เราก็เปลี่ยนได้ เชื่อไหม?

“ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์”  งานจิตอาสา ที่ผมและเครือข่ายทั่วประเทศต้องการเปลี่ยนประเทศไทยจากเกษตรเคมี สู่เกษตรอินทรีย์  ผลพวงจากการปฏิวัติเขียว 100  ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกฺิดปัญหาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันหลายย่าง เช่น เกษตรกรก็ยังไม่สามารถลืมตาอ้างปากได้ สุขภาพประชาชนแย่ลง มีคนเป็นมะเร็งมากขึ้นจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร สิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ เสียสมดุลของธรรมชาติ คนในสังคมแก่งแย่ง ชิงดีเพื่อการยังชีพ  ปัญหาเหล่านี้ สะสมมาเป็นเวลานาน บางอย่างอาจจะเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมไม่ถูกทิศ ถูกทาง บางอย่างเกิดจากความไม่รู้ การเข้าใจผิดในวิชาการบางอย่าง นี่คิดจุดเรื่อมต้นของความคิดที่อยากจะเปลี่ยนประเทศ

จำได้ว่าเมื่อประมาณปี 2560 ในช่วงที่ผมทำงานที่ภาคอีสาน ได้ไปนั่งฟัง

เจ้าชายเกษตรอินทรีย์ ดร.อนุรักษ์ เรืองรอบ ท่านได้บรรยายเรื่อง โมเดลการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems หรือ PGS ซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ผมเองก็ได้ศึกษาวิจัยมาแล้วว่า PGS จะเป็นเครื่องมมือสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเกษตรอินทรีย์ของประเทศได้ แต่ก็ไยายามหาโมเดลการพัฒนาที่ตอบโจทย์การขยายผลไปทั่วประเทศ จนได้มาเจอโมเดลของเจ้าชายเกษตรอินทรีย์  ผมจึงได้ร่วมกันทำโครงการ “ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์” ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนประเทศไทยไปสู่สิ่งที่ดี 4 สอ (เศรษฐกิจ สุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม)  

หลังจากได้ทำความเข้าใจในโมเดลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ผมซึ่งพอจะมีความสามารถในด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ การเขียนโปรแกรม จึงได้ใช้เวลา 3 เดือน ทุ่มเทพัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ Organic Agricultural Network หรือ OAN ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ภายใต้เบร์นด SDGsPGS ซึ่งมาจากคำ 2 คำ รวมกัน คือ SDGs = Sustainable Developmaent Goals + PGS = Participatory Guarantee Systems กะว่าจะปั้น brand นี้ให้คนทั้งโลกให้รู้จัก ว่าประเทศไทยก็ผลิตสินค้าอินทรีย์ที่มีคุณภาพ

แล้วทำไมจึงเลือก PGS ?

ประเทศไทยมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว คือ Organic Thailand แล้วทำไมต้องไปสร้างมาตรฐานใหม่ อันนี้ก็เป็นคำถามที่ค้างคาใจอยู่เหมือนกัน ว่าทำไมต้องไปสร้างใหม่ เมื่อมานั่งวิเคราะห์กันพบว่า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีอยู่ มีข้อจำกัด หลายอย่าง เช่น ค่าตรวจแพงเกินไป(สำหรับมาตรฐานเพื่อการส่งออก) ต้องมีเอกสารสิทธิ์ ข้อจำกัดด้านงบประมาณส่งเสริม ข้อจำกัดด้านผู้ตรวจประเมินแปลง  ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกษตรอินทรีย์ประเทศไทยไม่ก้าวไปข้างหน้าเท่าที่ควร พอได้มาศึกษา PGS ซึ่งทาง IFOAM ได้พัฒนากรอบแนวคิด กระบวนการ framework ของการพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ใช้ภายในประเทศ โดย IFOAM ได้ให้คำนิยามสั้นๆ ว่า

PGS คือ "ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ "

Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.

โดยมีหลักคิดในการพัฒนามาตรฐาน ยึดการมีส่วนร่วม ดังภาพ

จากหลักคิดดังกล่าว พวกเราจึงได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่ววนร่วม SDGsPGS โดยในปี 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการค้าภายใน เป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ เปิดโอกาสให้พวกเราได้ทดลองโมเดลที่คิดขึ้นมา เพื่อดูว่าจะสามารถ เปลี่ยนประเทศได้หรือไม่ จากงบประมาณที่ทดลองโมเดลจำนวน 8 จังหวัด นำไปสู่การการขยายผลในปัจจุบันมีกลไกในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ไปแล้วกว่า 50 จังหวัด จนได้ คู่มือมาตรฐาน ขึ้นมา

แล้วโมเดลนี้มีอะไรบ้าง ?

สำหรับโมเดลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS นั้น เราทำขึ้นมาเพื่อแก้ pain point 2 อย่างของเกษตรอินทรีย์บ้านเรา คือ 1. เกษตรกรที่ผลิตผลผลิตอินทรีย์แล้วไม่มีที่ขาย ไม่รู้ผู้ซื้ออยู่ที่ไหน และ 2. ผู้ที่อยากได้สินค้าอินทรีย์ ไม่รู้จะไปหาที่ไหน ที่เป็นสินค้าที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ผ่านการรับรอง ปัญหาทั้ง 2 แก้ได้โดยการเชื่อม supplychain และ value chain ให้เกิดขึ้น และใช้หลักการดำเนินงาน

พื้นที่เป็นตัวตั้ง จังหวัดจัดการตนเอง รัฐหนุนเสริม

พัฒนาสัมมาชีพ(ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น สิ่งแวดล้อม รายได้ > รายจ่าย) ให้เต็มพื้นที่

จึงได้เกิดเป็นโมเดลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ที่อยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ พื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และนำไปสู่การยกระดับการค้าขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การขับเคลื่อนในภาพใหญ่ระดับประเทศ จะมี สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย เป็นกลไกในระดับประเทศ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางการทำงานร่วมกันของทุกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัด

ทำความรู้จัก สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย ที่ไม่มีหน่วยงานไหนของภาครัฐ ให้จดทะเบียน 555

https://www.youtube.com/watch?v=NPZbUXSLNq0

โมเดลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

โมเดลนี้ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  • การจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนประจำจังหวัด เพื่อเ็นเจ้าภาพในการเขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยการรวบรวมเกษตรกรที่ต้องการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์มาทำงานร่วมกัน
  • จัดตั้งคณะทำงานตรวจแปลง ที่มาจากเกษตรกรที่ผ่านการอบรมทั้งหลักสูตรเขย่าทัศน์ หลักสูตรผู้ตรวจประเมินแปลง
  • จัดตั้งคณะทำงานฐานข้อมูล เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดของตนเอง
  • จัดตั้งคณะกรรมการรับรองระดับจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ที่มาจาก 4 ภาคส่วน(ภาครัฐในจังหวัด ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน)
  • จัดตั้งกลไกธุรกิจ รูปแบบ วิสาหกิจเพื่อสังคม Social Enterprise 70 : 30 คือ นำรายได้ 70 บาทไปส่งเสริม ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ในจังหวัด เพื่อลดการพึ่งพาหน่วยงานภายใน สร้างการพึ่งพาตนเอง และพึ่งพากันเองให้ได้มากที่สุด อีก 30 นำไปปันผลให้ผู้ถือหุ้น

จากการพัฒนาโมเดลดังกล่าว ถึงว่าเป็น นวัตกรรมทางสังคม(Social Innovation) ด้านกระบวนการอย่างหนึ่ง ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในแต่ละจังหวัด ให้เกษตรกรได้ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง ภายใต้เครื่องมือที่ได้รับการออกแบบไว้

ที่เล่ามาคืองานพัฒนาพื้นที่ ที่ทำในลักษณะ จิตอาสา ข้าวหม้อ แกงหม้อ สุมหัวกันทำ ขอใจมาก่อน 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าที่กำลังจะซื้อเป็นเกษตรอินทรีย์ จริง ?

“แพ้- ชนะ กันที่ข้อมูล” ประโยคนี้สำคัญมาก สำหรับยุคปัจจุบันและในอนาคต ใครกุมข้อมูลได้มาก คนนั้นกุมลูกค้าไว้ในมือ

หน้าที่ของผมในโมเดลข้างบน คือ การพัฒนาระบบสารสนเทศเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ OAN ชื่อนี้เกษตรกรอ่านว่า “อ้วน”  ระบบนี้ใช้เวลาในการพัฒนา 3 เดือน ทำไป ทดลองไป แก้ไป ปรับให้เข้ากับเกษตรกรทั้งยุคคุณพ่อ คุณลุง คุณป้า น้า และรุ่นใหม่ ภายใต้แนวคิดที่ว่า เกษตรกรใช้ง่าย ผู้ซื้อตรวจสอบย้อนกลับได้ ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน

แนวทางการพัฒนายึด Supply | Demand

Supply คือ ข้อมูลผู้ผลิต ที่จะขอ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

Demand คือ ข้อมูลความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ ในรูปแบบ ตลาดเกษตรอินทรีย์ล่วงหน้า Organic Future Market : OFM

ระบบนี้ออกแบบให้สามารถเก็บข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลง ข้อมูลผลการตรวจแปลง โดยเกษตรกรเจ้าของแปลงสามารถลง บันทึกฟาร์มออนไลน์ ต้นทุนออนไลน์ แผนการผลิตออนไลน์

ระบบสามารถออกหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ใบ certificate ภายใต้มาตรฐาน SDGsPGS

