Disc flower เป็นดอกย่อยที่อยู่ด้านใน อยู่ตรงกลางเป็นดอกเล็กๆ มีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

 ส่วนประกอบที่สำคัญของดอกได้แก่

1. กลีบเลี้ยง (Sepal) วงกลีบเลี้ยง (Calyx) เป็นวงนอกสุดของดอก ส่วนใหญ่มีสีเขียวทำหน้าที่หุ้มและป้องกันดอกตูม พืชบางชนิดมีกลีบเลี้ยงแยก บางชนิดมีกลีบเลี้ยงเชื่อมต่อกัน

2. กลีบดอก  (Petal)  วงกลีบดอก (Corolla) อยู่ถัดจากวงกลีบเลียงเข้าไป ลักษณะบางกว่ากลีบเลี้ยง มีสีสันต่างๆ พืชบางชนิดมีกลีบดอกแยก บางชนิดมีกลีบดอกเชื่อมต่อกัน การเชื่อมกันของกลีบดอกมีหลายแบบ ดังนี้

3. เกสรตัวผู้  (Stamen) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ อยู่ถัดจากวงกลีบดอกเข้าไป เกสรตัวผู้แต่ละอัน มีโครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วนคือ อับเรณู (Anther) ซึ่งภายในมีถุงอับเรณู (Pollen sac) และก้านเกสรตัวผู้ (Filament) เกสรตัวผู้จัดเป็นวงชั้นที่ 3 ของดอกไม้ เรียกว่า Androecium

4. เกสรตัวเมีย  (Pistil)  ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย (Stigma) มักมีเมือกเหนียวเพื่อคอยดักละอองเรณู และก้านชูเกสรตัวเมีย (Style) เกสรตัวเมียจัดเป็นวงในสุดของดอกไม้ เรียกว่า Gynoecium รังไข่ (Ovary) ภายในรังไข่มีออวุล (Ovule) รังไข่ทำหน้าที่สร้างไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การจำแนกชนิดของรังไข่โดยใช้ตำแหน่งของรังไข่เป็นเกณฑ์ จำแนกได้ 3 ชนิด ได้แก่

5. ฐานรองดอก (Receptacle) เป็นส่วนปลายสุดของก้านดอก แผ่ออกไปทำหน้าที่รองรับส่วนต่างๆ ของดอก

6. ก้านดอกย่อย (Pedicel) เป็นก้านของดอกย่อยที่อยู่ในช่อดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอก หรือเป็นส่วนของก้านดอกที่อยู่ต่อจากฐานดอกในดอกเดี่ยว

7. ก้านดอก (Peduncle) เป็นส่วนล่างสุดของดอกที่ติดต่อกับลำต้นหรือกิ่ง หรือเป็นส่วนก้านช่อดอก

ชนิดของดอก

การจำแนกตามส่วนประกอบของดอก

1. ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ

2.ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)

การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาเฉพาะเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

1. ดอกสมบูรณ์เพศ (Perfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ชบา

2. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (Imperfect flower) เป็นดอกที่มีเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียว หรือต่างดอกกัน คือ ดอกเพศผู้ (Staminate flower) ดอกเพศเมีย (Pistillate flower)

* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน (Monoecious plant) เช่น ดอกฟักทอง ดอกข้าวโพด

* ดอกไม่สมบูรณ์เพศที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น (Dioecious plant) เช่น ดอกมะละกอ ดอกตาล

การจำแนกชนิดของดอกโดยพิจารณาจากจำนวนดอกบนหนึ่งก้าน

1. ดอกเดี่ยว (Solitary flower) หมายถึง ดอกไม้ที่มีอยู่เพียงดอกเดียวบนก้านชูดอกเพียงก้านเดียว เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ จำปี บัว ผักบุ้ง

2. ดอกช่อ (Inflorescence flower) หมายถึง ดอกที่มีจำนวนมากกว่า 1 ดอกบนก้านดอกเดียวกัน ดอกแต่ละดอก เรียกว่า ดอกย่อย (Floret) ก้านดอกย่อย เรียกว่า Pedicel ส่วนแกนกลางที่ยาวต่อจากก้านดอกซึ่งมีดอกย่อยแยกออกมา เรียกว่า Rachis

3. ดอกรวม (Composite flower) เป็นดอกช่อชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยเล็กๆ จำนวนมาก มีก้านชูดอกอันเดียวกัน ลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว เช่น ดาวเรือง ทานตะวัน โดยมีดอกย่อย 2 ชนิดคือ

- Rey flower อยู่รอบนอก มีกลีบดอกยาวหลายกลีบเชื่อมติดกันหมดและแผ่ออก ส่วนมากเป็นหมันหรือเป็นดอกตัวเมีย

- Disc flower เป็นดอกย่อยที่อยู่ด้านใน อยู่ตรงกลางเป็นดอกเล็กๆ มีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด เป็นดอกสมบูรณ์เพศ

[a]เป็นแผนที่ดีมากค่ะ

[b]ทำได้แล้ว

[c]good good

[d]คุณทำได้

[e]_Marked as resolved_

[f]_Re-opened_