โดยมีขั้นตอนการทำงาน

เมื่อมีการตรวจประเมินแปลง เก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบ OAN แปลงผ่านการกลั่นกรองในระดับจังหวัด และสุดท้าย แปลงผ่านการรับรองมาตรฐานในระดับจังหวัด ระบบ OAN จะออกหนังสือรับรองมาตรฐานให้โดยอัตโนมัติ

ตัวอย่างหนังสือรับรอง

จากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีสถานการณ์โควิค แต่พวกเราพี่น้องเกษตรอินทรีย์ ก็ไม่ยอมหยุดเดิน ยังมุ่งมั่น เดินหน้า ในการขับเคลื่อนเกษ๖รอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่ง ของการเปลี่ยนการเกษตรของไทย ไปสู่ “ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์”

ปัจจุบันในระบบ OAN  มีข้อมูลของเกษตรกร มากกว่า 13,000 ราย

จำนวนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ มากกว่า 140,000 ไร่

มีเกษตรกรที่อาสามาเป็นผู้ตรวจประเมินแปลง มากกว่า 5,000 คน ครอบคลุม 55 จังหวัด

มีแปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ไปแล้ว

มากกว่า 1,600 ราย พื้นที่ 27,000 กว่าไร่  

และอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน กว่า 7,500 ราย พื้นที่กว่า 62,000 กว่าไร่

อนาคตต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร

5 ปีที่ผ่านมา(เริ่ม 2560) เป็น 5 ปีที่ผมและทีมงาน พี่น้องเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ได้ร่วมกันทำงาน แบบจิตอาสา ไม่มีงบจากหน่วยงานใดๆ มาหนุนเสริม ไม่ใช่ว่าทีมงานเราไม่อยากได้ แต่่พวกเราคิดกันแล้วว่า

ถ้าให้รองบจากภาครัฐมาก่อน แล้วค่อยลงมือทำ  คงไม่ได้ทำกันพอดี เลยใช้กลยุทธ์ “ขอใจมาก่อน ข้าวหม้อ แกงหม้อ ปิ่นโตร้อยเถา” เดินไปด้วยกัน แก้ปัญหาไปด้วยกัน

จากการลงพื้นที่หลายจังหวัด ได้พบพี่น้องเกษตรอินทรีย์มากมาย ที่ต้องการการหนุนเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เพียงท่านเหล่านั้น หยิบยื่นงบประมาณ โอกาส เพื่อการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ไทย ผมว่า ประเทศไทย หัวใจอินทรีย์ จะเกิดเร็วขึ้น

ผมเคยได้ยิน ชาวสิงค์โปร์ พูดในเวทีที่เชียงใหม่ พูดเป็นภาษาอังกฤษ นะครับ แกบอกว่า

ถ้าคุณนึกถึงญี่ปุ่น คุณนึกถึงอะไร ……. โตโยต้า ขนม…

ถ้านึกถึงเยอรมันหละ นึกถึงอะไร….. เปอร์โย….

และถ้าเป็นประเทศไทย หละ คุณจะนึกถึงอะไร….. พวกเราที่นั่งในห้องสัมมนา …. นึกไม่ออก ตอบไม่ถูก ว่า ประเทศไทย จะให้นึกถึงอะไร….

แต่ชาวสิงค์โปร์ คนนั้น บอกว่า ถ้า THAILAND ไอ นึกถึง  “KINGDOM of ORGANIC” ….. ว๊าว… พระเจ้าจ๊อด  เค้านึกขึ้นมาได้งัย ทำเอาผมขนลุกเลยครับ

ขนาดชาวสิงค์โปร์ ยังยกให้ประเทศไทย มีความเหมาะสมที่จะเป็น KING of ORGANIC เลยครับ

แล้วเราหละครับ ไม่มาร่วมกัน จับมือกัน ทำความฝันนี้ให้เป็นจริง ในยุคของพวกเรา กันมัยครับ

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS  มาใช้ความรู้ ความสามารถที่ตนเองมี  มาช่วยกันคนละนิด คนละไม้ คนละมือ ผสานการทำงานแบบ สหประชาชาติ โดยใช้เป้าหมายของการเป็น KING of ORGANIC ร่วมกันสร้าง ร่วมกันพัฒนา ยังมีอีกหลายอย่างที่พวกผมคิดกัน และอยากจะทำ มาดูว่าท่านจะช่วยอะไรได้บ้าง เลือกได้เลยครับ ว่าอยากจะมาช่วยในส่วนไหน ตามรูป

มาครับ “ช่วยกัน” ตอบแทนคุณแผ่นดิน ก่อนแผ่นดินจะกลบหน้า

จริงๆ แล้วไม่ว่าใครก็สามารถเริ่มต้นสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบของตัวเองได้ ที่  School of Changemakers  ที่

https://www.schoolofchangemakers.com/event/start-cm-journey/

#startCMjourney

#changemakerTH

Message 2.

เกือบ 20 ปี ที่ทำงานด้านการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้ประกอบการ และชุมชน ทำให้ผมเริ่มต้นสนใจคำว่า “การสร้างการเปลี่ยนแปลง”  และ เริ่มหาความรู้เพิ่มเติม ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้  เริ่มต้นจากการอ่านบทความใน schoolofchangemakers.com ทำให้ได้ความรู้ ทัศนคติ mindset พื้นฐาน และมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้นเมื่อพูดถึงคำว่า “Change”  และเมื่อได้อ่านไปเรื่อยๆ ได้เห็นว่า การสร้างการเปลี่ยนแปลงนั้น มีกระบวนการคิด ขั้นตอนการทำงาน ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ จะต้องเริ่มต้นอย่างไร เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นมีกระบวนการไม่ใช่จะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ มันมีระยะเวลาของมัน  มีเครื่องมือที่น่าสนใจหลายอันสามารถนำไปปรับใช้ได้

แม้เราจะพยายามนำ วทน. เพื่อไปช่วยแก้ปัญหาปากท้อง อาชีพ และคุณภาพชีวิต แต่ต้องไม่ลืมทำความเข้าใจปัญหาที่แท้จริง ที่มีอยู่ในชุมชน หรือสังคมที่เค้ามีอยู่จริงๆ ด้วย

การเปลี่ยนแปลง เป็นทั้ง “ศาสตร์และศิลป์” ที่ต้องทำกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่  ต้องการผู้นำทางความคิด และต้องการเวลา

อยากชวนร่วมสนับสนุนเครือข่ายนักสร้างการเปลี่ยนแปลงของ School of Changemakers ได้ที่..(link CM fund landepage)

#CMfundTH
#changemakerTH
#coach4changeTH

Interview Note:

Status

เรารู้จักกันได้อย่างไร ตั้งแต่เมื่อไร เคยเข้าร่วม กิจกรรมกับเราเป็นอย่างไรบ้าง

พอดีผมสนใจเรื่องการสร้างการเปลี่ยนแปลง อยู่แล้ว อยากพัฒนาชุมชน เราเริ่มจากการสร้างเครือข่าย สถาบันการศึกษาในพื้นที่ จาก 17 แห่งในปี 2547 จนปัจจุบันมีมากกว่า 100 กว่าแห่ง ภายใต้ชื่อร่วมกันว่า                “คลินิกเทคโนโลยี” ความหมายคือ ชุมชนใดมีปัญหา อยากใช้ความรู้ใหม่ ๆ ไปแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเอง ก็สามารถเดินไปขอความช่วยเหลือเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ที่มีในพื้นที่ ตามสโลแกน “คลินิกเทคโนโลยี ที่พึ่งของชุมชน”  เราสนับสนุนงบประมาณให้อาจารย์ในมหาลัยได้นำองค์ความรู้ งานวิจัย ที่ได้ทำวิจัยไว้แล้ว ไปใช้ตามความต้องการของแต่ละพื้นที่

ยุคแรกเรามีแผนงานบริการการศึกษา ถ่ายทอดเทคโนโลยี วิจัยต่อยอด และต่อมาก็พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มของการพัฒนาชุมชน เช่น แพลตฟอร์มบ่อเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์(Science Community Incubator: SCI) แพลตฟาร์มพัฒนาธุรกิจชุมชน(Business Community Enterprise : BCE) แพลตฟอร์มบริการให้คำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี(Technology Consulting Service : TCS)  การดำเนินงานที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาให้กับชุมชนได้อย่างเป็นระบบบางครั้งอาจจะเกิดจากการพัฒนาโครงการเป็นมุมมองของผู้เขียนโครงการที่อยากจะทำ มากกว่าการไปค้นหาปัญหาที่แท้จริงของชุมชน จึงคิดว่าต้องหาเครื่องมืออะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้รับผิดชอบได้นำไปใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการ อยากมีโปรแกรมการในการเพิ่มศักยภาพให้กับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ก็ใช้เวลาในการหาข้อมูล ค้นคำว่า Change/Changemaker  จนมาเจอ  schoolofchangemakers ศึกษาอยู่นานเหมือนกัน มีหลายอันที่เจอ แต่มาเจอ schoolofchangemakersอันแรก คือ สะดุด โลโก้ วิธีการนำเสนอ คอนเท้นต่างๆ มีการเรียบเรียง นำเสนอที่ เป็น Step by step เข้าไปอ่าน เรียนรู้ได้ เปิดกว้างองค์ความรู้ ไม่ได้ปิดกัน ไม่ได้เขียนแค่ 50 อีก 50 ให้ติดต่อมา เข้ามาอ่านเยอะมาก ก่อนจะติดต่อไป ศึกษาข้อมูลทั้งหมด  TOC  Download มานั่งอ่านจริงจัง อยากทำเรื่องนี้ อยากหาเครื่องมือ หาใครสักคนมาช่วยทำ เปลี่ยนวิธีคิดของคนเสนอโครงการ ในการ solve ปัญหาชุมชน จนมาเจอ schoolofchangemakers

อ่านเครื่องมือหลายตัว แต่ไม่สามารถเอาไปเขียน TOR  ได้ถ้าไม่ได้ดูดีเทลว่าเป็นยังไง เลยต้องเข้าใจก่อน ถึงจะมาเรียบเรียง TOR ว่าจะเริ่มทำอะไรยังไง เลยเกิดเป็นโปรเจกต์เข้ามา ดีที่ได้เราเข้ามาช่วย Guide เห็นผลสัก 1-2 ปี คนกลุ่มแรกน่าจะได้สร้างกปป ได้ สิ่งที่เป็นปัญหาคือต้องรองบประมาณ ในการใส่เข้าไปในกิจกรรม ในมหาลัยของเค้าเอง มีการพัฒนาบุคลากร แต่ยังไม่ตอบโจทย์การปป. จริงๆ เลยอยากจะจัดกลุ่มคนสักกลุ่มนึงในแต่ละมหาลัยให้เป็นแกนหลักในการทำพวกนี้

ชอบทำโครงการอะไรใหม่ๆ ตลอด นักรบส่งออกเอาเด็กมา+ภาคเอกชนมา ให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นของการส่งออก Local business startup / ecommerce ได้ภาคเอกชนมาช่วย ไม่ได้ให้อ.สอน อ.ไม่เคยล้มลุกคลุกคลานมา เลยให้เอกชนมาสอนดีกว่า short cut

ดูหลายแห่งอยู่ 3-4 ที่เป็นตัวเลือก มีเงินไม่เยอะมาก ถ้าจะนำร่อง ลองโปรแกรมพวกนี้ ให้กับอ.มหาลัยจะเลือกใครดี

 

Why?

หากสรุปเส้นทางการสร้างความเปลี่ยนแปลง คิดว่าตัวเองสร้างimpact อะไร?

>> ยกตัวอย่าง มี Passion ส่วนตัวเรื่องเกษตรอินทรีย์ มีหลายมิติมาก ตั้งแต่ในอดีตที่ปฏิวัติเขียว ใช้เคมี เราส่งออกผลผลิตการเกษตรเป็นอันดับต้นๆ สิ่งที่ตามมาคือใช้เคมี ยาฆ่าหญ้า แมลง ปุ๋ย เยอะมากๆ ส่งผลกระทบกลับมาที่คนยุคปจบ. สุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่สูญเสียไป เพื่อจะทำอะไรสักอย่างเลยอยากจะเริ่มทำสิ่ง เริ่มจากทีม 3-4 คน ดร. อนุรักษณ์ พัฒนาโมเดล เกษตรอินทรีย์ มาตรฐานเกษตรอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วม เข้าไปร่วม ฐานเดิมเป็นโปรแกรมเมอร์ ก็เลยพัฒนา Software ระบบสารสนเทศน์เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ใช้กัน 20000 คนเกือบทั่วประเทศ ทำให้กระบวนการขับเคลื่อนทุกจังหวัด ทำทั้งประเทศให้ได้ใน 10 ปี ตอนนี้ทำไป 60 จังหวัด ทั่วปท ทำให้เกษตรกรที่เคยใช้สารเคมี ปรับเปลี่ยนวิธีการเป็นอินทรีย์

พัฒนาระบบให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน เกษตรกรขายสินค้าได้ดีขึ้น รักษาสิ่งแวดล้อมได้ ผบ. ตรวจสอบย้อนกลับได้ บริโภคสินค้าที่ดีต่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่ปจบ. อนาคต คนต้องการ

คิดว่าเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาเกษตรกร

>> ทำเรื่องคุณวุฒิวิชาชีพ ให้เกิดขึ้น ผู้ตรวจประเมินแปลง โดยกลไกของมาตรฐานที่เอามาใช้ ตปท. คิดมา แล้วหยิบ Framework มา มีคชจ​ ผู้ตรวจแปลงมาตรฐานออแกนิกส์ ค่าตรวจ 30,000 ต่อครั้ง จริงๆ ไม่ได้ยาก มี Checklist อยู่ เราเลยเอาเกษตรกรมาเพิ่มทักษะ แล้วมาตรวจด้วย พัฒนาด้วย ไปตรวจแปลงคนอื่น เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐาน ทำไปพันกว่าคนทั่วประเทศ แต่พันกว่าคน แต่ละจังหวัดทั่วประเทศ มาตรฐานแต่ละคนไม่เท่ากัน เลยคิดว่าจะทำไงให้ Standard คนใกล้เคียงกันมากที่สุด เลยจะทำสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพว่าฉันเป็นผู้ตรวจประเมินแปลง ฉันผ่านคุณวุฒนิแล้วนะ มีมาตรฐานนะ ทำให้กระบวนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ทั้งประเทศขยับ เทียบเคียงตปท. ได้ด้วย

มี member 60 ประเทศ ถ้าปท. ไทยทำได้ ก็จะช่วยเป็นภาพของปท. ว่าไทยมีแล้วนะ สิงคโปรเป็นเมืองที่อาหารออแกนิกส์เยอะ แต่เราไม่ได้จริงจังกับมัน wellness tourism สุขภา สมุนไพรจะได้โต ข้าว ยาง มัน อ้อย 4-5 ตัวมันได้ประโยชน์เฉพาะนักลงทุน เท่านั้นเองที่อยู่กลางน้ำ เกษตรกรไม่ค่อยได้ปย.จากนโยบาย

Organic University >> ดึงอ.มาทำ Platform Course ออนไลน์ของออแกนิกส์โดยเฉพาะให้เกษตรกร รุ่นใหม่ มาเรียนรู้ คนที่กลับไปบ้าน ทำเกษตรอินทรีย์ เป็นเป้าหมายสุดท้ายที่จะพยายามทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้น

มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม พื้นที่ตัวตั้ง จัดการตัวเอง รัฐหนุนเสริม

เป็นเรื่องสุดท้ายในชีวิตการทำงานที่อยากทำให้เกิดภาพนี้ขึ้นมาให้ได้ ประเทศไทยหัวใจอินทรีย์
โปรแกรมSTI CM คิดอยู่ว่าจะเอาเข้าไป ให้กับเกษตรกร เด็กรุ่นใหม่ Young Smart Farmer เยอะมากๆ มี 12000 คนในระบบ อยากพัฒนาคนรุ่นใหม่ ให้มี Growth Mindset มากขึ้น ถ้ามีโอกาสจะได้ Join Program CM กับเกษตรอินทรีย์ไปด้วยกัน

สนใจเรื่องนี้เพราะเกี่ยวกับเศษรฐกิจ ราคาดีกว่าเคมี ส่งออก(เยอรมัน ต่างๆ ได้ดี พืช ผัก ปศุสัตว์ ประมง) สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เกษตรอินทรีย์ + มีเงินเพิ่ม + สุขภาพทุกคนดีขึ้นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค ด้วย มองว่าเป็นเรื่องที่จะเปลี่ยนประเทศ ที่ผ่านมาเราเสียงบประมาณไปกับการรักษามะเร็ง อยากให้รักษาที่ต้นทาง สิ่งแวดล้อมต่างๆ เกษตรอินทรีย์ห้ามเผา ลด PM2.5 ได้ด้วย สารเคมีที่ใช้ ฉีด ส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย ระยะยาว ศก. สังคม(ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม พอกิน พออยู่ พอใช้ สร้างเครือข่าย ค้าขาย) สิ่งแวดล้อม

อยากเห้นโมเดลขับเคลื่อนทุกจังหวัด ทั่วประเทศ ชวนเกษตรกรทำมาตรฐานธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เป็น SE 70/30 ไม่ต้องรอเงินภาครัฐ ไม่ต้องขอเงินคนอื่นมาทำกิจกรรม ทำให้กระบวนการพัฒนาเกษตรกร เอง เกษตร สร้าง Value add

หลักศก พอเพียง เอามาใช้

Impact

ส่งผลต่อการเรียนรู้การสร้าง impact บ้างไหม อย่างไร

เอาแบบส่วนตัวก่อน เท่าที่เข้าไปเรียนรู้ใน  Content ทำให้มีความรู้ลึกซึ้งขึ้นเยอะมากๆ ปกติเราบอกว่า Change  จะเริ่มต้นยังไงง ยังไม่รู้เลยแต่พออ่านไปเรื่อยๆ เป็นสเต็บๆ ไปทำให้เราเห็นว่าการปป. มร process นะ ไม่ใช่จะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ มี process/timing ในการสร้างกปป.

ได้รับความรู้อย่างมากเลย ติดใจบทความที่เราเขียน มาจาก Insight จริงๆ มาจาก Practice ที่ไปทำ ไม่ใช่การอ่านหนังสือแล้วมาเขียนเป็นบทความ ทำให้เวลาอ่านแต่ละอย่าง วิธีการใช้ภาษา ไม่ใช่ภาษาเชิงวิชาการ เป็นการเล่าเรื่องแต่ละคอนเท้นท์ เนื้อหา ผนวกกับเนื้อหาวิชาการบางส่วน ตัวอย่างการทำงานในนั้นที่ทำให้เห็นภาพ เป็นจุดเด่นของ Content ในSchoolอยากให้ทำต่อ ถ้าทำภาคออแกนิกส์ได้ยิ่งดี

ที่ตัดสินใจเลือก SOC มาเปน partner ในการทำ project ทีแรกก็ยังไม่คาดหวังเท่าไรห่ รู้อยู่ว่าอ.เป็นไง รู้อยู่ว่า ถ้าไม่มีเงิน อ.ไม่ทำงาน อย่างโครงการออแกนิกที่ทำไม่มีเงิน เลยแต่ทำกันได้ ถ้าเราเอาเงินมาเป้นตัวตั้งสิ่งที่อยากจะทำ อยากจะปป. ให้ดีขึ้น มันจะไม่เกิดเลยเพราะรอว่าเมื่อไหร่จะมีเงินมา เลยลองถามมาดู ปีแรก อยากให้เป็น Incubate เลยแต่พอได้คุย ก็คิดว่าเส้นทางอีกยาวไกลมากนการสร้าง Incubator ในมหาลัย อยากเปลี่ยนวิธีคิดของอ.ก่อน คิดว่าอ.หลายคนที่สัมผัสชุมชน ทำ CT มาก่อน เราเอา วทน. นำ เพื่อไปแก้ปัญหาปากท้อง อาชีพ คุณภาพชีวิตไม่ได้แก้ปห. ชุมชนหรือสังคมที่เค้ามีอยู่จริงๆ เราแก้แค่เสี้ยวเดียว กลุ่มเดียว เลยคิดตัวโครงการขึ้นมา คาดหวังว่าหลังจากอ่านของปีนี้ ก็พยายามเข้าไปเรียนรู้ด้วย

ได้วิธีคิด มุมมองที่เปลี่ยนไปในเรื่องการสร้างและการปป. CM

อยากให้เครือข่ายที่ทำงานกับชุมชนได้เหมือนที่ผมได้ อ.น้ำทิพ อ.นุช ราชภัฎกาญจบุรี ไม่ดำเนินโครงการต่อ ไม่มีเงินก็จะหายไปเลย บริการให้คำปรึกษา

มีอ. ประมาณ 20% ที่ได้รับบทเรียนจากตรงนี้เอาไปประยุกต์ใช้จริงๆ วิธีการติดตามว่า จะรู้ได้ยังไงว่าอ.แต่ละคน เค้าได้เอาไปใช้ได้จริง

เราทำงานชุมชนมานาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหมือนบริการวิชาการของมหาลัยอยู๋แล้ว อีกยุคก็ให้อ. ทำครบวงจร ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ อยากจะพัฒนาอะไร ทำให้ได้มาตรฐานขายได้ พยายามที่จะเปลี่ยน ทำคนเดียว จูงคนอื่นมาทำด้วย พยายามให้ทำหลากหลาย ต่างสาขา ใช้งบจากโครงการเปลี่ยนวิธีการทำงานของอ.มหาวิทยาลัย เอาเงื่อนไขพวกนี้ ไปเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอโครงการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ว่ามหาลัยจะทำให้ไปทางทิศทางนี้ กำหนดนโยบาย เป้าหมายของการเขียนข้อเสนอโครงการ

Unique

หากเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่อื่น กิจกรรมหรือโปรแกรมของเราต่างจากที่อื่นหรือไม่อย่างไร

จุดเด่น

สคูลต่างจากที่อื่นยังไงบ้าง ไม่ค่อยได้เปรียบเทียบกับที่อื่นเท่าไหร่ พอเลือก นี่แทบจะไม่ดูที่อื่นเลย โฟกัสที่เดียวเลย จุดเด่นคือ   Content เนื้อหาเป็นจุดเด่นอันดับแรก ทำให้ติดตามตลอดเวลา มีเวลาว่างก้จะเข้าไปอ่านบทความต่างๆ อยู่ตลอด เห็นวิธีการทำงาน ที่เป้น Professional พอสมควร ถ้าเป็นเหมือนหลักสูตรอื่นๆ ที่จัดขึ้นมา ก็จะมีการประชุม Present มีสอนผ่าน Zoom อย่างเดียว ws ก็ไม่มี วิธีการทำคนไปสู่เนื้อหาบทเรียน กระบวนการเรียนรู้ เป็นจุดเด่น ของ​SOC ว่า มันยากจริง จะพูดยังไง เกริ่นยังไง จะนำยังไง วันแรกที่ซูมกัน คนไม่อยากจะพูดเท่าไหร่ แต่พอเริ่มกิจกรรม อ.ไม่ได้สวมหมวกอาจารย์มาเรียน สวมหมวกนักพัฒนามาเรียน เราตอบโจทย์กระบวนการเรียนรู้ในการสร้างนักพัฒนาตรงนี้
3. เพิ่งอ่านรายงานของงวดที่ 1 ออมส่งมา ความเป้นวิชาการ / การทำงานในเชิงวิชาการก้มีอยู่ในSOC  ด้วย มีความเข้าใจ สิ่งที่อยากจะได้ หรือเจ้าของโครงการที่ทำขึ้นมาอยากได้อะไร เราตอบโจทย์ตรงนั้นทำให้คนให้งบประมาณสบายขึ้นเยอะ

ไปเจอหลายโปรเจกต์ที่ ​Final/Inception Report ต้องเขียนใหม่เยอะแยะมากมาย สรุปไม่เป็นไม่ได้ตามที่เราอยากจะได้ สิ่งที่สบายใจฐานะคนให้งบประมาณคือ กระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้คนเข้ามาสู่การเรียนรู้ วิธีการบริหารจัดการ ต่างๆ การใส่0 ด้านหน้า ชื่อ เห็นวิธีการจัดการเรียนรู็ที่ interactive  กับคนที่เป็นผู้เรียน ทำให้เราเห้นว่าเราสนใจ ให้ค.สำคัญเค้า อยากให้เขามามีส่วนร่วมในการจัดกรบะวนการ

ทีมงานทั้ง 3 คน Professional มาก เอาอยู่ ด้วยการที่เจอโครงการเจอปห. มาเยอะ มีวิธีการแม้ว่าจะโจทย์เดียวกัน เจอกลุ่มเป้าหมายต่างกัน สามารถเอาบริบทของคนเรียนมาเป็นส่วนหนึ่งของการ Guideline แก้โจทย์ปห.ให้เค้าได้ เอา BG ผู้เรียนมาเป้นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้

ทำมาหลายโครงการ รู้สึกว่า Professional ทำงานหลังบ้านเยอะพอสมควร กว่าจะทำ  Learning Platform

Website สะอาดสะอ้าน เป็นกลุ่มกันดี ทำให้คนที่สนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าไปอ่านเรื่องนั้นโดยเฉพาะได้ เป็นการจับกลุ่ม UX/UI Ok ในตัวคอนเท้นท์ สะอาด ดูแล้วน่าอ่าน Font โอเคไม่มีปัญหา

มีของเก่าที่ลิ้งมันหาย

ทีมงานเก่ง พี่นุ้ยเป็นนักเจรจา โน้มน้าว

หนังสือ แนะนำ ให้  CM

อ่านหนังสือน้อยลง ฟังมากขึ้น ตอนนี้ฟัง Podcast แนวพุทธศาสนา พศิณ อินทรวงศ์ จะพูดเรื่องธรรมะในชีวิตประจำวัน เป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน การเจริญสติ วิธีคิด

Podcast ฟังเวลาขับรถไปตจว. นั่งเปิดไปด้วยฟังไปด้วย >> 3-4 ปีแล้ว เพราะนอนไม่หลับ /

ท่านพุทธทาส เพราะตรงไปตรงมาดี เข้าใจง่าย เอามาปรับใช้ในวิธีการทำงาน คน สติ คิดว่าบางทีทำให้เรามองคนออกด้วย เห็นคนพูดแบบนี้ลักษณะนี้ พฤติกรรมแบบนี้ทำให้เข้าใจเขามากขึ้นว่าน่าจะเป็นแบบไหน ยังไง จากการที่เราฟังธรรมะ

เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ค่อยเห็นคน Implement พุทธศาสตร์ = วิทยาศาสตร์ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 เรื่องเหล่านี้ เป็นสัจจธรรม ถ้าทำโปรเจกต์ที่มันเป็นธรรมชาติ ธรรมดา เกิดการปป. เอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา ให้เห็นกปป.

  • รบกวน Edit ข้อความด้านล่างตามสะดวกเลยค่า…หรือจะปรับแก้ใส่เพิ่มเติมได้ (บทสัมภาษณ์เต็มที่จดไว้อยู่ด้านล่าง)
  • เนื้อหาเหล่านี้จะขออนุญาตใช้ 2 campaign อันแรกคือ
    1. #StartCMJourney ชวนคนมาทำ Assessment เพื่อดูว่าตัวเองเหมาะกับอะไร แล้วสมัครเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งปี  >>
     หากสามารถ ช่วยก็อบไป Post Social Media ของตัวเอง(ปรับเอาที่ชอบเลย) วันที่ 17 มีนาคม ช่วงเช้า (ถ้าสะดวก)  จะมีอีเมล์จากทีมงานแจ้งเตือนไปค่ะ

2. #CMfundTH เพื่อระดมทุนเข้ากองทุนร้อยล้าน เป็น Endowment fund เพื่อใช้ในการสนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต (เงินจำนวนนี้จะไม่ถูกนำออกมาใช้ แต่จะนำไปให้ Fund Manager บริหารจัดการสร้างผลตอบแทน แล้วดึงเฉพาะผลตอบแทนออกมาสนับสนุน Changemaker ในแต่ละปี) >> กำหนดโพสเมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที เนื่องจากต้องดำเนินการด้านเอกสารเกี่ยวกับการระดมทุน เข้า  Social Enterprise ค่ะ

Message 1.